ยังไม่ต้องไปถึงเก็บยังไงให้ได้เงินแสน เงินล้านก่อนสิ้นปี วิธีนี้แทบจะเป็นไปไม่ได้ถ้าคุณไม่บังเอิญถูกหวย เอาแค่มีเงินเก็บหลักหมื่นและใช้ชีวิตได้ราบรื่นไม่ขัดสนเหมือนปีที่ผ่านๆ มาก็พอแล้วเนอะ
สำรวจหนี้ของตัวเองก่อนเริ่มเก็บเงิน
ก่อนจะมีเงินเก็บสำคัญที่สุดคือเราต้องรู้ก่อนว่ามีหนี้เท่าไหร่ที่ต้องผ่อนทุกเดือน เช่น หนี้บัตรเครดิต หนี้ค่าผ่อนรถ หนี้บ้าน หนี้อื่นๆ แล้วมาวิเคราะห์ดูว่าหนี้ไหนที่ต้องจัดการเร่งด่วนแล้วจัดการให้จบๆ ไป
โดยวิธีคิดและจัดการหนี้คือจัดการหนี้ที่ก่อให้เกิดรายจ่ายเพิ่มเพิ่มก่อน ยกตัวอย่างเช่นเราต้องผ่อนบัตรเครดิต กับผ่อนรถทุกเดือน ซึ่งหนี้ที่มีโอ กาสเพิ่มรายจ่ายให้เราก็คือบัตรเครดิต
เพราะเราอาจจะจ่ายแต่ขั้นต่ำ หรือเอาบัตรไปรูดซื้อสินค้าบางอย่าง นั่นทำให้หนี้บัตรเครดิตแทบจะเป็นอมตะทำยังไงก็ฆ่ าไม่ต า ยขณะที่หนี้ผ่อนรถ ถ้าผ่อนตามกำหนดเดี๋ยวก็หมดเอง และไม่มีรายจ่ายงอ กมาจากหนี้ส่วนนี้
พอรู้แล้วว่าหนี้ไหนที่ก่อให้เกิดรายจ่ายก็พยายามกัดฟันจัดการไปก่อนให้จบๆ เป็บฃนใบๆ ไป จากนั้นค่อยเริ่มคิดเรื่องเงินเก็บก็ไม่สาย ปีนี้เก็บไม่ทันก็ไปเริ่มต้นใหม่ปีหน้าแค่อย่าสร้างหนี้เพิ่มก็พอ
ทำรายรับ – รายจ่ายให้เป็นนิสัย
การทำบัญชีรายรับรายจ่ายมีอยู่สองบัญชีหลักที่ควรทำคือ ‘รายรับ-รายจ่ายประจำเดือน’ และ ‘รายรับ-รายจ่ายประจำวัน’ โดยรายรับรายจ่ายประจำเดือนนั้นจะทำให้เราเห็นภาพกว้างว่าแต่ละเดือนเรามีค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายเป็นค่าอะไรบ้าง
จากนั้นเอารายจ่ายประจำเดือน มาดูว่ามีส่วนไหนที่สามารถตัดออ กได้ไหมถ้าไม่จำเป็น หรือมีรายจ่ายไหนที่กำลังจะเคลียร์หมดแล้ว เราจะวางแผนได้ดีขึ้นในการจัดการรายจ่ายประจำ
ส่วนรายจ่ายประจำวัน มีไว้สำหรับสำรวจตัวเองว่าแต่ละวันเราใช้เงินไปกับสิ่งไหน เพื่อที่จะเอามาวิเคราะห์ในทุกสิ้นเดือนว่า เราใช้เงินไปกับสิ่งที่จำเป็นหรือไม่จำเป็นแค่ไหน
บางครั้งการบอ กตัวเองว่ามื้อนี้กินบุฟเฟ่ต์แค่ 700 บาทครั้งเดียวไม่เป็นไร หรือซื้อเสื้อผ้าไป 2,000 บาทเดือนละครั้ง ก่อให้เกิดรายจ่ายน้อยกว่าการใช้จ่ายเล็กๆ น้อยๆ แต่จ่ายทุกวันเสียอีก ซึ่งถ้าเห็นว่าเราจ่ายเงินในแต่ละวันกับอะไรเราจะรู้ว่าควรตัดสิ่งใดออ กไป
กำหนดเป้าห ม ายด้วยการวางแผนการเงิน
การวางแผนการเงินเป็นสิ่งจำเป็นไม่แพ้การทำรายรับ-รายจ่าย เนื่องจากทำให้เราเห็นสถานะทางการเงินของตัวเองที่ชัดขึ้นตลอดทั้งปีการวางแผนการเงินคือ การกำหนดเป้าห ม ายของเราว่าปีนี้เราจะมีเงินเก็บเท่าไหร่ และจะไปสู่เงินเก็บนั้นด้วยวิธีไหนบ้าง จากนั้นค่อยมาลงรายละเอียดยิบย่อยเพิ่มเติมว่าจะไปสู่เป้าห ม ายด้วยวิธีไหน
สมมติเราตั้งเป้าว่าจะมีเงินเก็บ 50,000 บาทให้ได้ในปีนี้ก็จะรู้แล้วว่าแต่ละเดือนควรเก็บเงินเท่าไหร่บางคนใช้สูตรเก็บเงิน 10 เดือน อีก 2 เดือนเอาเงินที่ควรจะเก็บไปให้รางวัลตัวเองก็ได้
จากนั้นก็จะมาดูรายจ่ายในแต่ละเดือนว่าจะใช้เงินได้แค่ไหน ช่วงเดือนไหนสามารถไปเที่ยวหรือซื้อของที่ตัวเองอยากได้โดยที่ไม่กระทบแผนการเงิน การวางแผนจะทำให้เราไปสู่เป้าห ม ายได้ดีขึ้นชัดเจน เห็นอนาคตที่เราจะมีเงินเก็บ
นำเงิน 20 – 30% ของเงินเดือนฝากธนาคารทันที
หลายคน มีความคิดว่า ‘เงินเก็บ = เงินที่เหลือจากการใช้จ่ายแต่ละเดือน’ นั่นคือเหลือเท่าไหร่ค่อยเก็บ ซึ่งก็ดีที่แต่ละเดือนเรามีเงินเหลืออยู่บ้าง แต่มันไม่สม่ำเสมอและเราไม่สามารถบังคับตัวเองให้เก็บเงินได้เป็นก้อนได้มากกว่าการเอาเงินส่วนหนึ่งจากเงินเดือนไปฝากธนาคารทันทีที่เงินเดือนเข้าบัญชี เป็นการหักดิบบีบบังคับให้เราเก็บเงินนั่นเอง
การเก็บเงินด้วยวิธีนี้จะทำให้เงินของเรามีมูลค่ามากกว่าเหลือเท่าไหร่ค่อยเก็บ และเป็นการบังคับตัวเองในเรื่องการใช้จ่ายได้ดีกว่า ส่วนเงินเก็บนั้นขึ้นอยู่กับว่าเราไหวที่เท่าไหร่ 20 – 30% ของเงินเดือนก็ว่ากันไป
แล้วคุณจะเห็นว่าสิ้นปีคุณจะมีเงินเก็บมากกว่าปีก่อนๆ แน่นอน แม้จะแลกมาด้วยความสะดวกสบายในการจับจ่ายที่ลดลง แต่คุณจะเห็นผลตอบแทนในระยะยาวที่คุ้มค่า
ใช้บัตรเครดิตให้เป็น
บัตรเครดิตคือ กับดักของชนชั้นล่างและชนชั้นกลางที่เอาเงินในอนาคตมาใช้ก่อนเพื่อซื้อของที่อยากได้ แล้วก็ค่อยผ่อนขั้นต่ำโดยที่ระหว่างนั้นก็เผลอสร้างหนี้ขึ้น มาเรื่อยๆ โดยคิดแค่ว่าผ่อนขั้นต่ำได้ แต่พอผ่อนจริงๆ แล้วเงินต้นไม่ลด แถมหนี้ก็งอ กมาเรื่อยๆ ราวกับตัดหัวไฮดร้าที่ตัดยังไงก็ไม่หมด
ในความเป็นจริงแล้วการใช้บัตรเครดิตที่ถูกต้องคือใช้เท่าไหร่จ่ายกลับคืนไปเท่านั้นโดยที่เราไม่กระทบกับเงินสดที่มีไว้ใช้ในแต่ละเดือน การใช้บัตรเครดิตที่วางแผน มาดี
นอ กจากเราจะไม่เป็นหนี้แล้ว เรายังได้ประโยชน์จากสิทธิพิเศษของบัตรแต่ละใบที่คืนกำไรให้เราในอนาคต หากอยากมีเงินเก็บก็จัดการตัวเองเรื่องการใช้บัตรเครดิตให้เป็นก่อน
ลงทุนเพื่อเพิ่มมูลค่าให้เงินเก็บ
มีเงินเก็บในธนาคารก็ดี แต่จะไม่ดีเท่าไหร่ถ้าเก็บเอาไว้เฉยๆ เพื่อรอ กินดอ กเบี้ยเงินฝากประจำที่ก็น้อยยยยยยยยมาก การเก็บเงินที่ถูกวิธีคือ การเก็บเงินแล้วงอ กเงยเป็นกอบเป็นกำ ดังนั้นลองศึกษาเรืองการลงทุนเพิ่มเติม การลงทุนในที่นี้ไม่ได้ห ม ายถึงให้คุณเอาเงินไปซื้อหุ้น หรือทุ่มกับการเก็งกำไรอสังหาริมทรัพย์ อย่าเพิ่งเปรี้ยวขนาดนั้น
แต่เป็นการลงทุนกับสิ่งที่มีความเสี่ยงพอรับได้ และได้ผลตอบแทนดีกว่าดอ กเบี้ยเงินฝากเช่นเข้าโครงการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่บริษัทจัดให้, ซื้อ กองทุน RMF/LMF หรือซื้อประกันแบบออมเงิน
การลงทุนเหล่านี้นอ กจากจะมีความเสี่ยงไม่มากแล้ว ยังมีผลประโยชน์คุ้มครองเช่น ได้ทุนประกันชีวิต หรือ การลดหย่อนภาษี หากคุณเอาเงินไปดองในธนาคารเฉยๆ นอ กจากมูลค่าจะไม่เพิ่มแล้วยังลดลงเพราะเงินเฟ้ออีกด้วย
ประหยัดในสิ่งที่จำเป็น
คำว่า ‘ประหยัด’ ในที่นี้ไม่ได้ห ม ายถึงให้คุณใช้ชีวิตอย่างลำบากอดมื้อ กิน มื้อเพื่อเก็บออม แบบนั้นไม่แนะนำ แต่คำว่าประหยัดห ม ายถึงจับจ่ายเท่าที่จำเป็น คำว่า #ของมันต้องมี เนี้ย เป็นวลีที่ไม่ควรไปเชื่อคำยุเด็ดขาด
เพราะนอ กจากคุณจะมี ‘ของ’ เพิ่มเข้ามาในชีวิตแล้ว คุณก็จะไม่ได้อะไรเพิ่มอีกเลยที่ก่อให้เกิดมูลค่า ดังนั้นเวลาจะซื้ออะไรลองมองย้อนดูก่อนว่าซื้อแล้วเราจะเดือดร้อนไหม หนี้เก่าหมดหรือยังจะสร้างหนี้ใหม่น่ะ