ข้อคิดสอนใจ

สอนลูกให้ใช้เงินเป็น อย่างรู้คุณค่า

การสอนให้เด็กรู้จักคุณค่าของเงิน และรู้จักใช้เงิน เป็นการสอนที่คุ้มค่า เพราะเป็นการปูรากฐานที่สำคัญเพื่อนำไปสู่ชีวิตที่มั่นคงในอนาคต ไม่ว่าฐานะการเงินของ

ครอบครัวจะเป็นอย่างไร พ่อแม่หรือผู้ปกครองควรเป็นแบบอย่างแก่เด็กในการเก็บออม และการใช้เงิน รวมถึงควรปลูกฝังเรื่องการเงินให้แก่เด็กตั้งแต่อายุยังน้อย

1. พาลูกไปซื้ อของด้วย

การพาลูกไปซื้ อของด้วย พ่อแม่สามารถสอนให้ลูกรู้จักเปรียบเทียบราคาสินค้าก่อนซื้ อ เช่น ซื้ อสินค้ายกโหลช่วยให้ประหยัดเงินได้มากกว่าซื้ อทีละชิ้น หรือซื้ อสินค้า

โดยรู้จักพิจารณาคุณภาพและราคาควบคู่กัน เพราะหากเป็นของถูก แต่คุณภาพไม่ดี ทนทานน้อย ใช้ได้ไม่นาน ทำให้ต้องเสียเงินซื้ อบ่อย แบบนี้ก็ไม่ได้ช่วยให้

ประหยัดเงินเท่าไร และอีกสิ่งหนึ่งที่ไม่ควรลืมสอน ก็คือ ความแตกต่างของคำสองคำ “ความต้องการ” และ “ความจำเป็น” เพราะเด็กมักแยกแยะสองสิ่งนี้ได้ย าก

โดยมองว่าสิ่งที่เขาต้องการเป็นสิ่งที่จำเป็นทุกครั้ง ซึ่งพ่อแม่ควรชี้แจงให้ลูกเข้าใจว่าสิ่งของที่จะซื้ อนั้น เป็นสิ่งจำเป็น หรืออย ากได้

2. ให้ลูกรับผิดชอบการใช้เงินด้วยตัวเอง

สามารถสอนให้ลูกบริหารรายรับด้วยตนเอง โดยให้เงินลูกใช้จ่ายเป็นรายสัปดาห์ หรือรายเดือน เพื่อให้ลูกรู้จักประเมินว่าควรใช้จ่ายอย่างไร ยกตัวอย่างเช่น ให้เงินลูก

เป็นรายสัปดาห์ สัปดาห์ละ 100 บาท นั่นห ม ายความว่า เฉลี่ยแล้วไม่ควรใช้เกินวันละ 20 บาท พ่อแม่อาจแนะนำลูกว่า หากวันใดใช้เกิน 20 บาท ก็ควรลดค่าใช้จ่ายของ

วันถัดไป ซึ่งวิธีเช่นนี้จะช่วยให้ลูกสามารถบริหารเงินรายรับได้เพียงพอตลอดทั้งสัปดาห์

3. อย ากได้…ให้เก็บออม

เวลาที่ลูกอย ากได้สิ่งของใดๆ หากไม่เหลือบ่ากว่าแรงของผู้เป็นพ่อแม่ พ่อแม่ส่วนใหญ่มักจะตามใจลูก ซื้ อของให้ลูกตามที่ลูกต้องการ ซึ่งการตามใจลูกเช่นนี้อาจ

ส่งผลเสียในระยะย าวได้ ดังนั้น หากลูกต้องการสิ่งของใดๆ แล้ว พ่อแม่อาจใช้หลักจ่ายคนละครึ่งกับลูก เพื่อฝึกให้ลูกรู้จักเก็บออม สมมุติ สิ่งของที่ลูกอย ากได้ 100 บาท

พ่อแม่ก็อาจกำหนดว่าเก็บเงินได้ถึง 50 บาทเมื่อไร จะซื้ อของชิ้นนั้นให้ วิธีนี้จะทำให้ลูกได้เรียนรู้ว่าหากต้องการได้สิ่งของใดๆ แล้ว มิใช่ร้องขอจากพ่อแม่ได้ทั้งหมด

แต่ต้องรู้จักเก็บออมเงินด้วยตัวเอง และการที่พ่อแม่ช่วยออ กอย่างน้อยครึ่งหนึ่ง จะทำให้ลูกรู้สึกมีกำลังในการเก็บออม เพราะไม่ต้องเก็บออมเงินทั้งหมดเพียงผู้เดียว

4. รางวัลมิใช่สิ่งของเสมอไป

การแสดงความชื่นชมลูก ไม่จำเป็นต้องให้เป็นของขวัญราคาแพงเสมอไป รวมทั้ง ไม่ควรให้รางวัลเป็นสิ่งของบ่อยครั้งจนเกินไป รางวัลสำหรับลูกอาจเป็นคำชมเชย

หรือ การทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น ทำอ าห า รรับประทานร่วมกัน หรือไปท่องเที่ยวด้วยกัน ซึ่งเป็นการสร้างความรักและความผูกพันให้เกิดขึ้นในครอบครัว ในขณะที่การ

ให้รางวัลเป็นวัตถุสิ่งของร าค าแพ ง หรือให้บ่อยครั้งเกินไป อาจเป็นการบ่มเพาะให้ลูกยึดติดกับการบริโภควัตถุสิ่งของก็ได้

5. รู้จักเก็บ ต้องรู้จักให้

นอ กจากสอนลูกให้รู้จักเก็บออมเงินแล้ว ผู้เป็นพ่อแม่ต้องสอนให้ลูกเป็นผู้รู้จักให้ รู้จักแ บ่ งปั นด้วย เช่น แบ่งเงินส่วนหนึ่งไปทำบุญบ ริจ า ค หรือเก็บออมเงินส่วนหนึ่ง

สำหรับซื้ อของขวัญให้ญาติผู้ใหญ่ในเทศกาลต่างๆ สิ่งเหล่านี้เป็นการปลูกฝังการเป็นผู้ให้ที่ดี และสอนให้เด็กรู้ว่าเงินของเขานั้น นอ กจากจะสามารถสร้างความสุข

ให้ตนเองแล้ว ยังสามารถเผื่อแผ่ไปยังบุคคลอื่น หรือคนที่เขารักได้อีกด้วย

การสอนให้ลูกรู้จักการออมและรู้จักการใช้เงินตั้งแต่ลูกยังเล็กเป็นสิ่งที่จำเป็น ซึ่งวิธีการสอนลูกดังกล่าวข้างต้นอาจปรับใช้ได้ตามความเห ม าะสมของแต่ละครอบครัว

แต่สิ่งหนึ่งที่ทุกครอบครัวจะต้องชี้ให้ลูกเห็นก็คือคุณประโยชน์ที่ได้จากการออมและการเลือ กใช้เงินอย่างชาญฉลาด รวมทั้งพ่อแม่ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ลูกซึ่งจะทำให้

ลูกตระหนักถึงคุณค่าของเงินและรู้จักเก็บออมเงิน ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะติดตัวเด็กไปจนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในอนาคต

meko

Share
Published by
meko