ข้อคิดสอนใจ

เรื่องสำคัญก่อนการจดทะเบียนสมรส

จดทะเบียนสมรส กับไม่จด จำเป็นแค่ไหน?

การจดทะเบียนสมรสและใบทะเบียนสมรสนั้น ถือว่ามีความสำคัญต่อคู่แต่งงาน เพราะเป็นเอกสารทางกฎหมายที่ใช้สำหรับยืนยันความสัม พันธ์ในการเป็นสามีภรรยาอย่างถูกต้องตามกฏหมาย

และเพื่อที่จะใช้เป็นหลักฐานสำหรับการยืนยันสิทธิต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างสามีภรรยา เช่น ในการรับรองบุตร ซึ่งจะทำให้บุตรได้รับสิทธิต่าง ๆ ตามกฎหมาย การแบ่งสินสมรส การฟ้องหย่าในกรณีสามีหรือภรรยามีชู้ เป็นต้น

โดยทะเบียนสมรสจะมีผลทางกฎหมายหรือ มีอายุยาวตลอดไปจนกว่าจะมีการจดทะเบียนหย่า และในกรณีหย่าร้างนั้นก็เป็นไปตามข้อตกลงของทั้งสองฝ่าย

แต่หากไม่สามารถตกลงกันได้ก็จำเป็นต้องมีการฟ้องหย่าโดยให้ศาลเป็นผู้พิจารณา เพื่อใช้เหตุผลและหลักฐานต่าง ๆ ประกอบ รวมถึงการหาข้อตกลงต่าง ๆ เช่น การแบ่งสินสมรส สิทธิการเลี้ยงดูบุตร ค่าเลี้ยงดู เป็นต้น

ในอีกทางการจดทะเบียนสมรสและใบทะเบียนสมรสอาจไม่ใช่สิ่งจำเป็นสำหรับสามีภรรยาบางคู่ เช่น สามีภรรยาที่ทำธุรกิจ หรือเป็นนักการเมือง

หากทั้งคู่จัดงานแต่งงานและไม่จดทะเบียนสมรสด้วยความยินยอ มและตกลงของสามีภรรยาเอง เนื่องจากการการจดทะเบียนสมรสทำให้ต้องมีการตรวจสอบทางบัญชีการเงินของทั้งสามีและภรรยา

ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ยุ่งยาก ซับซ้อน หรืออาจเกิดการฟ้องร้องได้ ทั้งนี้ในขณะเดียวกันการแต่งงานโดยไม่จดทะเบียนสมรสก็สามารถกลายเป็นช่องโหว่ทางกฎหมาย

ที่ทำให้สามีหรือภรรยาโอนทรัพย์สินของตัวเองไปยังบัญชีของอีกฝ่าย เพื่อเลี่ยงการตรวจสอบหรือการเสียภาษีได้เช่นกัน

ผลดีของการจดทะเบียนสมรส

1. การจดทะเบียนสมรสทำให้สามีภรรยามีสิทธิ์จัดการสินสมรส คือทรัพย์ที่เกิดขึ้นหรือ สร้างร่วมกันหลังการสมรสถือเป็นสินสมรสของสามีภรรยาทั้งคู่

แต่ถ้าในกรณีที่ไม่ได้มีการจดทะเบียนสมรส ทรัพย์สินที่ร่วมกันทำจะถือเป็นทรัพย์สินร่วม โดยแต่ละฝ่ายจะมีпรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินดังกล่าวคนละส่วนเท่า ๆ กัน

2. การจดทะเบียนสมรสทำให้สามีหรือภรรยามีสิทธิ์รับมรดกของคู่สมรสเมื่ออีกฝ่ายเสียชีวิตไปก่อน โดยคู่สมรสถือเป็นทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิ์ในทรัพย์มรดก

ตามมาตรา 1635 ได้รับส่วนแบ่งมรดกในทุกระดับชั้น มรดก แต่ถ้าไม่มีการจดทะเบียนสมรส คู่สมรสจะไม่มีสิทธิอะไรในทรัพย์มรดกของอีกฝ่ายเลย อย่างไรก็ตามลูกของคู่สมรสที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสสามารถมีสิทธิรับมรดกได้

3. การจดทะเบียนสมรสทำให้มีสิทธิ์รับเงินสวัสดิการจากทางราชการหรือนายจ้าง เช่น กรณีที่คู่สมรสตา ยเพราะปฏิบัติหน้าที่ หรือจากการทำงาน หรือการรับเงินสงเคราะห์บุตรตามกฎหมายแรงงาน

4. การจดทะเบียนสมรสทำให้สามีหรือภรรยามีสิทธิ์ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายหรือค่าทดแทนจากผู้ที่ทำให้คู่สมรสของตัวเองเสียชีวิตได้

5. การจดทะเบียนสมรสทำให้บุตรมีฐานะเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย สามารถเลือกใช้นามสกุลพ่อได้ สมัครเข้าเรียนได้ และรับมรดกจากผู้เป็นพ่อได้ ทั้งนี้บุตรเป็นสิทธิ์ตามชอบธรรมของแม่อยู่แล้ว

6. การจดทะเบียนสมรสทำให้เป็นสามีหรือภรรยาถูกต้องตามกฎหมาย หากพบว่าคู่สมรสมีชู้สามารถฟ้องเรียกค่าเสียหายได้จากคู่สมรสที่ไป มีชู้รวมถึงสามารถเรียกค่าเสียหายจากชู้ได้ด้วย

หรือถ้าฝ่ายใดฝายหนึ่งไปจดทะเบียนสมรสซ้อนกับคนอื่น ซึ่งตามกฏหมายระบุว่า การจดทะเบียนสมรสซ้อนนั้นผิดกฎหมายและไม่มีสิทธิ์ตามกฎหมาย

การจดทะเบียนสมรสครั้งหลังถือว่าเป็นโมฆะ หากการจดทะเบียนสมรสครั้งแรกยังไม่มีการจดทะเบียนหย่าที่สมบูรณ์

7. การจดทะเบียนสมรสทำให้สามีหรือภรรยาเป็นตัวแทนฟ้องร้องดำเนินคดีกับผู้ที่ทำร้า ยคู่สมรสของตัวเองได้

8. การจดทะเบียนสมรสทำให้ได้รับการลดหย่อนค่าภาษีเงินได้ เช่น ลูกที่เกิดจากสามีภรรยาที่ถูกต้องตามกฎหมายของทั้งสองฝ่าย

ฝ่ายสามีสามารถใช้สิทธิลดหย่อนลูกได้คนละ 30,000 บาทตามกฎหมาย และสามารถลดหย่อนภาษีกรณีคู่สมรสไม่มีเงินได้ด้วย

9. การจดทะเบียนสมรสทำให้ภรรยามีสิทธิ์ใช้นามสกุลของสามีหรือจะไม่ใช้ก็ได้ โดยในปัจจุบันได้มีการแก้ไขกฎหมายใหม่ที่กำหนดให้ภรรยามีอิสระในการเลือกใช้นามสกุลได้อย่างเต็มที่

คือเมื่อแต่งงานแล้วมีการจดทะเบียนสมรสหรือไม่มีการจดทะเบียน ฝ่ายหญิงจะเปลี่ยนเป็นนามสกุลของฝ่ายชายหรือยังคงใช้นามสกุลเดิมของตัวเองก็ได้

เช่นเดียวกับการใช้คำนำหน้านามหลังจากจดทะเบียนสมรส ซึ่งที่ผ่าน มาฝ่ายหญิงจะต้องเปลี่ยนจาก นางสาว มาเป็น นาง นำหน้าชื่อหลังแต่งงานและจดทะเบียนสมรส

แต่ในปัจจุบันได้กำหนดให้สามารถเลือกได้คำนำหน้านามอย่างอิสระ รวมถึงผญ.ที่ได้มีการหย่าเรียบร้อย หากเคยเปลี่ยนคำหน้านามเป็นนาง

ก็สามารถเปลี่ยนกลับเป็นนางสาวได้เช่นกันอย่างไรก็ตาม หลังจดทะเบียนสมรสหากได้ทำการเปลี่ยนคำหน้านามหรือเปลี่ยนไปใช้นามสกุลสามีแล้ว

ภรรยาจะได้เอกสารสำคัญอีกหนึ่งฉบับคือ หนังสือสำคัญการจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อสกุล (ช.๕) ซึ่งจะต้องใช้ในการเปลี่ยนชื่อสกุลร่วมกับเอกสารอื่น ๆ ทุกครั้ง

หรือจำเป็นต้องดำเนินการแก้ไขเอกสารใหม่ เช่น ข้อ มูลการทำธุรпรรมที่สำคัญ หนังสือเดินทาง เป็นต้น

เอกสารสำคัญที่ต้องเตรียมไปในการจดทะเบียนสมรส

1. บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้

2. สำเนาทะเบียนบ้าน

3. ในกรณีที่จดทะเบียนสมรสกับชาวต่างขาติต้องมี สำเนาหนังสือเดินทาง (passport) และหนังสือรับรองสถานภาพบุคคลจากสถานทูตหรือสถานกงสุลหรือองค์การของรัฐ บาลประเทศที่ตนสังกั ด

โดยหนังสือรับรองต้องแปลเป็นภาษาไทยและมีคำรับรองการแปลถูกต้องด้วย

4. หลักฐานการหย่าในกรณีที่มีการจดทะเบียนหย่าร่างมาก่อน

5. กรณีคู่สมรสคนก่อนเสียชีวิต ให้นำหลักฐานการตา ย เช่น ใบมรณะบัตร ด้วย

6. หากมีบุตรที่เกิดก่อนการมาจดทะเบียนสมรสให้ใช้สูจิบัตรและทะเบียนบ้านของบุตร

meko

Share
Published by
meko