คนทั่วไปชอบคิดว่าคนที่หาเงินได้มากกว่า จะมั่งคั่งร่ำรวยกว่าคนที่หาเงินได้น้อยกว่า ความคิดนี้ดูเหมือนจะจริง แต่ก็ไม่แน่เสมอไป การที่ใช้จำนวนเงินที่หามาได้เป็นตัววัดความมั่งคั่ง
ดูจะมีจุดอ่อนหลายจุด เพราะคนที่มีเงินเดือนเยอะแต่ก็ใช้จ่ายเยอะด้วย เงินก็ไม่เหลือ คนที่หาเงินได้เยอะ แต่มีหนี้สินภาระมากมาย มีบ้านหลังใหญ่ต้องผ่อนส่ง
มีรถคันหรูที่ยังต้องชำระค่าผ่อนรายเดือน สิ้นเดือนก็คงมีเงินเหลือไม่มาก อย่างนี้คงไม่นับว่าเป็นคนร่ำรวย การที่ทุกคนต่างหาเงินเป็นบ้าเป็นหลัง
เพราะเชื่อว่า เงิน คือสัญลักษณ์ของความมั่งคั่ง บางคนยอมเลือ กเรียนในสาขาที่ตัวเองไม่ชอบ ทนทำงานที่ตัวเองไม่ได้รัก เพราะจะได้เงินที่มากกว่า และที่เ ล วร้ า ยกว่านั้นคือ บางคนยอมทำเรื่องไม่ถูกต้อง เพื่อแลกกับเงิน
ปัญหาทางการเงิน มีจุดเริ่มต้นจากความอยากได้ อยากมี ที่ไม่รู้จักพอ ยิ่งมีเยอะก็ยิ่งจ่ายเยอะ เพราะระดับชั้นทางสังคม มีสูงขึ้นเป็นขั้นกว่าตลอดไป มีเงิน มากเท่าไหร่ก็ไม่รู้จักพอ
นักเศรษฐศาสตร์ชื่อดัง ชีริล นอร์ทโคท พาร์กินสัน ได้กล่าวว่า ความต้องการทรัพยากรของมนุษย์ จะเพิ่มขึ้นตามจำนวนทรัพยากรที่มีอยู่ เมื่อนำมาใช้กับเงิน
ก็จะกล่าวได้ว่า มนุษย์มีความสามารถในการขยายการใช้จ่ายให้เทียบเท่ากับรายได้อยู่เสมอ หรือสรุปสั้นๆว่า ยิ่งหาเงินได้มาก ก็จะใช้จ่ายมาก
ดังนั้นคนที่มีเงินเดือนสูงๆ แล้วก็ขยับขยายบ้านให้หลังให้ขึ้น เปลี่ยนรถยนต์เป็นคันที่มีราคาแพงขึ้น ก็เป็นธรรมชาติของมนุษย์ ใครๆก็เป็นกันทั้งนั้น แต่ลืมคิดไปว่าบ้ามี่ใหญ่ขึ้น
รถที่แพงขึ้นก็จะมีค่าใช้จ่าย ค่าบำรุงรักษาที่แพงขึ้นไปด้วย เงินเดือนที่แพงขึ้น ก็ถูกนำไปใช้จ่ายกับความใหญ่โตทั้งหลายนี้เป็นเงาตามตัวไปด้วย
เมื่อทำแล้วหน้าตาอาจใหญ่ขึ้น แต่เงินในกระเป๋าก็ยังคงเหลือแค่พอใช้พอจ่ายเท่าเดิม ไม่มีเงินเก็บเหมือนเดิม ในขณะที่คนเงินเดือนน้อยกว่า หาได้น้อยกว่า
แต่ยังคงอยู่บ้านหลังเล็ก รถยนต์คันเก่าเหมือนเดิม ไม่มีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่ม ก็จะมีเงินเก็บ แม้จะเก็บได้เดือนละไม่มาก แต่ทำสม่ำเสมอ
ท้ายที่สุดก็จะมีเงินก้อนใหญ่ขึ้น เมื่อมีเงิน มากพอ แทนที่จะไปขยับขยายเป็นบ้านหลังใหม่ แต่กลับนำเงินนี้ไปลงทุน ก็จะทำให้มีเงินไหลเข้ามาอีกช่องทางหนึ่ง
คนที่มีเงิน มากก็จะคิดว่าตัวเองมีกำลังซื้อ มีอำนาจในการจับจ่าย ก็จ่ายแหลกเลย และห ล งคิดไปว่าตัวเองเป็นคน มั่งคั่งร่ำรวย จริงๆแล้วความมั่งคั่งเป็นเรื่องของการสะสม
ไม่ได้วัดจากเงินที่หาได้ แต่วัดกันที่เงินเหลือหรือเงินสะสม เงินเป็นสิ่งที่ถูกโยกย้ายถ่ายเทอยู่ตลอดเวลา มีทั้งไหลเข้าและไหลออ ก คนที่กักเงินไว้กับตัวเองไม่ได้
แม้จะหาเงินได้มาก ก็จะไม่มีทางมั่งคั่งร่ำรวย คนที่รู้จักเก็บเงิน แม้หาได้น้อยกว่า แต่บริหารจัดการเป็น มีวินัย รู้จักยับยั้งชั่งใจ ก็จะร่ำรวยกว่าในท้ายที่สุด
จากที่กล่าวข้างต้น สรุปได้ว่า จำนวนเงินที่หามาได้ หรือจำเงินที่ได้รับในแต่ละเดือน จะนำมาใช้จัดระดับความมั่งคั่งร่ำรวยไม่ได้ เพราะเงินที่หามาได้เป็นแค่ส่วนแรก
คือส่วนที่เงินไหลเข้า ถ้าจะวัดกันจริงๆ ต้องนำส่วนที่ไหลออ กมาหักล้างเสียก่อนจึงจะเปรียบเทียบกันได้ คนที่หาได้มาก ก็มักจะใช้จ่ายออ กไปมาก ตามกฎของพาร์กินสันที่ว่า
ความต้องการทรัพยากรจะเพิ่มตามจำนวนทรัพยากรที่มีอยู่ เมื่อรู้ว่าธรรมชาติของมนุษย์เป็นเช่นนี้ ก็ต้องฝืนธรรมชาตินี้ให้ได้ หาได้มาก
แล้วใช้น้อยลงหรือพยายามใช้ให้เท่าเดิม ไม่ต้องไปขยับขยายข้าวของให้ใหญ่ตามเงินเดือน เมื่อทำได้ดังนี้ ก็จะมีโอ กาสมั่งคั่งร่ำรวยในวันหน้า