เทคนิคการออมเงินสำหรับมนุษย์เงินเดือน

“เงินออม” คือสิ่งที่มนุษย์เงินเดือนหลายๆ คนอยากมี แต่ไม่ใช่ว่าจะทำกันได้ทุกคน เพราะแต่ละคน มีวิธีการใช้ชีวิตและภาระที่แตกต่างกันไป

บางคนต้องผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ผ่อน มือถือ ผ่อนสินค้าต่างๆ ที่จำเป็น ลำพังแค่ให้มีเงินเหลือใช้จนถึงปลายเดือนก็ยากแล้ว ต้องมาเก็บออมอีก ยิ่งยากไปใหญ่

แต่การใช้เงินเดือนชนเดือนแบบนี้ ไม่เป็นผลดีกับตัวเราในอนาคตแน่นอน หากมองแค่ในระยะสั้น ปัญหาแรกที่เจอเลยคือสภาพคล่อง การที่เรามีรายจ่ายที่รัดตัว

เมื่อเกิดเหตุฉุ п เ ฉิ นไม่คาดฝันขึ้น อย่างการออ กจากงานกะทันหัน ปัญหาด้านสุขภาพ อุบัติเหตุ ทำให้เราไม่มีเงินสำรองเผื่อฉุ п เ ฉิ นสำหรับค่าใช้จ่ายนี้ เราอาจจะต้องไปยืมเงินคนอื่น หรือ กู้เงิน ซึ่งเสี่ยงต่อ การเป็นหนี้สินในระยะยาว

1. ทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย

ได้เห็นคำว่าบัญชี หลายๆ คนอาจจะอยากเบือนหน้าหนีแล้ว แต่การทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายไม่ได้ยากอย่างที่คิด และยังเป็นประโยชน์มากๆ ในการจัดการเงินด้วย

เริ่มได้ด้วยการดูว่าในแต่ละวันเราใช้จ่ายอะไรบ้าง เหมือนกันทุกวันหรือไม่ ถ้าคล้ายๆ กันทุกวัน การจะประเมินเป็นรายเดือนก็ไม่ยากมากนัก และเดี๋ยวนี้ก็มีแอปพลิเคชันในการช่วยบันทึกรายรับ-รายจ่ายมากมาย ทำให้เราไม่ต้องคำนวณเอง

หากเราทำต่อเนื่องได้ 3 เดือน จะทำให้ประเมินได้แล้ว ว่าเรามีรายจ่ายอะไรที่จำเป็นต้องจ่าย และไม่จำเป็นต้องจ่าย เมื่อมองเห็นแล้ว เราควรที่จะลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น และนำเงินส่วนนั้นไปออมเงินแทน

2. เก็บก่อนใช้ 5-10% ของรายได้

วิธีนี้เห ม าะกับคนที่ต้องการตัดไฟตั้งแต่ต้นลม เงินเดือนเข้าปุ๊บ ตัดไปออมก่อนเลย 5-10% ของเงินเดือน เหลือเท่าไหร่ใช้เท่านั้น วิธีนี้ช่วยสร้างวินัยในการออมเงินได้มาก

และช่วยควบคุมการใช้จ่ายของเราด้วยเช่นกัน เมื่อเราได้หักเงินออมไปแล้ว ในเดือนนั้นยังมีเงินเหลืออยู่เท่าไหร่ เราจะใช้หมดเลยก็ได้ หรือถ้ายังเหลือและนำกลับไปออมเพิ่มอีก จะทำให้เงินออมของเราเติบโตมากขึ้นเรื่อยๆ

3. เก็บเงินวันละ 20/50/100 บาท

สำหรับใครที่รู้สึกใจหวิวเวลาต้องเก็บเงินทีละเยอะๆ เลยเลือ กที่จะไม่เก็บเพราะอาจจะนำไปซื้อของที่จำเป็น ทำให้ขาดวินัยในการเก็บเงินตรงนี้ไป ซึ่งในความเป็นจริง

เราไม่จำเป็นต้องเก็บทีละ 500 บาท 1,000 บาท เราสามารถเลือ กเก็บเล็กผสมน้อยไปเรื่อยๆ ได้ วันละ 20 บาท เดือนนึงก็ได้ 600 บาทแล้ว วันละ 50 บาท

เดือนนึงก็ได้ 1,500 บาท หรือวันละ 100 บาท เดือนนึงเราจะเก็บเงินได้ 3,000 บาทเลยทีเดียว ใครไม่สะดวกเก็บเงิน มากๆ ในครั้งเดียว เราเลือ กเก็บวันละ 20 บาทก็ได้ ดูเหมือนจะน้อย แต่พอสะสมไปนานๆ ก็เป็น มูลค่าก้อนใหญ่ในอนาคตได้นะ

4. ไม่ใช้เงินในอนาคตมากเกินจำเป็น

เงินในอนาคตในที่นี้คือบัตรเครดิตนั้นเอง หลายๆ คนที่สามารถเก็บเงินจากเทคนิคข้อ ก่อนๆ ได้แล้ว อาจมาพลาดท่าเพราะบัตรเครดิต เพราะเราเก็บเงินไปเยอะแล้ว

ทำให้มีเงินไม่มากพอที่จะซื้อของช่วงปลายเดือน เลยขอใช้บัตรเครดิตรูดจ่ายไปก่อน เดี๋ยวรอเงินเดือนเข้าแล้วค่อยหักไปจ่าย หรืออาจจะติดกับดัก

ผ่อน 0% ที่เดี๋ยวนี้ไม่ได้มีแค่ 10 เดือน แต่มี 15 เดือน 24 เดือน 36 เดือน หรือบางค่ายบัตรเครดิตมีสูงสุดถึง 48 เดือนเลยทีเดียว

หากเราสนใจซื้อสินค้าราคา 30,000 บาท แล้วเลือ กผ่อน 48 เดือน จะผ่อนเพียงเดือนละ 625 บาทเท่านั้น จากหลักหมื่นเหลือเพียงหลักร้อย ทำให้เราคิดว่ายังไงเราก็จ่ายไหว

ซึ่งจริงๆ แล้วจะทำแบบนั้นก็ย่อมได้ แต่หากเราทำแบบนี้กับหลายๆ สินค้า จากหลักร้อย จะกลายเป็นหลักพัน เผลอๆ สูงถึงหลักหมื่น

ดังนั้นหากเป็นสินค้าที่จำเป็นจริงๆ แล้วเราผ่อน 0% 10 เดือนไม่ไหว นั่นอาจเป็นสัญญาณบอ กว่าสินค้านั้นราคาสูงเกินความสามารถในการใช้จ่ายของเรา

แต่อย่าเพิ่งรู้สึกหมดหวังไป ในหลายๆ สินค้าที่มีราคาสูงและจำเป็นจริงๆ สิ่งที่เราควรทำเพื่อลดปัญหาการใช้เงินเดือนชนเดือน

คือ เก็บเงินให้ได้อย่างน้อย 50% ของราคาสินค้านั้นๆ ก่อน แล้วจึงตัดสินใจผ่อน เพราะเราเก็บเงิน มาแล้วตั้งครึ่งนึง ทำให้เราผ่อนอีกครึ่งนึงได้สบายตัวมากขึ้น

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *