ปัญหาใหญ่ของมนุษย์เงินเดือนยุคนี้ก็คือ เพราะเห็นอะไรล่อตาล่อใจหน่อยก็ควักกระเป๋าจับจ่ายกันสบายอารมณ์ พอเงินเดือนออ กปุ๊บก็กดไปใช้หนี้กันหมด แล้วจะเอาเงินที่ไหน มาเก็บล่ะเนี่ย !!
1. เก็บเฉพาะแบงก์ห้าสิบ เป็นวิธีออมเงินสุดแสนจะเบสิก แต่ได้ผลดีนักแล
2. เก็บแบงก์ร้อยที่ลงท้ายด้วยเลขที่เราชอบ เช่น ถ้าเจอแบงก์ร้อยที่ลงท้ายด้วยเลข 9 ก็ให้เก็บไว้ หรือเราเกิดวันที่ 1 ถ้าเจอแบงก์ร้อยลงท้ายด้วยเลข 1 ก็หยอดกระปุกไป
3. เก็บเศษเงินทอนที่ได้มาไปหยอดกระปุกทุกครั้งที่ใช้จ่าย อย่าดูถูกพลังของเศษเหรียญบาท เหรียญสองบาท เหรียญสลึงเชียว
4. เจอแบงก์ใหม่ให้เก็บ เวลาถอนออ กมาจากตู้ ATM หรือได้เงินทอน มา ให้เก็บไว้เลย จะเก็บทุกแบงก์ หรือเก็บเฉพาะแบงก์ไหนเป็นพิเศษก็แล้วแต่เรา หรือจะเก็บเหรียญใหม่ไว้ด้วยก็ได้นะ
5. เก็บแบงก์เลขสวย เลขตอง ไม่ว่าจะเป็นแบงก์อะไรก็ตาม ได้ลุ้นทุกวันว่าจะเจอแบงก์เลขสวยหรือเปล่า
6. เก็บเงินตามเลขท้ายของจำนวนเงินที่ใช้ไป เช่น ใช้เงินซื้อของไป 599 บาท เราก็ต้องเก็บเงิน 99 บาท
7. เก็บเงินที่ได้จากส่วนลด เช่น ซื้อของราคา 1,000 บาท จากปกติราคา 1,200 บาท ก็ให้แบ่งเก็บเงิน 200 บาทเอาไว้
8. เก็บเงินที่ได้รับคืน มาไปฝากบัญชีธนาคารอีกเล่ม เช่น เงินคืนบัตรเครดิต (Cash Back), เงินคืนเบี้ยประกัน, เงินคืนภาษี, เงินปันผลกองทุน หรือถ้าดวงดีหน่อยก็อาจได้เงินถูกลอตเตอรี่ สลากออมทรัพย์ เงินเหล่านี้ลองแยกไว้อีกบัญชี จะเห็นว่าได้เยอะกว่าที่คิด
9. หักเศษเงินเดือน มาเก็บไว้ เช่น เดือนนี้ได้ 15,900 ก็หัก 900 มาออมก่อนเลย
10. ออมเงินตามวันที่ เริ่มจากวันที่ 1 ก็หยอดกระปุก 1 บาท วันที่ 30 ก็หยอด 30 บาท พอขึ้นเดือนใหม่ จะกลับไปเริ่ม 1 บาทใหม่ก็ได้ ทำแบบนี้ให้ครบ 365 วัน จะได้เงิน 5 พันกว่าบาทเลย
11. ออมตามวันเหมือนกัน แต่เริ่มจากวันที่ 1 ก็ 1 บาท บวกไปเรื่อย ๆ จนถึงวันที่ 365 ก็หยอด 365 บาท ช่วงเดือนแรก ๆ อาจจะสบาย แต่ไปหนักเอาช่วงสิ้นปีที่ต้องออมเงินเยอะขึ้น วิธีนี้น่าจะเห ม าะกับคนที่มีเงินเหลือพอสมควร แต่ผลลัพธ์ที่ได้เชื่อไหมว่า พอครบปีจะมีเงินเก็บถึง 66,795 บาทเลย
12. เก็บแบงก์ 500 หยอดกระปุก เห ม าะสำหรับสายโหด แต่ได้เงินออมเยอะมาก
13. รับประทานอาหารกลางวันไปกี่บาท ก็กลับมาหยอดกระปุกเท่าจำนวนที่จ่ายไปด้วย ใครจะไปเชื่อว่าถ้าหยอดทุกวัน ครบ 1 ปี จะมีเงินเก็บเป็นหมื่น
14. ตั้งเป้าออมเพิ่มสัปดาห์ละ 10 บาท เช่น สัปดาห์แรกของปี หยอดกระปุกไป 10 บาท สัปดาห์ต่อไปก็ต้องหยอดเพิ่มเป็น 20 บาท 30 บาท ไปจนถึงสัปดาห์ที่ 52 ตอนสิ้นปี ก็หยอดไป 520 บาท เราจะมีเงินเก็บ 13,780 บาท หรือถ้าใครมีกำลังทำได้มากกว่านั้น จะออมเพิ่มสัปดาห์ละ 20 บาท 50 บาท 100 บาท บวกไปเรื่อย ๆ ก็จะยิ่งเก็บเงินได้เยอะขึ้นอีก
15. แบ่งเงินใช้ตามวัน เช่น ตั้งเป้าจะใช้เงินไม่เกินวันละ 150 บาท ก็แยกเงินออ กมาไว้เลย หรือแบ่งเงิน 150 บาท ออ กเป็น 30 ถุง สำหรับใช้ 1 เดือน แล้วใช้แค่เท่าที่มี (อาจมีเงินสำรองติดตัวไว้หน่อยเผื่อเหตุฉุ п เ ฉิ น) ถ้าวันไหนเงินเหลือ ก็เอามาหยอดกระปุกเก็บออมเพิ่มได้อีก
16. ตั้งเป้าไว้เลยว่าปีนี้จะต้องมีเงินเก็บเท่าไรแล้วเก็บให้ได้ทุกวัน
เช่น สิ้นปีอยากเก็บเงินให้ได้ 100,000 บาท ก็หารไป 365 วัน เท่ากับต้องเก็บเงินให้ได้วันละ 273-274 บาทนะ หรือหาร 52 สัปดาห์ ตกสัปดาห์ละ 1,923 บาท หรือหาร 12 เดือน ตกเดือนละ 8,333 บาท ทีนี้พอเงินเดือนออ กก็แบ่งเงินจำนวนนี้ออ กมาเก็บแยกไว้อีกบัญชีก่อนเลย ทำให้ได้ทุกเดือนก็จะมีเงินเก็บตามจำนวนที่ปรารถนา
17. ซื้อของฟุ่มเฟือยไปเท่าไร
ก็ต้องหยอดกระปุกเพิ่มไปให้ได้เท่านั้น อย่างบางคนอยากได้เสื้อผ้าใหม่ ๆ รองเท้าคู่ใหม่ แบบว่าอดใจไม่ไหวจริง ๆ ก็ซื้อได้ไม่ว่ากัน แต่ให้หยอดเงินเท่ากับจำนวนราคาที่ซื้อลงกระปุกไปด้วย เช่น ซื้อรองเท้าคู่ละ 1,500 บาท ก็ต้องหยอดกระปุกเก็บเงินเพิ่มอีก 1,500 บาทด้วยนะ หรือถ้าดื่มกาแฟแก้วละร้อยทุกวัน ก็ให้หยอดเงินเท่าราคากาแฟเก็บไว้ด้วย
18. แยกกระปุกค่าใช้จ่าย ใครรู้ล่วงหน้าว่าต้องใช้เงินไปทำอะไร อย่างต้องจ่ายค่าเทอมลูก ผ่อนบ้าน ค่าน้ำ ค่าไฟ ไปเที่ยวที่ไหน ก็ให้แยกกระปุกเอาไว้เลย จะได้ไม่ไปยุ่งกับเงินออม
19. เงินเดือนเข้าปุ๊บให้รีบออมปั๊บ โดยหักออ กจากเงินเดือนสัก 10% หรือมากกว่านั้นก็ได้ ไปฝากไว้อีกบัญชีที่ไม่มีบัตรเดบิต จะได้ถอนเงินออ กมาใช้ยากหน่อย
20. เก็บเงินในบัญชีออมทรัพย์ดอ กเบี้ยสูง มีอยู่หลายธนาคารเหมือนกันที่มีบัญชีออมทรัพย์พิเศษ แต่ก็มีเงื่อนไขที่ทำให้ถอนได้ยากขึ้น แลกกับดอ กเบี้ยสูงกว่าออมทรัพย์ธรรมดา ซึ่งเห ม าะกับคนที่ตั้งใจจะเก็บเงินจริง ๆ
21. เงินเดือนขึ้นก็ต้องออมเพิ่ม อย่างปกติหักเงิน 10% จากเงินเดือน มาเก็บไว้ แต่ถ้าปีนี้ได้เงินเดือนเพิ่ม 5% ก็ให้หักเงินไปออมเพิ่มอีก 3-5% ทุกเดือน แล้วยอดเงินออมจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้น
22. ลองหักดิบออมเงิน 30% จากรายได้ดูสักเดือน ถ้าอยู่ได้โดยไม่ลำบาก ก็ออมเพิ่มแบบนี้ทุกเดือนไปเลย เงินเก็บจะได้เพิ่มขึ้นอีกตั้งเท่าตัว
23. เปิดบัญชีฝากประจำที่ให้ดอ กเบี้ยสูงกว่าออมทรัพย์ จะได้บังคับตัวเองไม่ให้ถอนเงินออ กมาใช้
24. เปิดบัญชีเงินฝากประจำปลอดภาษีแบบ 24 เดือน หรือ 36 เดือน ผลตอบแทนประมาณ 2.25-3% ต่อปี เป็นการบังคับให้เราต้องนำเงินไปฝากธนาคารทุกเดือน เดือนละเท่า ๆ กัน ตั้งแต่ 1,000-25,000 บาท ยิ่งฝากเยอะ ยิ่งฝากนาน ก็ยิ่งได้ดอ กเบี้ยเพิ่ม เห็นเงินก้อนใหญ่อยู่ใกล้ ๆ
25. ออมด้วย ลุ้นด้วย กับการซื้อสลากออมสิน หรือสลาก ธ.ก.ส. ได้ดอ กเบี้ยดีกว่าฝากธนาคาร แถมยังได้ลุ้นรางวัลทุกเดือน เป็นการบังคับตัวเองให้ถือสลากอย่างน้อย ๆ ก็ 3 ปี เก็บเงินได้ชัวร์
26. ออมจากเงินโบนัส พอโบนัสออ กเก็บไว้ก่อนเลย 50% ไม่งั้นเดี๋ยวเผลอใช้หมด
27. หักเงินเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) หรือ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้เต็มสิทธิ์ สำหรับข้าราชการที่มี กบข. หรือพนักงานบริษัทเอ กชนที่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
แนะนำให้หักเงินสะสมเข้ากองทุนแบบเต็มสิทธิ์ไปเลย อย่างกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เราหักเงินเดือนไปออมกี่เปอร์เซ็นต์ นายจ้างก็จะสมทบให้อีกเท่าตัว ผลตอบแทนดีขนาดนี้หาได้ที่ไหน แถมยังมั่นใจได้ว่าเราจะมีเงินก้อนใหญ่ ๆ ไว้ใช้ในวัยเกษียณแน่ ๆ
28. ซื้อ กองทุนรวมที่ไม่เสี่ยงมาก
สำหรับคนที่ไม่อยากฝากเงินไว้ในธนาคารเพราะดอ กเบี้ยต่ำไปหน่อย อาจเลือ กพักเงินไว้ที่กองทุนรวมตลาดเงิน ซึ่งได้ผลตอบแทนประมาณ 1% กว่า ๆ
หรือจะเลือ กกองทุนตราส า รหนี้ที่ความเสี่ยงต่ำก็น่าสนใจ ให้ผลตอบแทนราว ๆ 1-3% เงินต้นก็ไม่หาย แต่ได้ผลตอบแทนสูงกว่าเงินฝากออมทรัพย์ที่ให้ดอ กเบี้ยไม่เกิน 0.5% ด้วยล่ะ
29. ลงทุนระยะยาว
ในเมื่อมีเงินออมพอสมควรแล้ว ถ้าอยากได้ดอ กเบี้ยหรือผลตอบแทนชนะอัตราเงินเฟ้อในแต่ละปี อาจต้องมองหาทางเลือ กอื่นนอ กจากการฝากบัญชีออมทรัพย์
ซึ่งมีให้เลือ กมากมาย ทั้งซื้อ กองทุนรวมดัชนี, กองทุนรวมทั่วไป อาจซื้อแบบ DCA ไปทุกเดือน สำหรับคนที่ต้องการลดหย่อนภาษีอาจเลือ กกองทุนรวม LTF หรือ RMF บางกองก็มีเงินปันผลคืนกลับมาให้ด้วยเหมือนกัน
30. ออมหุ้นก็ยังได้
แต่ต้องเลือ กหุ้นที่เติบโตหรือปันผลดี แล้วซื้อไปทุกเดือน หลาย ๆ ปีก็มีเงินเก็บ แต่ขอแนะนำว่าถ้าจะลงทุนอะไร อยากให้ลองศึกษาหาความรู้เรื่องนั้น ๆ ก่อน เพราะการลงทุนย่อมมีความเสี่ยงเสมอ
สุดท้ายถ้าจะให้ดี ลองจดบันทึกรายรับ-รายจ่ายแต่ละวันดู เพราะจะได้เห็นว่าเราใช้เงินในแต่ละเดือนไปมากแค่ไหน ส่วนใหญ่เสียไปกับค่าอะไร เป็นค่าใช้จ่ายจำเป็นหรือฟุ่มเฟือย ซื้ออะไรมากเกินไปหรือเปล่า
อย่างปกติถ้าดื่มกาแฟแก้วละเกือบร้อยทุกวัน ก็เปลี่ยน มาชงกาแฟเองบ้างในบางวัน หรือถ้าใครสู บ บุ ห รี่-ดื่มเ ห ล้ าบ่อย ๆ ก็ลองเลิก ลด ละนิสัยเหล่านี้ดู จะได้ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นแล้วเปลี่ยน มาเป็นเงินออมได้เพิ่มขึ้นอีกต่างหาก