เก็บเงินด้วยตัวเอง อาจเป็นเรื่องยากสำหรับใครหลายคน เพราะหลายคนได้เงิน มาก็ใช้หมดจนไม่มีเหลือเก็บ พอถึงวันที่จำเป็นต้องใช้เงินแต่ไม่มีเงินออมจะทำยังไงดี?
ออมเงินยังไงก็ไม่อยู่ เหมือน มีรูรั่วเต็มกระเป๋าไปหมด ซึ่งปัญหาเหล่านั้นอาจไม่ใช่สาเหตุหลัก แต่สาเหตุคือเราอาจเก็บเงินไม่ถูกวิธีและเผลอเลยการเก็บเงินไป
1.ไม่ใช้แบงค์ 50
เชื่อว่าหลายคนคงรู้จักวิธีนี้แล้ว เพราะเป็นวิธียอดฮิตที่ใครหลายคนนิยมทำกัน เนื่องจากแบงค์ 50 เป็นแบงค์ที่มีน้อยและหายากกว่าแบงค์ 20 หรือ 100 ไม่ว่าจะได้รับเป็นเงินทอนหรือมีอยู่กับตัว
การเก็บเข้ากระปุกแบบไม่ดึงมาใช้เลย เป็นอีกหนึ่งหนทางการออมที่มีการการันตีแล้วว่าได้ผลมานักต่อนัก บางรายเก็บไปปีๆ หนึ่งได้เป็นหลักหมื่นเลยด้วยซ้ำ สมมติเราซื้อของทุกวันแล้วได้แบงค์มาวันละ 1 ใบ
1 เดือน เราจะได้ 50 x 30 = 1,500 บาท
1 ปี เราจะได้ 50 x 365 = 18,250 บาท
ตอนแรกที่เก็บอาจรู้สึกเฉยๆ แต่พอเห็นยอดเงินแล้วจะอึ้งกับพลังของการออมแบงค์ 50 แน่ๆ ใครอยากรวยง่ายๆ เริ่มต้นได้ตอนนี้เลย หากได้แบงค์ 50 มาแล้วเก็บใส่กระปุกเลยยยย
2.จำกัดการถอนเงินของตัวเอง
วิธีที่สองใช้วิธีถอนเงิน มาก้อนเดียวหรือสองก้อนเก็บไว้ที่บ้าน แล้วดึงมาใช้รายวันจะสามารถเก็บเงินได้ง่ายกว่า แต่เราต้องคำนวนไว้ว่าเราใช้เงินปกติวันเท่าไหร่
แล้วบริหารจัดแจงคูณตามวันที่มาทำงานเลย ส่วนการถอนครั้งต่อไปก็เก็บไว้ให้เหตุฉุ п เ ฉิ นที่จำเป็นจริงๆ เท่านั้น เช่น สมมติคุณใช้เงินวันละไม่เกิน 200 รวมค่าเดินทาง ค่ากินอยู่ปกติ คุณทำงานเดือนละ 20 วัน
จำนวนเงินที่ถอนได้จะเท่ากับ 200 x 20 = 4,000บาท วิธีนี้จะทำให้เราเห็นภาพรวมของเงินได้มากขึ้นกว่าการถอนรายวันด้วย เพราะสมมติว่าวันๆ นึงเราถอนเงินซักสามครั้ง
ถ้าไม่ได้มีการทำบัญชีรายรับรายจ่าย เราลืมแน่นอนว่าเราจ่ายเงินค่าอะไรไปบ้าง แต่ถ้าเราเน้นแค่ถอนเงินเป็นก้อน ใช้จ่ายอย่างเป็นระบบ
หากมีการถอนเงินพิเศษขึ้น มาคุณจะรู้ได้ทันทีเลยว่า นี่มันการใช้จ่ายแปลกปลอมที่ปกติไม่น่าเกิดขึ้นในระบบ ทำให้เรามีวินัยในการเงิน มากขึ้น
3.แบ่งเป้าห ม ายการออมเป็นหลายกระปุก
ไม่ว่าจะเป็นเงินเก็บลงทุน เงินซื้อมือถือเครื่องใหม่ เงินไปเที่ยว วิธีนี้จะช่วยให้เราแบ่งสัดส่วนความสำคัญของการออมในแต่ละกระปุกได้ว่าอันไหนจำเป็นต้องออมและต้องใช้ก่อน
เรื่องเหล่านี้จะเป็นกำลังใจให้เราเก็บเงิน ซึ่งวิธีแปะหน้ากระปุกแบบนี้ เราไม่จำเป็นต้องใช้กระปุกเดียวในการเก็บออม แต่ใช้หลายกระปุกก็ได้ แล้วหยอดตามความสำคัญที่เราเห็นควรได้เลย
4.ใช้กระติกน้ำและทำกับข้าวไปกินเอง
วิธีนี้เป็นหนึ่งในวิธีการประหยัดเงินที่ได้ผลสุดๆ เพราะเมื่อเราหิวน้ำ ไม่จำเป็นต้องซื้อน้ำขวดใหม่ การพกกระติกน้ำนอ กจากจะประหยัดเงินแล้วยังดีต่อทรัพยากรโลกอีกต่างหาก
ผลสำรวจการใช้เงินของคนไทยในปัจจุบันระบุไว้ว่าพวกเราใช้เงินไปกับอาหารและเครื่องดื่มสูงที่สุด และบางครั้งค่าเครื่องดื่มสูงกว่าค่าอาหารด้วยซ้ำ
เวลาเข้าคาเฟ่ทีเครื่องดื่มก็ปาไปเกือบร้อยแล้ว หากลดการกินน้ำหวานหรือค่าอาหารลงได้ จะช่วยเพิ่มเงินในกระเป๋าตัวเองให้มากขึ้น ทำให้เหลือเงินไปใช้จ่ายในเรื่องอื่นได้
5.ใช้เท่าไหร่ เก็บเท่านั้น
วิธีสุดท้ายนี้เป็นวิธีที่เขี้ยวที่สุด แต่ถือเป็นหนึ่งในวิธีบังคับตัวเองเพื่อลดรายจ่าย เพิ่มเงินออมที่เห็นผลชัดเจนอีกเหตุผลหนึ่ง สมมติว่าเรามีค่าใช้จ่ายที่นอ กเหนือจากการกินอยู่
และการตั้งเป้าห ม ายไว้ เช่น อยู่ๆ วันนี้เราเจอ กระเป๋าน่ารักแล้วอยากได้มากในราคา 350 บาท เราก็ต้องหยอดกระปุกเพิ่มไปเลย 350 บาท
วิธีนี้จะทำให้เราหลีกเลี่ยงการใช้เงินอื่นๆ ที่อยู่นอ กเหนือ การใช้จ่ายตามเป้าห ม าย รวมไปถึงเพิ่มเงินออมโดยรวมได้เร็วขึ้น
หากเราซื้ออะไรตามความอยากของตัวเองบ่อยๆ แน่นอนว่ายิ่งเพิ่มวินัยทางการเงินอย่างดีเข้าไปอีก ซื้อเท่าไร ทบเงินเก็บไปเท่านั้น