ทำยังไง ให้มีเงินพอใช้ในแต่ละเดือน

มนุษย์เงินเดือนส่วนใหญ่มักจะประสบปัญหาด้านการเงินเพราะสาเหตุต่างๆ บางเรื่องสามารถควบคุมได้ บางเรื่องอาจควบคุมไม่ได้ ดังนั้น การ วางแผนการเงิน ก่อนทำการใช้จ่าย ถือว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุด

มนุษย์เงินเดือน มักจะมีพฤติกรรมคล้ายๆกัน นั่นก็คือ ฉลองทันทีที่เงินเดือนออ ก,ซื้อทุกอย่างที่อยากได้,โดยไม่คำนึงว่า จะเหลือเงินใช้จ่ายเพียงพอในระยะเวลาที่เหลืออยู่หรือไม่

การ วางแผนการเงิน สามารถทำได้ง่ายๆ ตามวิธีต่างๆ ดังนี้

1. แยกค่าใช้จ่ายตามประเภท

แยกค่าใช้จ่ายตามประเภทต่างๆ เพื่อสะดวกในการจัดการค่าใช้จ่าย โดยแยกเป็นสามส่วนง่ายๆ ดังนี้

1. ส่วนที่ใช้ชำระหนี้

หรือส่วนที่เป็นรายจ่ายประจำในทุกๆเดือนที่มีจำนวนยอดต า ยตัวนั่นเอง เช่น ค่าเช่าบ้าน ค่าผ่อนรถ ค่าชำระบัตรเครดิตขั้นต่ำ ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้มักจะเท่ากันทุกเดือน ทำให้กะงบประมาณได้พอดี ไม่มีขาดเกิน

2. ส่วนสำหรับค่าใช้จ่ายทั่วไป

ที่มีแนวโน้มขึ้นลงตลอดเวลา เช่น ค่าอาหาร ค่าน้ำมันรถ ค่าเดินทาง เป็นต้น ซึ่งค่าใช้จ่ายในส่วนนี้มักจะกะเป็นงบประมาณที่แน่นอนไม่ได้ คุณควรเตรียมเพิ่มไว้อีก 5% โดยประมาณ จะได้มีค่าใช้จ่ายสำรองยามฉุ п เ ฉิ น

3. ค่าใช้จ่ายส่วนเกิน

หรือส่วนที่ไม่มีความจำเป็นสักเท่าไหร่ ส่วนใหญ่ใช้เพื่อความบันเทิงมากกว่า เช่น ค่าเลี้ยงฉลองทุกสัปดาห์ ค่ากระเป๋าถือราคาสูงที่เล็งไว้ตั้งแต่เดือนที่แล้ว

ค่ารองเท้าส้นสูงไฮโซคู่ที่39 ในสต๊อ กที่บ้านคุณ เป็นต้น ทั้งหมดนี้ล้วนไม่มีความจำเป็นที่จะต้องซื้อหามาทุกเดือน คุณควรตั้งเป้าไว้เป็นรางวัลให้กับตนเองในระยะยาว เช่น

อนุญาตให้ตัวเองซื้อของตามใจได้ 3 เดือน/1ครั้ง เพื่อควบคุมงบประมาณ และนำเงินส่วนนั้น มาเก็บออมเพื่ออนาคต

2. แบ่งเงินออม

เรื่องเงินออมไม่มีกฎต า ยตัว ว่าต่อเดือนคุณต้องออมเป็นจำนวนเงินเท่าไหร่ต่อเดือน เพราะเงินเดือนที่ได้มาในแต่ละเดือน อาจมีจำนวนไม่เท่ากัน

ดังนั้น ทางที่เห ม าะสมที่สุดคือ ตั้งไว้เป็นเปอร์เซ็นต์จะออมได้ต่อเนื่องกว่า เช่น หักเงินออมจากเงินเดือน เดือนละ 10% เป็นต้น

ซึ่ง 10% ที่ว่านี้ ไม่ใช่เงินจำนวนที่มากมายเกินความสามารถของคุณเลย ถ้าเทียบกับค่าใช้จ่ายไร้ส า ระที่คุณจ่ายไปในทุกๆเดือนแล้ว ยังน้อยกว่ามาก ซึ่งจำนวนเงินน้อยๆนี่แหละ ที่จะทวีค่าเป็นเงินเก็บก้อนโตในอนาคต

หรือบางท่านก็มีวิธีออมที่แตกต่างกันไป เช่น ตั้งเป้าไว้ว่าถ้าเงินเดือนเกินความคาดห ม ายเท่าไหร่ก็ตาม จะฝากเป็นเงินออมทั้งหมด

เช่น ตั้งเป้าห ม ายไว้ว่าทุกเดือน เงินเดือนประจำคือ 15,000 บาท เกินจากนั้นทั้งหมดคือเงินออม แบบนี้ก็จะทำให้คุณประสบความสำเร็จในด้านการเงินเร็วยิ่งขึ้นอีกด้วย

3. ควบคุมค่าใช้จ่าย ตามจำนวนวัน

แบ่งค่าใช้จ่ายออ กมาเป็นจำนวนวัน หรือรายสัปดาห์เหมือนที่เคยได้รับจากผู้ปกครองเมื่อตอนเด็กๆ วิธีนี้จะช่วยควบคุมค่าใช้จ่ายของคุณให้อยู่ในเกณฑ์ที่พอดี และไม่ติดลบ

หลังจากที่คุณหักค่าใช้จ่ายประจำ เงินออม และภาระหนี้สินออ กไปจนหมดแล้ว ให้นำเงินส่วนที่เหลือ มาหารด้วยจำนวนวัน แล้วใช้จ่ายในงบประมาณนั้นอย่างเคร่งครัด

อย่าลืมแบ่งค่าใช้จ่ายเพื่อ การเข้าสังคมไว้ด้วยสักส่วนหนึ่งนะคะ เพราะอย่างน้อยๆการเข้าสังคมกับเพื่อนฝูง ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้กัน

4. ลดการใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือย

อะไรที่ไม่จำเป็นต่อ การดำเนินชีวิต หรือเกินฐานะของคุณ ก็ตัดมันออ กเสีย หัน มาเดินทางสายกลาง ใช้ชีวิตอย่างพอเพียง

อย่าไปสนใจคำค่อนแคะนินทาของเพื่อนร่วมงานรายได้ต่ำแต่รสนิยมสูงเหล่านั้นเลยค่ะ เพราะคนที่ไม่ยอมรับตัวตนที่แท้จริงของเพื่อนก็ถือว่าไม่ใช่มิตรแท้ เจอ กันแค่ชั่วคราว ไม่นานก็จากกันไป

สังเกตดูง่ายๆ คุณจะเห็นว่าพวกเขาเองก็หนีไม่พ้นภาระวงจรบัตรเครดิต บางคนหนี้สิน มากมายจนบริหารไม่ไหวเลยก็มี ยังไม่ต้องคาดเดาถึงอนาคตหรอ กค่ะ แค่วันพรุ่งนี้ พวกเขาจะมีเงินพอใช้จ่ายหรือเปล่ายังไม่รู้เลย

หัน มาใช้ชีวิตง่ายๆ อยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง ใช้เงินให้น้อยกว่าหรือพอดีกับรายได้ เพื่ออนาคตทางการเงินที่สดใสของตัวคุณเองนะคะ

5. พยายามปลดหนี้ให้เร็วที่สุด

ถ้ามีหนี้สิน คุณต้องรีบปลดหนี้ เพื่อเอาเวลาที่ยังเหลืออยู่มาสร้างอนาคตทางการเงินที่ดีสำหรับวัยเกษียณ โดยเลิกใช้วิธีการชำระหนี้ตามยอดขั้นต่ำ

หัน มาเพิ่มเงินชำระให้มากขึ้นเท่าที่คุณทำไหว เพราะการเพิ่มยอดชำระนั้น จะช่วยลดอัตราดอ กเบี้ยและค่าธรรมเนียมได้มากจนคุณอาจแปลกใจ

หรืออีกวิธีหนึ่งก็คือ การผ่อนหนี้รายวัน ยุคก่อนๆมักจะมีชาวอินเดียออ กเงินกู้หรือขายสินค้าเงินผ่อนตามบ้าน โดยตระเวนเก็บเงินกับลูกหนี้วันละนิดหน่อย

ทำให้หนี้ประเภทนี้เกิดความนิยมเป็นวงกว้าง เพราะลูกหนี้มองว่าเป็นเงินจำนวนเล็กน้อยนั่นเอง

คุณลองเอายอดหนี้สินทั้งหมดตั้งไว้ แล้วหารด้วยจำนวนวันตามปีที่คุณคาดหวัง เก็บสะสมยอดเงินทุกวันให้ได้ตามนั้น แล้วไม่นาน หนี้สินของคุณก็จะหมดไปจนเป็นอิสระในที่สุด

ซึ่งหากคุณปฏิบัติตามได้ดังนี้แล้ว คุณจะกลายเป็นบุคคลที่มีอิสระทางด้านการเงินในระยะเวลาอันรวดเร็ว และมีเงินสะสมไว้พอใช้จ่ายในวัยเกษียณอีกด้วย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *