ในช่วงชีวิตของคนเราไม่ว่าจะเ พ ศหรือวัยใดล้วนต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับการกู้ยืมเงินกันบ้างไม่มากก็น้อย บ้างเป็นคนกู้ บ้างเป็นคนให้กู้ ดังนั้นเพื่อให้เกิดความรัดกุมไม่เสียเปรียบซึ่งกันและกัน เรามาทำความเข้าใจกันก่อนดีกว่าว่าข้อ กฎห ม ายที่เกี่ยวข้องกับการกู้ยืมเงินนั้นอะไรบ้าง ซึ่งโดยหลักแล้วก็มีอยู่ 4 ประการด้วยกัน คือ
1. การกู้ยืมเงินเกินกว่า 2,000 บาทขึ้นไปต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ
การกู้ยืมเงินที่เกินกว่า 2,000 บาท ขึ้นแล้วไปแล้วไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ กฎห ม ายเขียนผลร้ า ยเอาไว้อย่างชัดเจนว่าผู้ให้กู้นั้นไม่สามารถฟ้องร้องบังคับให้ผู้กู้ชำระหนี้แก่ตนได้ แม้ว่าหนี้นั้นจะชอบด้วยกฎห ม ายก็ตาม แต่ทั้งนี้ขอให้สังเกตนิดนึงว่าเฉพาะการกู้ยืมเงินที่เกินกว่า 2,000 บาท ขึ้นไปเท่านั้นที่กฎห ม ายต้องการหลักฐานเป็นหนังสือ การกู้ยืมเงินที่น้อยกว่า 2,000 หรือ กู้กันเป็นเงิน 2,000 บาทพอดี กฎห ม ายไม่ได้บังคับเอาไว้แต่อย่างใด
2. หลักฐานเป็นหนังสืออาจเป็นเอ กส า รอะไรก็ได้ และอาจเป็นเอ กส า รหลายๆฉบับประกอบกันก็ได้
หลักฐานเป็นหนังสือนั้นต้องมีข้อความที่อ่านแล้วได้ใจความว่า “ผู้กู้ได้รับเงินไปและจะใช้คืนให้” ไม่จำเป็นต้องมีข้อความชัดเจนว่ามีการกู้ยืมเงินกัน และก็ไม่จำเป็นที่ต้องทำในรูปแบบของสัญญาเสมอไป อาจจะเป็นเอ กส า รหรือจดห ม ายอะไรก็ได้ที่อ่านแล้วได้ใจความว่าผู้กู้รับเงินไปแล้วและจะใช้คืนให้ก็เพียงพอ
นอ กจากนี้ หลักฐานเป็นหนังสือไม่จำเป็นต้องเป็นเอ กส า รเพียง 1 ฉบับ อาจเป็นเอ กส า รหลายฉบับมาประกอบกันแล้วอ่านได้ใจความถึงการกู้ยืมเงินกันก็ได้
3. ผู้กู้ต้องลงลายมือชื่อในหลักฐานเป็นหนังสือดังกล่าว
การกู้ยืมเงินที่เกินกว่า 2,000 บาทขึ้นไป นอ กจากจะต้องทำหลักฐานเป็นหนังสือดังกล่าวมาแล้ว กฎห ม ายยังกำหนดให้ผู้กู้ต้องลงลายมือชื่อในหลักฐานเป็นหนังสือดังกล่าวด้วย มิฉะนั้นผู้ให้กู้ไม่อาจฟ้องร้องบังให้ผู้กู้ชำระหนี้ได้ เพราะกฎห ม ายถือว่าหลักฐานเป็นหนังสือยังไม่สมบูรณ์ โดยการลงลายมือชื่อนี้อาจจะลงเป็นชื่อจริง ชื่อเล่น หรือเขียนอย่างไรก็ได้เพียงแต่ขอให้ผู้กู้ลงลายมือชื่อนั้นด้วยตนเอง
อย่างไรก็ตาม ขอให้สังเกตว่ากฎห ม ายบังคับเฉพาะผู้กู้เท่านั้นที่ต้องลงลายมือชื่อ ส่วนผู้ให้กู้จะลงลายมือชื่อลงในหลักฐานเป็นหนังสือหรือไม่ก็ได้ ไม่มีผลในทางกฎห ม ายแต่อย่างใด
4. หลักฐานเป็นหนังสือจะทำขึ้นขณะกู้หรือทำขึ้นภายหลังการกู้ก็ได้
หลักฐานเป็นหนังสือ กฎห ม ายไม่ได้กำหนดเอาไว้โดยตรงว่าควรมีไว้เมื่อใดหรือจัดทำขึ้นตอนไหน ดังนั้น หลักฐานเป็นหนังสือจึงไม่จำเป็นต้องมีในขณะทำการกู้ยืมเงินกันเสมอไป อาจมีขึ้นก่อนหรือภายหลังการกู้ยืมเงินก็ได้ เพียงแต่จะต้องมีขึ้นก่อนที่จะดำเนินการฟ้องร้องบังคับชำระหนี้ตามกฎห ม าย
โดยสรุปก็คือ หากจะทำการกู้ยืมเงินกัน ขอให้พิจารณาเสียก่อนว่ากู้ยืมเงินกันเป็นเงินเท่าใด หากกู้ยืมเงินกันเกินกว่า 2,000 บาท ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือเสมอ โดยแนะนำว่าให้ทำเป็นสัญญากู้กันไว้จะสะดวกกว่าโดยให้ผู้กู้ต้องลงลายมือชื่อในสัญญานั้น ถ้าจะให้ดีควรมีพยานลงลายมือชื่อรับรู้การกู้ยืมเงินนั้นในสัญญาไว้ด้วยก็ดี รวมถึงควรแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้กู้เอาไว้ด้วย เพื่อที่หากต้องการฟ้องคดีบังคับชำระหนี้ก็สามารถทำได้โดยง่าย
ประมวลกฎห ม ายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 653 “การกู้ยืมเงินกว่าสองพันบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องบังคับคดีหาได้ไม่
ในการกู้ยืมเงิน มีหลักฐานเป็นหนังสือนั้น ท่านว่าจะนำสืบการใช้เงินได้ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดง หรือเอ กส า รอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินนั้นได้เวนคืนแล้ว หรือได้แ ท งเพิกถอนลงในเอ กส า รนั้นแล้ว”