1.ไม่สนใจ “อนาคต”
เมื่อเจอ กับปัญหา หลายคนเลือ กที่จะเดินหนี หันหลังให้ หรือบ่ายเบี่ยงไปทำอย่างอื่นและปัญหาก็ยังคงกองอยู่ตรงหน้าเหมือนเดิม
แถมอาจหนักขึ้นจนเข้าขั้นวิ пฤติได้ในอนาคต ในเรื่องของการเงินก็เช่นกัน หลายคนสนใจกับความสุขในวันนี้กินอิ่ม ปาร์ตี้สนุก เที่ยวบ่อย
ใช้ให้เต็มที่ ทั้งที่รู้ว่ายังไม่มีเงินเก็บสำหรับอนาคต ไม่มีเงินสดสำหรับยามฉุ п เ ฉิ นไม่เคยวางแผนการเงิน ไม่เคยแม้แต่จะลงมือทำ
และปัญหาก็ยังคงเป็นปัญหาเช่นเคย คงดีกว่าไม่น้อย ถ้าการตัดสินใจใช้เงินทุกครั้ง เราได้ฉุกคิดถึง “อนาคต” บ้าง บ้านผ่อนหมดยังหนี้บัตรเครดิตจ่ายเต็มวงเงินแล้วใช่มั้ย
เงินก้อนที่ตั้งใจเก็บตอนนี้ได้เท่าไหร่ เกษียณที่ว่าต้องใช้เงินเยอะ เรามีแค่ไหนแล้ว หัดอดเปรี้ยวไว้กินหวานบ้าง
2.คิดว่า “เร็วเกินไปที่จะออมเงิน”
ในวันที่เรายังตื่นตาตื่นใจกับสิ่งรอบตัว อันนู้นก็ใช่ อันนี้ก็อยากได้อันนี้ก็กำลังมองหา ภาพลวงของ “ความจำเป็น” ผุดขึ้น มาตรงหน้าและทำให้เราเสียทรัพย์อยู่เสมอ
ทั้งที่สิ่งเหล่านั้นอาจเป็นแค่ “ความต้องการ” มีก็ดี ไม่มีก็ได้เลิกผัดวันประกันพรุ่ง แล้วเริ่มออมเงินเดี๋ยวนี้ จะสิบ ร้อย พัน หมื่นก็ถือว่าเราได้เริ่มต้นแล้ว
หลังจากนั้นสร้างวินัยให้กับตนเอง ด้วยการออมต่อเนื่องสม่ำเสมอแม้จะไม่อยากออมก็ตาม เพราะวินัย คือ การทำสิ่งที่ “ต้องทำ” แม้จะ “ไม่อยากทำ” ก็ตาม
3.ไม่สนใจ “หนี้”
น้อยคนนักที่จะ “ไม่มีหนี้” แต่คน มีหนี้จำนวน มาก กลับให้ความสำคัญกับการ “ชำระหนี้” น้อยมากหรือบางคนไม่ให้ความสำคัญกับการจัดการหนี้เลย
และนั่นก็ย่อมทำให้เขาเหล่านั้นตกอยู่ในวังวนของ “หนี้”อย่างไม่มีทางหลุดพ้นได้เพราะเมื่อได้เงิน มา ก็มัวแต่สนุกกับการใช้จ่าย
กระทั่งดอ กเบี้ย (หนี้) ทบต้นไปเรื่อย ๆ ในทางตรงกันข้าม คนที่อยากรวยจะ “กลัวหนี้” มาก พวกเขาจึงให้ความสำคัญกับ “หนี้” เป็นอันดับแรกเมื่อมีรายได้เข้ามาก็จะรีบชำระหนี้ก่อนสิ่งอื่นใด จนกระทั่งเป็นไท ปลดระวางหนี้ได้สำเร็จ
4.ไม่เคยตั้ง “งบประมาณ” ในการใช้เงิน
บริษัทก็ยังมีงบการเงิน ทำโปรเจคยังต้องมีประมาณการณ์ค่าใช้จ่าย เรื่องการเงินส่วนบุคคลก็เช่นกันหลายคนไม่เคยตั้ง “งบประมาณ” การใช้เงินเลย
จะช้อปปิ้งปีใหม่ จะเที่ยว จะซื้อเสื้อผ้า ก็จัดเต็มและสุดท้ายก็เกินความจำเป็น เกินกำลังทรัพย์ของตัวเอง และกลายเป็น “หนี้” ในท้ายที่สุด
วิธีการที่ง่ายกว่าก็คือ “ตั้งงบประมาณ” การใช้เงินทุกครั้ง เช่น จะซื้อของวาเลนไทน์ให้คนรักไม่เกินกี่บาท, จะไปเที่ยวทริปกลางปี
งบประมาณรวมเท่าไหร่ หลังจากนั้นยึดมั่นกับสิ่งที่ตั้งไว้ทำตามแผนไม่ใช้เกินงบ รับรองว่าเราจะตัดสิ่งที่ไม่จำเป็นออ กไปได้อย่างง่ายดาย
5.แยกไม่ออ กว่า “จำเป็น” หรือ “ต้องการ”
วิธีการแยกง่ายที่สุดก็คือ ต้องรู้ว่าสิ่งไหนต้องมี (จำเป็น) ขาดไปแล้วจะใช้ชีวิตไม่ได้ อย่างเช่น ปัจจัย 4หรือสิ่งไหน มีก็ดี ไม่มีก็ได้(ต้องการ) ขาดไปแล้วยังใช้ชีวิตได้
แต่ถ้ามีแล้วชีวิตจะดีขึ้น เช่น อาหารจานหรู เสื้อผ้าแบรนด์เน มหรือสิ่งไหนไม่จำเป็นต้องมีแต่ถ้าแยกไม่ได้และเอาอารมณ์เป็นที่ตั้ง อาจเป็นเ ห ยื่ ວภาพลวงของ “ความจำเป็น” มันจะทำให้เรามีแต่จ่ายกับจ่าย ไม่มีที่สิ้นสุด
6.ใช้เงินเพิ่มขึ้น
ไม่ผิดหรอ กถ้าคิดว่า “อยากมีชีวิตที่ดีขึ้น” แต่อย่าลืมว่าชีวิตที่ดีขึ้น ไม่จำเป็นต้องมากับรายจ่ายที่มากขึ้นเพียงอย่างเดียวลองใช้ชีวิตให้ง่ายขึ้น เลิกเป็นนักสะสม
แค่นี้ก็ทำให้เรามีชีวิตที่ดีขึ้นได้เพราะถ้าได้เงินเดือนเพิ่มแล้วใช้จ่ายเพิ่ม (มากกว่าเงินเดือนที่เพิ่ม) สุดท้ายอาจได้แค่ “อยาก” มีชีวิตที่ดีขึ้นเพราะพฤติกรรมมือเติบ อาจก่อให้เกิดปัญหาตามมา โดยเฉพาะหนี้สินที่พอ กพูนแบบไม่ทันตั้งตัว
7.เป็นสาวกเทคโนโลยี
ถ้าใครเป็นแฟนพั น ธุ์แท้เทคโนโลยีแล้วล่ะก็ จะรู้เลยว่าไม่มีวันหยุดสำหรับอุปกรณ์ต่าง ๆยิ่งเราวิ่งตามเท่าไหร่ เงินก็จะยิ่งไหลออ กจากกระเป๋ามากขึ้นเท่านั้น
และนั่นก็ทำให้รายได้ที่มากขึ้น “ไม่เคยพอ” ต่อ การตามเทรนด์เหล่านี้ไม่ผิดถ้าจะซื้อโทรศัพท์เครื่องใหม่ ไม่แปลกถ้าจะมีอุปกรณ์คู่กายไม่ใช่เรื่องเกินจำเป็น
หากจะมีอุปกรณ์พกพามากกว่า 1 ชิ้น เพียงแต่เราต้องใช้ประโยชน์จากสิ่งที่เราซื้อให้เต็มที่ และคุ้มค่า คุ้มราคาจริง ๆ
8.ไม่เคยจดเรื่อง “เงิน” ของตัวเอง
เข้าห้องประชุมก็จด นายสั่งงานก็จด ไปฟังสัมนาก็จด จดทุกเรื่องที่ทำเพื่อคนอื่นแต่หลายคนไม่เคยแม้แต่จะจดเรื่อง “เงิน” ของตัวเอง
ทั้งที่เป็นเรื่องที่ดีกับตัวเองแท้ ๆเพียงเพราะคิดว่าเรารู้อยู่แล้วว่า รับ จ่าย ออม เท่าไหร่จริงอยู่ที่เราอาจรู้ความเคลื่อนไหวเงินที่เข้า-ออ กในกระเป๋าแต่นั่นอาจเป็นแค่ก้อนใหญ่ ๆ เท่านั้น (เงินเดือน-หนี้บัตรเครดิต (รวม) – หนี้บ้านต่อเดือน ฯลฯ)
แต่รายจ่ายจิปาถะ กาแฟ ขน ม เสื้อผ้า อุปกรณ์ต่าง ๆหรือแม้แต่ค่าใช้จ่ายปลีกย่อย ก่อนจะรวมเป็นหนี้บัตรเครดิตก้อนใหญ่ หลายคนไม่เคยแม้แต่จะสนใจ และนั่นก็เป็น “รูรั่ว” เล็ก ๆแต่สร้างผลกระทบยิ่งใหญ่ต่อสถานะการเงิน โดยที่เราไม่รู้ตัว