บางครั้ง ‘การเลิกรา’ ทำให้เราพบหัวใจที่สงบมากขึ้นกว่าเดิม

เป็นอีกหนึ่งบทความที่ได้ให้ข้อคิด ให้แง่มุมในการใช้ชีวิตที่ดี การตัดสินใจในสิ่งที่เราได้เลือกทางเดิน เพื่อพบความสงบ และความสุขในชีวิตของเราโดยที่ไม่นึกเสียดาย

เมื่อไม่นาน มานี้ มีรุ่นน้องคนหนึ่งได้เข้าถามว่า “แปลกไหมที่เลิกกับแฟนแล้วไม่รู้สึกเ ศ ร้ า กลับรู้สึกสันติ และได้เวลาส่วนตัวคืนกลับมา”

ผมถามกลับไปว่า “แปลว่าเขาไม่สำคัญเหรอ” น้องตอบว่า “เขาสำคัญมาก แต่รู้สึกว่าต้องปรับตัวเยอะ ต้องยอมให้เยอะ พอห่างออกมากลับรู้สึกดีกว่าตอนที่ได้อยู่ด้วยกัน”

ผมคิดว่าเรื่องนี้น่าสนใจและคำที่น่าสนใจมากคือคำว่า ‘สันติ’

ผมเคยคิดว่าคนเราต้องการ ‘ความสุข’ และพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อไขว่คว้าให้ได้มา แต่ช่วงหลังมานี้ พอลองถามตัวเองให้ลึกลงไป สิ่งที่ต้องการอาจไม่ใช่ ‘ความสุข’ แต่น่าจะเป็น ‘ความสงบ’

ซึ่งบางครั้งสองสิ่งนี้นั้น มีความสวนทางกัน, ยิ่งอยากได้ความสุข หรืออยากเก็บรักษาความสุขไว้ เรากลับกระวนกระวายใจ ยิ่งรู้สึกไม่สบายใจ

โลกนี้มีมายาคติมากมายที่พูดซ้ำๆ จนเราเชื่อว่ามันเป็นความจริง “ความสัมพันธ์ที่ไม่เลิกรา” ก็เป็นสิ่งหนึ่งในจำนวนเรื่องเหล่านั้น หรือความเชื่อว่า “การเลิกกันคือเรื่องแย่” ก็อาจลวงให้ทั้งสองฝ่ายพยายามประคับประคองความสัมพันธ์ที่ไม่ส่งผลดีต่อทั้งคู่ไปเรื่อยๆ

เราอาจเชื่อว่า ความสุขคือการอยู่ด้วยกัน ซึ่งแน่นอนว่า ถ้าทุกอย่างราบรื่น คำกล่าวนี้ย่อมเป็นจริงแน่ แต่ถ้าไม่เป็นเช่นนั้น คำกล่าวนี้ก็ใช่ว่าจะเป็นสัจธรรมสำหรับทุกคน เพราะถ้ายิ่งพยายามประคับประคอง ‘ความสุข’ ไว้ สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาคือภาวะขาดสันติสุขในจิ ตใจ

และทันทีที่ปล่อยวางจากความเชื่อว่า จะต้องเก็บรักษา ‘ความสุข’ ในแบบที่ผู้คนเขาบอกกัน ทันใดนั้นเรากลับพบว่า หัวใจของเรานิ่งสงบมากขึ้น เพราะไม่เอาใจไปผูกไว้กับ ‘แบบ’ ที่เขาบอกกันว่าดี แต่มันไม่ดีสำหรับเรา

การเลิกกัน หากเลือกกระทำในช่วงเวลาและเหตุปัจจัยที่มีเหตุมีผล ตอบตัวเองได้ เป็นไปได้ว่ากลับทำให้เรามีความสุขมากกว่าการจมอยู่กับการพยายามแก้ปัญหาไม่รู้จบ

‘ความสุข’ ที่ว่านั้นจึงเหมือน มีเรื่องที่ซ้อนกันอยู่ นั่นคือความสุขที่เราสัมผัสได้จากหัวใจตัวเอง กับความสุขที่เกิดจากค่านิยมหรือความคาดหวังจากคนอื่นที่มองว่า การเลิกราเป็นเรื่องน่าเสียดาย น่าเสียใจ น่าสงส า ร และหลายกรณีที่เราพยายามรักษา ‘ความสุข’ ที่คนอื่นขีดเส้นให้ โดยห ล งลืมความสุขในหัวใจตัวเองไป

เมื่อคิดใคร่ครวญเรื่องนี้ ผมพบว่า การเลิกราเป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของ ‘ค่านิยมเรื่องความสุข’ ที่เรามักเชื่อว่า ถ้าเป็นเช่นนั้นเช่นนี้แล้วจะมีความสุขกว่า เช่น ความรวย ความสำเร็จ รูปลักษณ์ที่ดี ชื่อเสียง ตำแหน่ง ฯลฯ แน่นอนว่า สิ่งเหล่านี้เป็นองค์ประกอบของ ‘ชีวิตที่ดี’ แต่ก็ไม่เสมอไป ถ้ามันเริ่มล้นเกิน หรือทะเยอทะยานจนทำลายตังเอง

ผมไม่ได้บอกว่าเราไม่ควรปรารถนาสิ่งเหล่านั้น เพียงอยากชวนตั้งคำถามว่า ที่เราอยากได้อยากมีนั้น เพราะหัวใจเรามีความสุขเมื่อมีสิ่งเหล่านั้น หรือเพราะคนอื่นเขาเชื่อว่า ถ้าเรามีสิ่งเหล่านั้นแล้วเราจะมีความสุข

เราอยากมีความสุข หรือเราอยากให้คนอื่น มองว่าเรามีความสุข สองสิ่งนี้คล้ายกัน แต่มีความห ม ายที่ต่างกันเหลือเกิน

คำถามที่น่าถามตัวเองลงไปลึกๆ ในหัวใจก็คือ ‘ความสุข’ ที่เราเฝ้ามองและไขว่คว้า หรือพยายามรักษาไว้ ไม่ว่าจะเป็นความฝัน ความสำเร็จ การงาน หรือความรัก ถึงที่สุดแล้วมันนำมาซึ่ง ‘ความสงบในจิ ตใจ’ หรือเปล่า

ถ้าคำตอบคือ ‘ไม่’ ผมคิดว่าวันหนึ่งเราจะพบคำตอบใหม่ให้กับตัวเองว่า ฉันจะลองปล่อยมือจาก ‘ความสุข’ ดูบ้างก็ได้ เพื่อพบสิ่งที่สำคัญกว่านั้น นั่นคือ ‘ความสงบในจิ ตใจ’

บางครั้งเราจำเป็นต้องปล่อยมือจากสิ่งที่เราเชื่อว่านั่นคือ ‘ความสุข’ เพื่อพบกับ ‘สันติ’ ในหัวใจ และนั่นคือสิ่งที่ผมได้เรียนรู้จากคำถามของรุ่นน้องผู้นี้ว่า…

“การเลิกราไม่ใช่เรื่องน่าเศร้า หากมันทำให้เราพบหัวใจที่สงบกว่าเดิม”

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *