ข้อคิดสอนใจ

เทคนิค เก็บ “เงิน 3 ถัง” ในยุคเงินเฟ้อ-ของแพง

หลายคน มองว่า “เงินออม” ควรเป็นเงินที่เหลือจากการหักค่าใช้จ่ายประจำเดือน แต่ตราบใดที่เรายังใช้กลยุทธ์ดังกล่าวนี้ในการสร้างเงินออม เราจะไม่สามารถเดินไปถึงฝันได้แน่นอน เพราะค่าใช้จ่ายประจำเดือนเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา

ดังนั้นเราต้อง “ออมก่อนจ่าย” วิธีที่นักบริหารการเงินหลายคนใช้ ด้วยการสร้างวินัยด้านการเงินให้กับตัวเองคือ เมื่อได้รายรับให้หักส่วนหนึ่งเป็นเงินออมทันที

เช่น ถ้าได้รับเงินเดือน 30,000 บาท หักเงินออมทันที 10,000 บาท ส่วนที่เหลือนำไปบริหารเป็นค่าใช้จ่ายประจำเดือน และค่าใช้จ่ายประจำวัน วิธีนี้จะทำให้เรามีเงินออมอย่างมั่นคงทุกเดือน

เมื่อเราได้เงินออมที่มั่นคงในแต่ละเดือนแล้ว ให้แบ่งเงินออมลง “3 ถัง” เริ่มที่

ถังที่ 1 : เงินฉุ п เ ฉิ น จัดเป็นเป้าห ม ายการออมเงินระยะสั้น เพื่อให้มีเงินสำรองไว้ใช้จ่ายในยามวิ п ฤ ตต่างๆ เช่น การซ่อมแซมรถหรือบ้าน ค่ารักษาพยาบาลกรณีฉุ п เ ฉิ น หรือผลกระทบด้านรายได้จากภาวะเศรษฐกิจ เป็นต้น โดยใช้วิธีเปิดบัญชีออมทรัพย์แยกจากบัญชีหลัก

ถังที่ 2 : เงินระยะยาว ถือเป็นเงินออมที่สำคัญอีกเช่นกัน มาใส่ในถังนี้ เพื่อสร้างความมั่นคงในอนาคตวัยเกษียณให้กับตัวเองและครอบครัว โดยเคล็ดลับที่สำคัญคือ การเก็บในรูปแบบการฝากแบบประจำ หรือเลือ กการออมที่สามารถเพิ่มเงินออมให้งอ กเงยทันภาวะเงินเฟ้อ หรือภาวะเศรษฐกิจที่มีความผันผวน

ถังที่ 3 : ค่าใช้จ่ายครั้งใหญ่ สำหรับเงินออมถังนี้จะทำให้ชีวิตการออมเงินของเรามีความสุขและสนุกมากยิ่งขึ้น เพราะเป็นการออมที่จะนำไปใช้ในการมอบของขวัญให้กับตัวเอง เช่น ทริปท่องเที่ยวพักผ่อนประจำปี การซื้อรถ การจัดงานแต่งงานในฝัน เป็นต้น

หากตัดสินใจว่าจะตั้งเป้าห ม ายการออมเงินเพื่อ การใช้จ่ายครั้งใหญ่ การวางแผนเพื่อความสำเร็จนั้นเป็นสิ่งสำคัญ ขั้นแรก ตัดสินใจว่าจะออมเงินเมื่อใด

โดยพิจารณาจากงบประมาณที่ระบุไว้ว่าเราสามารถออมเงินได้แค่ไหนในแต่ละเดือน จากนั้นให้ตั้งค่าชำระเงินอัตโน มัติในบัญชีออมทรัพย์เฉพาะที่เอาไว้สำหรับการใช้จ่ายครั้งใหญ่ เพียงเท่านี้ เป้าห ม ายสำหรับค่าใช้จ่ายครั้งใหญ่ของเราก็จะสำเร็จ

meko

Share
Published by
meko