9 วิธีหลีกเลี่ยงเงินหมดตอนปลายเดือน

รายได้ก็จะแบ่งออ กเป็นรายได้หลักกับรายได้เสริม ส่วนรายจ่ายก็มีทั้งรายจ่ายคงที่กับรายจ่ายผันแปร เราจะรู้รายได้หลักหลังจากหักภาษี เงินสมทบ ประกันสังคม ประกันชีวิต ทุนสำรองเลี้ยงชีพ รวมๆ ก็เกือบ 5%

ส่วนรายได้เสริมมาจากหลากหลายทางไม่ว่าจะเป็นขายตรง ขายออนไลน์ รับงานนอ ก ออ กอีเว้นท์ ฯลฯ ขึ้นอยู่กับแต่ละคน แต่ละเดือน

พอหัน มาดูอีกฝั่ง รายจ่ายหลักก็มีค่าผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ผ่อนเฟอร์ฯ ผ่อนคอมฯ ผ่อน มือถือ ส า รพัดผ่อนของแต่ละคนจะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับระดับของกิ เลส

ส่วนรายจ่ายผันแปรก็จะเป็นพวกปาร์ตี้ วันเกิด งานศ พ งานบวช งานแต่ง งานเลี้ยงรุ่น ฯลฯ เมื่อวิเคราะห์เสร็จสรรพก็พบว่าเงิน มันเฟ้อซะแล้ว เพราะค่าใช้จ่ายมัน มากกว่ารายรับ

วิธีที่ 1 ต้องมีสติในการใช้ชีวิตให้มาก อย่าไปทุ่มทุนตามดารา เน็ตไอดอล แฟชั่นนิสต้า

วิธีที่ 2 ตามประกบการเปลี่ยนแปลงของรายรับ-รายจ่ายอย่าให้คลาดสายตา รายได้หลักเพิ่มขึ้นกี่เปอร์เซ็นต์ รายได้เสริมเพิ่มหรือลดกี่เปอร์เซ็นต์ รายจ่ายคงที่ปลดไปกี่รายการแล้ว รายจ่ายฝันแปรเพิ่มขึ้นกี่งาน ถ้าติดตามตลอด จะทำให้รู้ว่ารายการไหนควรงด รายการไหนจ่ายน้อยหน่อย รายได้เสริมตรงไหนที่ไปได้ดี เพิ่มรายรับ ลดรายจ่าย แบบนี้ก็จะเบาลงมาอีกหน่อย

วิธีที่ 3 เมื่อมีรายได้มากขึ้น พอจะมีเงินใช้จ่ายได้ ก็ไม่ว่ากัน ออ กไปหาประสบการณ์ชีวิต ท่องเที่ยว ดีกว่าไปลงกับสิ่งของที่ไม่จำเป็น เพราะประสบการณ์คือความทรงจำที่ดี มันจะอยู่กับเราไปตลอดชีวิต แต่สิ่งของซื้อมา สักวันก็เอ้าท์ รกบ้าน เสียค่าซ่อมแซม เป็นภาระเข้าไปอีก

วิธีที่ 4 ออ กไปแฮงค์เอ้าท์กับเพื่อนที่มีรายได้ รสนิยมพอ ๆ กัน จะช่วยให้เราไม่ต้องจ่ายแพงเกินฐานะ เพราะถ้ากินหรู ๆ กับเพื่อนไฮ ๆ เค้าน่ะจ่ายได้สบาย แต่เราจะหมดตัวซะก่อน เลือ กไปกับเพื่อนที่สูสีกับเรา เที่ยวสนุกแถมตังค์ยังเหลือด้วย

วิธีที่ 5 เค้าบอ กว่า ยามใดที่ชีวิตรุ่งโรจน์ ได้รับการโปรโมท ตำแหน่งสูงขึ้น เงินเดือนเพิ่มขึ้น ให้คงไลฟ์สไตล์ไว้เหมือนเดิม เอาเงินที่เพิ่มแยกบัญชีไปเลย แล้วลืมมันซะ รับรองรวยแน่

วิธีที่ 6 ให้วางแผนชีวิตดี ๆ ตั้งเป้าให้ชัดเจนไว้เลยว่า 40 จะทำอะไร 50 จะเป็นยังไง เกษียณแล้วจะทำอะไร จะได้ประหยัดและสำรองทุนไว้ใช้ในแต่ละช่วงอายุ ตามแผนที่วางไว้ ที่สำคัญต้องมีวินัยต่อตัวเอง ซื่อตรงต่อเป้าห ม าย

วิธีที่ 7 เบสิคสุด ไม่สร้างหนี้ใหม่ ลดหนี้เก่า อันนี้รัฐบาลท่านรณรงค์มาตลอด อันไหนยังใช้ได้อยู่ก็ใช้ไป ดูแลของให้ดี ๆ มันก็ใช้ได้อีกนาน

วิธีที่ 8 เค้ามองว่ามันเป็นธรรมดาของมนุษย์ที่จะต้องปรับปรุงตัวเองให้ทันสมัย เสื้อผ้า หน้า ผม ไลฟ์สไตล์ ด้วยหน้าที่การงานหรือสังคม มันก็จำเป็นต้องลงทุน แต่ค่อยๆ ปรับปรุงไป อย่าไปลงทุนตูมเดียว แต่ค่อยๆ ใช้จ่ายอย่างรอบคอบ มันก็จะสมดุลย์ทั้งสังคมและส่วนตัว

มาถึงวิธีสุดท้าย อย่าเอาวัตถุมาเป็นตัววัดความสำเร็จ เพราะมันจะไม่มีที่สิ้นสุด การขับรถเบนท์เลย์ทะเบียนเลขตอง เลขเรียง ไม่ใช่ดัชนีชี้วัดความสำเร็จของทุกคน ตั้งความสำเร็จของตัวเอง ไม่ต้องไปสนใจในวัตถุ เพราะมันคือหายนะและหลุมดำของชีวิต

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *