ในภาวะที่เศรษฐกิจไทยยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ ประกอบกับการเมืองไทยยังมีความไม่แน่นอนสูง คนไทยจำนวน มากจึงเลือ กที่จะ “ประหยัด” ใช้จ่ายเท่าที่จำเป็น หลายคนบ่นเริ่มชักหน้าไม่ถึงหลัง ขณะที่หลายคนอาจจะยังอยู่สบาย แต่ก็รู้สึกมีความ “ไม่มั่นคง” ทางการเงิน หากเกิดป่วยไข้ไม่สบาย ตกงาน หรือเกิดสถานการณ์ฉุ п เ ฉิ น
วางแผนทางการเงิน
ในแต่ละเดือน ลองมาวางแผนการใช้จ่ายให้เห ม าะสมกับรายรับ โดยพิจารณาว่าค่าใช้จ่ายที่จำเป็น แล้วกันรายรับส่วนหนึ่งไว้สำหรับเงินออมและค่าใช้จ่ายที่จำเป็นก่อน
หลังจากนั้น หากเหลือค่อยกันเงินอีกส่วนสำหรับของที่อยากได้หรือทริปสำหรับท่องเที่ยวเที่ยวประจำปี แต่ทำแล้วหากหากพบว่ารายรับไม่เพียงพอต่อ การใช้่จ่าย ก็ควรหาทางลดรายจ่ายหรือหารายได้ จากทางอื่นเพิ่มเติม
เตรียมรับมือ กับความไม่แน่นอน
จากข้อแรกที่เแนะให้กันเงินรายได้ส่วนหนึ่งไว้เก็บออม หากถามต่อว่า “เงินออมเผื่อไว้ใช้ในยามฉุ п เ ฉิ น”ที่ควรมีไว้ควรเป็นเท่าไร คำตอบคือ เราควรมีเงินออมน้อยที่สุด ที่สามารถรับมือ กับรายจ่ายประจำของเราได้อย่างน้อย 6 เดือน
นอ กจากนั้น ลองตรวจสอบสวัสดิการและประกันสุขภาพที่มีอยู่ว่าครอบคลุมแค่ไหน หากไม่เพียงพอ การทำประกันสุขภาพเพิ่มเติมก็อาจเป็นอีกทางเลือ กหนึ่งสำหรับรับมือภาวะฉุ п เ ฉิ นทางการเงิน
พิจารณาให้รอบคอบก่อนก่อหนี้
การก่อหนี้ไม่ใช่สิ่งที่น่ารังเกียจ หรือไม่ควรทำ แต่จะต้องทำหลังจากมีการพิจารณาเรื่องความไม่แน่นอนของรายได้ในอนาคต ก่อนตัดสินใจกู้ยืมเงินทุกครั้ง รวมทั้งควรมีการบริหารจัดการที่ดี และเลือ กก่อหนี้ที่มีประโยชน์
เช่น การกู้ซื้อบ้านหรือ กู้เพื่อประกอบอาชีพ อย่างไรก็ตาม ควรประเมินความสามารถในการชำระคืนของเราก่อน ที่จะตัดสินใจเป็นนี้
โดยภาระการชำระคืนเงินต้นและดอ กเบี้ยของหนี้ทุกประเภทในแต่ละเดือนรวมกัน ไม่ควรเกิน 1 ใน 3 ของรายได้ต่อเดือน
และหากเริ่มชำระคืนไม่ได้ อย่าคิดกู้หนี้ใหม่มาโปะหนี้เก่าเด็ดขาด ควรหารือ กับเจ้าหนี้เพื่อหาทางออ กร่วมกันในการปรับโครงสร้างหนี้จะดีกว่า
ยับยั้งชั่งใจ เวลาใช้จ่ายโดยไม่เห็น “เงิน”
ไม่ว่าจะเป็นการรูด “บัตรเครดิต” หรือ บัตรสินเชื่อส่วนบุคคล ควรใช้อย่างมีวินัย จัดเก็บใบเสร็จเพื่อตรวจสอบและจ่ายเงินให้ตรงตามกำหนด เพื่อจะได้ไม่ต้องเสียดอ กเบี้ยโดยไม่จำเป็น
และที่อีกอย่างที่ต้องระวังคือ การซื้อของออนไลน์ เพราะหลายคนแค่นั่งรอเพื่อนเพลินๆ ไม่ถึงชั่วโมง เผลอชอปออนไลน์ไปแล้วกว่า 10 รายการ ยิ่งระบบออ กแบบมาให้กดง่าย จ่ายเงินผ่านแอพพลิเคชั่นทั้งหลาย ยิ่งจ่ายเพลิน
ลงทุนเพิ่ม…ให้เงินทำงาน
หากมีเงินออมมากกว่าค่าใช้จ่าย 6 เดือน ลองนำสินทรัพย์ที่มีอยู่ไปลงทุนให้งอ กเงยขึ้น เช่น ฝากธนาคารระยะยาวที่ได้ดอ กเบี้ยมากกกว่าออ กมทรัพย์ ซื้อพันธบัตร ซื้อประกันสะสมทรัพย์ ซื้อ กองทุนรวม ฯลฯ
ทั้งนี้ ต้องศึกษาและทำความเข้าใจรูปแบบการออม และความเสี่ยงที่เราสามารถรับได้จากการลงทุนให้ดี รวมทั้งติดตามข่าวภาวะเศรษฐกิจที่อาจส่งผลกระทบ เช่น ภาวะเงินเฟ้อ อัตราดอ กเบี้ยเพื่อประกอบการตัดสินใจ