เมื่อขึ้นชื่อว่าแต่งงาน มีครอบครัวแล้ว การหย่าร้างนับว่าเป็นฝันร้ า ยสำหรับทุกคนแน่นอน เรื่องที่ไม่อยากให้เกิดบางทีก็เกินควบคุมไหว
บางคนอาจคิดว่า “ทนเพื่อลูก” หรือประคับประคองเพื่อ”หน้าตาทางสังคม” แต่ทว่าผลที่ตามมาอาจทำร้ า ยสภาพจิ ตใจเรื้อรัง
และอาจก่อให้เกิดแผลเหวอะหวะที่ยากจะแก้ไข จนสรุปไม่ได้ว่าระหว่างทนอยู่ กับหย่าร้าง อันไหนเจ็บกว่ากัน
การหย่าร้างเป็นวิ กฤติรุนแรงอย่างหนึ่งในชีวิต ปัจจุบันแนวโน้มการหย่าร้างมีเพิ่มขึ้นถึง 50 % ในอเมริกา
แม้ต่ในประเทศไทยเองการหย่าร้างก็สูงขึ้นเรื่อยๆ คิดเป็น 33% ตัวเลขนี้ยังไม่นับรวมการแยกกันอยู่โดยไม่ได้หย่าร้างตามกฎห ม าย
ถ้าการหย่าร้างคือทางออกสุดท้ายจริงๆ ควรใช้เหตุผลจากทั้งสองฝ่ายตัดสิน อย่าใช้อารมณ์ชั่ววูบ อย่าท้า อย่าพูดบ่อย ไตร่ตรองให้ดี
เพราะการทะ เลาะเบาะแว้งบ่อยๆ ทำให้เด็กเกิดความเครียด ในทางตรงกันข้ามเมื่อหย่าร้างสิ้นสุดสักที สภาพจิ ตใจของเด็กกลับดีขึ้นด้วยซ้ำ
หย่ายังไง ลูกไม่ใจสลาย ครอบครัวไม่แตก
หลักๆ เลยนั่นก็คือ อย่าดึงลูกเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้ง
ห้ามด่าอีกฝ่ายให้ลูกฟัง
พอเลยถ้าครอบครัวไหนเจ็บปวดจากอีกฝ่าย แล้วด่าทออีกฝ่ายให้ลูกฟังอาจจะไมได้ตั้งใจแค่ต้องการระบายความขับข้องใจก็ตาม
แต่เด็กก็จะซึมซับความไม่ดีของอีกฝ่าย เช่น ความไม่เอาไหนของพ่อ หรือ แม่นอпใจ หรือ พ่อไม่รักเราแล้ว
อย่าดึงลูกเข้ามาเป็นพวก
เป็นเรื่องที่พบเห็นบ่อยๆ ว่าลูกไปคุยกับอีกฝ่าย แล้วอีกฝ่ายจะโกรธ นั่นก็เพราว่าทั้งสองฝ่ายต่างรักลูกและอยากให้ลูกมาเป็นพวก
ถึงแม้พวกคุณจะจบสถานะผัว-เมีย แต่ก็ไม่ควรทำลายความเป็นพ่อ แม่ ลูก ห้ามพูดว่า ถ้าลูกไปคุยกับพ่อ แม่จะโกรธลูกนะ ใครที่มีพฤติกรรมแบบนี้ พอสักที ตั้งสติ แล้วเดินหน้าต่อ
ใช้ลูกเป็นเครื่องมือ
ประเภทที่มีอะไรไม่คุยกันตรงๆ แต่จับลูกมาเป็นคนกลางมาเป็นเครื่องมือ ดึงไปดึงมา ทำให้ลูกรับรู้ทุกอย่างและอยู่ในสภาพที่อึดอัดทรมาน
มีอะไรควรนั่งคุยกันดีๆ อย่าดึงลูกมาเป็นตัวประกัน ใช้เป็นเครื่องมือระบายอารมณ์ เพราะนั่นอาจทำให้เด็กซึมซับพฤติกรรมและทัศนคติที่ไม่ดีติดตัวไป
อย่าบังคับลูกให้เลือกข้าง
อย่าให้ลูกยืนตรงกลางแล้วบังคับให้เลือกข้าง ว่าจะอยู่กับพ่อหรือแม่มากกว่ากัน เพราะถ้าลุกเลือกฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
อีกฝ่ายก็จะโกรธแค้น หาว่าลูกทร ยศ ถ้าอยากรู้จริงๆ ควรให้ญาติสนิท หรือผุ้หญิงมาตะล่อมถามอ้อมๆ ดีกว่า
รักษาความเป็นเพื่อน
เมื่อตัดสินใจแยกทางแล้ว ควรจะพยายามมองข้อดีข้อเสียขอบงทั้งสองฝ่าย อาจจะทำได้ยากในช่วงแรก แต่เมื่อทำความเข้าใจแล้วก็จะดีขึ้นเอง คอยช่วยเหลือเกื้อกูลกันตามอัตภาพ
อย่าทำเหมือนลูกเป็นลูกบอล
อย่าแย่งลูก อย่าฟ้องร้องกันเพื่อดึงลูกไปมา และห้ามกีดกันไม่ให้ลูกเจอกับอีกฝ่าย
เมื่อมีการแย่งชิงการเกิดขึ้นไม่ว่าวิธีใดก็ตามย่อมเกิดรอยร้าวขึ้นในใจลูก ไม่สร้างผลดีแน่นอน อย่าลืมว่าลูกไม่ใช่ลูกฟุตบอล อย่าแย่งกันไปมา
โอกาสสำคัญของลูกควรกลับมาอยู่พร้อมหน้า
ถึงแม้ว่าจะเลิกรากันไปแล้ว และการมาพบหน้าจะเป็นเรื่องที่ไม่น่ากระทำ แต่ลูกคือกาวใจชั้นดีของพ่อแม้ เพราะทั้งคู่ต่างก็รักลูกด้วยกันอยู่แล้ว ควรทำให้ลูกรู้สึกว่ายังเป็นคนสำคัญไม่ถูกทอดทิ้ง
ไม่ว่าจะเป็นงานวันเกิด งานรับปริญญา งานแต่ง งานบวช หรือโอกาสพิเศษต่างๆ ควรมาอยู่ด้วยกันพร้อมหน้าเท่าที่จะทำได้
นอпจากจะทำให้ลูกรู้สึกภูมิใจแล้ว ยังแสดงถึงความมีสัมมาทิฐิของพ่อกับแม่ ที่เป็นกัลยาณมิตรที่ดีต่อกันได้
เรื่องเงินๆ ทองๆ
เมื่อตกลงแยกกันอยู่ เรื่องเงินๆ ทองๆ ก็นับว่าสำคัญ ควรวางแผนการใช้จ่ายให้รอบครอบ และตกลงรับผิดชอบเรื่องค่าใช้จ่ายร่วมกัน
บางคู่ที่ตกลงกันไมได้จึงจำเป็นต้องปรึกษาทนาย และก่อให้เกิดเรื่องราวฟ้องร้องกันเกิดขึ้น อะไรที่ประนีประนอมได้ก็ควรทำ
ทำใจ
การหย่าร้างย่อมเป็นปัญหาใหญ่ในชีวิต แต่พยายามอย่าให้ตัวเองรู้สึกเหงา เปล่าเปลี่ยว หรือรู้สึกผิด จนหมดความมั่นใจในตัวเอง คิดซะว่ามันคือบททดสอบของชีวิต คนเรามีทั้งทุกข์และสุขควบคู่กันไป
เดินหน้าต่อ
เมื่อเราทำใจได้แล้วก็ต้องเดินหน้าต่อ บางคนอาจจะครองตัวเป็นโสดตลอดไป หรือบางคนอาจจะมีคู่ชีวิตใหม่ที่ดีกว่าเดิม อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับการเปิดใจและสภาพแวดล้อมของแต่ละคน
จงจำไว้ว่าสำหรับพ่อแม่อาจจะอยากระบายความขับข้องใจให้ลูกฟัง แต่สำหับเด็กแล้วนั่นคือการปลุกฝังความเครียดให้กับลูก
สิ่งที่ควรตระหนักก็คือ การหย่าร้างเป็นปัญหาของคนสองคน พ่อแม่อาจจะมีคู่ชีวิตใหม่ได้แต่ลูกมีพ่อแม่ใหม่ไม่ได้ ลึกๆ แล้วเขายังคงโหยหาความรักจากพ่อแม่อยู่ดี