แม้บางคนจะหาเงินเองได้แล้ว แต่ก็ยังไม่มีเงินเก็บสักที มีเท่าไรก็ใช้หมด พอรู้ตัวอีกทีก็อายุมากแล้ว
อย ากจะขยับขย ายทำธุรกิจอะไรก็ไม่มีเงินทุน จนอาจทำให้รู้สึกเสียดายเงิน เสียดายเวลาที่ผ่าน มา
เรามาเตรียมพร้อมกันดีกว่า ก่อนที่จะเกิดเรื่องเหล่านี้ขึ้น จนต้องมานั่งโทษตัวเองทีหลัง ว่าอายุปูนนี้แล้วยังไม่มีเงินเก็บเลย
1. แบ่งเงินใส่ถุง
เริ่มจากคำนวนว่า ในแต่ละวันเราจำเป็นต้องใช้เงินเท่าไร ทั้งค่าเดินทาง ค่าอาหาร 3 มื้อ ค่าใช้จ่ายรายวันอื่น ๆ และเผื่อเงินเกินไว้ได้
นิดหน่อย สมมุติว่าเราใช้เงินไม่เกิน 200 บาทแน่ ๆ ต่อวัน ก็นำเงิน 200 มาใส่ถุงไว้ ตามจำนวนวันใน 1 เดือน
และหยิบไปใช้แต่ละวันเท่านั้น ห้ามเกินกว่านี้
2. แต่ละวันเหลือเงินเท่าไหร่ หยอดออมสินให้หมด
วิธีการต่อมา หากวันไหนที่เรามีเงินเหลือจาก 200 บาท ไม่ว่าจะเป็นแบงค์ หรือเหรียญก็ตาม
นำมาหยอดกระปุกให้หมด ไม่ต้องนำไปใช้เพิ่มในอีกวัน ยิ่งเราใช้น้อยเท่าไร เราก็ยิ่งมีเก็บเยอะ เก็บไว้หลาย ๆ ทางก็ยิ่งดีใหญ่เลย
3. เก็บเข้ากระปุก เท่ากับค่าอาหารทุกมื้อ
ถ้าคุณยังตัดสินใจไม่ได้ ลองมาดูวิธีต่อมา คือ การหยอดกระปุกมื้ออาหาร เช้า-กลางวัน-เย็น ซื้อทานไปเท่าไร
หยอดเงินตามจำนวนเท่านั้น เอาละซิทีนี้ ถ้าวันไหนคุณเลือ กที่จะกินแพงละก็ สิ้นเดือนนั้นคงได้กิน มาม่าเป็นแน่
4. แบงค์ 50 ห้ามใช้
วิธีนี้เห็นรีวิวบ่อยมาก และดูจะได้ผลลัพธ์ที่น่าชื่นใจมาก ๆ นั่นก็คือ เมื่อโชคชะตาส่งแบงค์ 50 มาให้
คุณต้องเก็บทันที ห้ามใช้เด็ดขาด หลายคนอาจจะไม่ชินในช่วงแรก ๆ พกเงิน มา 100 ซื้อของปุ๊บ แม่ค้าทอนแบงค์ 50 มาปั๊บ
นี่ฉันใช้เงินได้แค่ไม่กี่บาทเองเหรอเนี่ย หลายคนถึงกับต้องภาวนาในใจ อย่ าทอนแบงค์ 50 มานะ
กันเลยทีเดียว ลองเก็บซัก 1-2 เดือน แล้วมานับดูนะ อาจจะเก็บได้หลายพันอย่ างไม่น่าเชื่อเลยแหละ
5. ตั้งงบกินแค่ 100 เกินกว่านี้ต้องหยอดกระปุกตามที่เกิน
หรือถ้าคุณคิดว่าวิธีก่อนหน้านี้โหดไป ตั้งงบใหม่ กำหนดใช้เงินเพียงวันละ 100 บาท สำหรับค่าอาหาร
บริหารจัดการให้เพียงพอสำหรับ 1 วัน ถ้าใช้เกินกว่านั้น ต้องนำไปหยอดกระปุกด้วย ในจำนวนที่เท่ากัน
สมมุติว่าวันนั้น คุณหมดค่าอาหารไป 120 บาท คุณต้องหาเงินอีก 20 บาท ไปหยอดกระปุกด้วย
ดังนั้น ถ้าไม่อย ากหยอดกระปุกล่ะก็ พย าย ามอย่ าใช้เกินงบ 100 บาทนะคะ
6. แยกกระปุก
คราวนี้เราลองมาหาแรงจูงใจให้กับชีวิตกันหน่อย สำหรับใครที่ชอบท่องเที่ยว แนะนำให้ทำแบบนี้เลย
คือนำกระปุกมาเขียนชื่อสถานที่ที่อย ากไป หรือ กิจก ร ร มที่ต้องมีค่าใช้จ่าย แล้วก็ค่อย ๆ หยอดวันละนิด ๆ
พอถึงเวลาที่จะไปเที่ยวหรือต้องใช้เงิน ก็นำเอาเงินที่หยอดไว้มานั่งนับดู จะเห็นว่าช่วยเซฟเงินได้เยอะเลย
7. ไม่ใช้แบงค์ใหม่
ถ้าเจอแบงค์ใหม่แบบไม่เคยผ่าน มือใครมาก่อน จัดการเก็บไว้เลย แต่ถ้าแบงค์ใหญ่ ๆ อย่ าง 500 หรือ 1,000 เก็บไม่ได้จริง ๆ
ต้องใช้ ก็เริ่มจากแบงค์เล็ก ๆ อย่ าง แบงค์ 20 หรือ 100 ก่อนก็ได้ ถือว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดีในการออมเงิน
8. หักเศษเงินเดือน
สมมุติได้เงินเดือน 15,560 บาท ลองหัก 560 บาทออ กมาเก็บไว้
เพราะเป็นเงินจำนวนไม่มาก-ไม่น้อยจนเกินไป สำหรับการเก็บออม
9. ออมวันละนิด จิ ตแจ่มใส
วิธีสุดท้าย หากคุณยังตัดใจเก็บเงินไม่ได้ละก็ หากระปุกห มูน่ารัก ๆ ที่ไม่มีช่องสำหรับนำเงินออ กมา นอ กเสียจากต้องทุบกระปุก
เท่านั้น และทำการหยอดเงินทุกวัน ขั้นต่ำ 10 บาท แต่ขอย้ำว่า “ทุกวัน” ทำไปเพลิน ๆ
ไม่ต้องอย ากรู้ว่าเรามีเท่าไร จนเมื่อ กระปุกหนักหรือเต็มแล้ว จึงตัดใจทุบกระปุกได้ค่ะ