การเก็บเงินหรือออมเงินนั้นสำหรับใครหลาย ๆ คนอาจไม่ใช่เรื่องที่ง่ายนัก และยิ่งเป็นยุคที่เศรษฐกิจถดทอยแบบนี้ การที่จะมีเงินเก็บให้ได้สักก้อนนั้นนับว่าเป็นเรื่องที่ยากมาก แต่ในยามวิ п ฤ ตแบบนี้ หากเรามีเงินเก็บเอาไว้บ้างแม้เพียงจำนวนเล็กน้อย ก็อาจจะช่วยให้ชีวิตมีทางออ กได้
วิธีเก็บเงินง่าย ๆ ให้ได้เงินก้อนโต้ สำหรับผู้ที่อยากเริ่มต้นฝึกนิสัยการออม มีดังนี้
เก็บแบงก์ 50 บาท
วิธีนี้เป็นวิธีที่มีคนนำไปใช้แล้วได้ผลดีจนถูกนำมาแชร์ต่อ ๆ กัน มานาน มากแล้ว โดยเน้นเก็บเฉพาะแบงก์ 50 บาท ซึ่งไม่ค่อยมีมาให้เห็นกันบ่อย ๆ เพราะส่วนใหญ่เรามักได้รับเงินทอนเป็นแบงก์ 20 บาทหรือแบงก์ 100 บาทมากกว่า
ดังนั้น หากได้รับแบงก์ 50 บาทมาเมื่อไรให้รีบเก็บทันที และทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ ให้ผ่านไปสัก 1 ปี แล้วค่อยแคะกระปุกออ กมาลองนับดู ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้อาจสร้างความประหลาดใจอย่างที่เราคาดไม่ถึงก็ได้
เก็บเงินตามเลขวันที่
วิธีนี้ให้เก็บเงินเป็นจำนวนตามเลขของวันที่ เช่น วันที่ 1 ให้เก็บเงิน 1 บาท วันที่ 2 เก็บเงิน 2 บาท และเก็บไปเรื่อย ๆ จนถึงสิ้นเดือนวันที่ 31 ให้เก็บ 31 บาท
พอขึ้นเดือนใหม่ก็เริ่มเหมือนเดิมวนไปเรื่อย ๆ เมื่อครบ 1 ปี ก็จะมีเงินเก็บรวม 5,738 บาท หรือหากต้องการมีเงินเก็บให้มากกว่านี้ก็สามารถทำได้โดยการเติมเลขศูนย์ (0) ต่อท้ายวันที่นั้น ๆ ได้เลย เช่น วันที่ 1 เก็บ 10 บาท วันที่ 2 เก็บเงิน 20 บาท และวันที่ 31 เก็บ 310 บาท ซึ่งหากเก็บได้ครบ 1 ปี ก็จะมีเงินเก็บรวมมากถึง 57,380 บาท นับว่าเป็นเงินก้อนใหญ่พอสมควร
เก็บเงินทุกวันเงินเดือนออ ก (เปิดบัญชีฝากประจำ)
หากจะใช้วิธีนี้ ก่อนอื่นต้องมั่นใจว่าเงินเดือนที่มีเพียงพอสำหรับภาระหนี้สินและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่มีอยู่หรือไม่ และพอเงินเดือนออ กปุ๊บ ให้เก็บเงินไว้ 10% ของเงินเดือน
ซึ่งอาจจะเป็นจำนวน 1,500 – 2,000 บาทต่อเดือน (เงินเดือน 15,000 – 20,000 บาท) โดยโอนออ กไปเข้าบัญชีฝากประจำทันที เพื่อป้องกันการนำเงินออ กมาใช้ หากสามารถทำได้ก็จะมีเงินเก็บ 18,000 – 24,000 บาทต่อปี
เก็บเงินด้วยการตั้งงบการใช้จ่ายต่อวัน
หลังจากรับเงินเดือนและหักค่าใช้จ่ายหลัก ๆ ที่จำเป็น เช่น ค่าที่พัก ค่าน้ำ ค่าไฟ และค่าเดินทางแล้ว ลองตั้งงบการใช้จ่ายสำหรับ 1 วันให้กับตัวเองว่าจำเป็นต้องใช้เงินเท่าไหร่และพยายามใช้ตามงบที่ตั้งไว้
ส่วนเงินที่เหลือจากการหารวันให้นำหยอดกระปุกไว้หรือเก็บไว้ใช้ในยามฉุ п เ ฉิ น เช่น
มีเงินเดือน 20,000 บาท หักค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต้องจ่ายทุกเดือนรวม 7,000 บาท เหลือเงินที่ใช้ได้ 13,000 บาท
ตั้งงบใช้จ่ายสำหรับตัวเอง เพียงพอใช้วันละ 300 บาท ดังนั้น ใน 1 เดือนงบใช้จ่ายเท่ากับ 9,000 บาท
สรุป เงินเหลือเก็บ 13,000 – 9,000 เท่ากับ 4,000 บาทต่อเดือน
เก็บเศษของเงินเดือนทุกเดือน
วิธีนี้จะคล้ายกับวิธีก่อนหน้านี้ แต่ให้ยึดเอาตัวเลขเศษจากจำนวนเงินเดือนที่เราได้รับในแต่ละเดือน เช่น เงินเดือน 21,500 บาท ให้เก็บเศษ 500 บาท
หรืออาจจะเก็บเป็น 1,500 บาทเลยก็ได้ โดยให้รีบโอนเงินออ กจากบัญชีเงินเดือนเข้าบัญชีฝากประจำทันที และเก็บแบบนี้ไปทุกเดือน ๆ พอถึงสิ้นปีเราก็จะมีเงินเก็บ 6,000 บาท หรือ 18,000 บาท
เก็บเศษเงิน (ทั้งแบงก์ย่อยและเหรียญ)
วิธีนี้มีหลักการง่าย ๆ คือ พอจบวันแล้ว ไม่ว่าจะมีแบงก์ย่อย 50 บาท หรือ 20 บาท และเหรียญต่าง ๆ รวมกันอยู่เป็นจำนวนเท่าไร ให้เก็บหยอดกระปุกให้หมด
หรืออาจจะเหลือไว้ใช้เฉพาะที่จำเป็น เช่น ค่ารถเมล์ ค่าวิน มอเตอร์ไซค์ เมื่อถึงสิ้นปีก็นำออ กมานับและนำไปฝากเข้าบัญชีธนาคารไว้ ซึ่งวิธีนี้หากเก็บสะสมไปเรื่อย ๆ ก็สามารถช่วยให้มีเงินก้อนได้ไม่ยาก
เก็บเศษเงิน (เฉพาะเหรียญ)
วิธีนี้จะเห ม าะกับคนที่ไม่ชอบพกเงินเหรียญให้หนักกระเป๋า โดยในแต่ละวันที่ได้รับเงินทอน มาเป็นเงินเหรียญให้แยกเก็บไว้ในกระเป๋าใบเล็ก ๆ โดยเฉพาะและไม่นำออ กมาใช้
และเมื่อจบวันหรือ กลับถึงบ้านแล้วให้นำเงินเหรียญทั้งหมดออ กมาเก็บใส่กระปุกไว้ เมื่อถึงปลายปีให้นำเออ กมานับและนำไปฝากเข้าบัญชีธนาคารไว้ วิธีนี้อย่างน้อย ๆ จะสามารถช่วยเก็บเงินได้ปีละ 3,000 – 5,000 บาทเลยทีเดียว
เลือ กเก็บเฉพาะแบงก์หรือเหรียญใหม่ ๆ
วิธีนี้เป็นการเลือ กเก็บเงินตามลักษณะของเงิน โดยในแต่ละวันหากได้รับแบงก์หรือเหรียญใหม่ ๆ มา ให้รีบเก็บไว้สำหรับหยอดกระปุกเพื่อเป็นเงินออมทันที
การเก็บเงินด้วยวิธีนี้จะช่วยทำให้รู้สึกสนุกสนานไปกับการเก็บเงิน เพราะทุกครั้งที่เห็นแบงก์หรือเหรียญใหม่ ๆ ก็จะช่วยกระตุ้นให้อยากเก็บเงินเพิ่มมากขึ้น
เมื่อรู้เทคนิคดี ๆ และวิธีเก็บเงินง่าย ๆ ให้ได้เงินเก็บก้อนโตแล้ว สำหรับใครที่กำลังอยากมีเงินเก็บไว้สักก้อนแต่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไรดี
ก็ลองเลือ กวิธีที่เห ม าะกับตัวเองแล้วลงมือเก็บเงินกันได้เลย และอย่าลืมตั้งเป้าห ม ายเพื่อช่วยกระตุ้นให้การเก็บเงิน มีความห ม ายมากยิ่งขึ้น เพื่อสร้างสถานะทางการเงินของเราให้แข็งแรงมั่นคงต่อไป