คนเราทุกคนย่อมได้รับเงินไม่ว่าจะเงินประจำวัน เงินประจำสัปดาห์หรือเงินจำเดือน ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ซึ่งแน่นอนว่าในแต่ละวันเราจะต้องมีการจับจ่ายใช้สอยเงินบ้างไม่มากก็น้อย
ขึ้นอยู่กับการดำเนินชีวิตของแต่ละคน บางคนอาจจะหาเงินได้มาก มีการเข้าสังคม มีเพื่อนฝูงมากก็ย่อมใช้จ่ายเงิน มาก บางคนหาได้มากแต่ก็รู้จักประหยัดก็ใช้เงินน้อยหน่อย
บางคนอาจจะหาเงินได้น้อยก็อาจจะใช้เงินเท่าที่เรามี แต่ก็มีบ้างในบางคนที่หาเงินได้น้อยแต่มีความจำเป็นหรือไม่จำเป็น ที่จะต้องใช้เงิน มากซึ่งก็ต้องมีวิธีการกันไปว่าจะหาเงินเพิ่มหรือจะเป็นหนี้ ก็แล้วแต่ละคนจะเลือ ก
รายรับ – รายจ่าย ทำบัญชีรายรับหรือบัญชีเงินได้
ไม่ว่าจะได้เงิน มาจากทางไหนก็ตาม ทั้งรายได้จากงานที่ทำประจำ รายได้จากงานเสริม รายได้จากการเป็นนายหน้าขายที่ดินหรือนายหน้าขายของ
รายได้จากการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ต่าง ๆ หรือรายได้จากการได้คืนจากลูกหนี้ที่ยืมไป หรือรายได้จากการปันผลกำไรต่าง ๆ เป็นต้น ให้คิดรวมกันให้หมด
และต้องทำบัญชีรายจ่าย คิดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ให้ครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นค่าเช่าบ้าน ค่าน้ำค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าน้ำมันรถ ค่าผ่อนบ้าน ค่าผ่อนรถยนต์
ค่าผ่อนรถมอเตอร์ไซค์ ค่าบัตรเครดิต ค่ากับข้าว ค่ารักษาพยาบาล เป็นต้น แล้วนำมาบวกลบกันดูว่าในแต่ละเดือนรายรับหรือรายจ่ายที่มากกว่ากัน
วางแผนการเงิน
การวางแผนการเงินของตัวเองและครอบครัวถือเป็นเรื่องสำคัญ เพราะเกี่ยวเนื่องกับ รายรับ-รายจ่าย การลงทุน การออม การจ่ายค่าภาษี การจัดการหนี้สิน
และการจัดการการลงทุน และการจัดการกับความเสี่ยงต่างที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต โดยต้องมีการตั้งเป้าห ม ายของการวางแผนทางการเงินที่ชัดเจน
และเมื่อเราลองบริหารเงินตามแผนที่วางไว้แล้ว หากคำนวณดูแล้วยังไม่ใกล้เคียงกับเป้าห ม ายที่เราวางไว้ ก็ต้องกลับมาปรับปรุงแผนการบริหารการเงินใหม่ ให้เห ม าะสมและจะได้ใกล้เคียงหรือบรรลุเป้าห ม ายทางการเงินที่เราวางไว้ให้ได้
ตัดส่วนเกิน
การตัดรายจ่ายส่วนเกินที่ไม่จำเป็นออ กไปก็ถือเป็นการเพิ่มรายรับอีกทางหนึ่ง การลดการซื้อของสิ้นเปลือง เช่น กระเป๋า เสื้อผ้าแฟชั่น เครื่องสำอาง
หรือเทคโนโลยีทั้งหลายที่มักจะผลิตรุ่นใหม่ ๆ อยู่เสมอ ซึ่งเราไม่จำเป็นต้องตามแฟชั่น มากนัก หรือของบางอย่างที่ใช้แทนก็ได้ก็ไม่ควรที่จะซื้อใหม่ให้ใช้ของเดิมไปก่อน เมื่อของเดิมใช้ไม่ได้แล้วจึงซื้อใหม่
แบ่งเงินออม
การแบ่งเงินออมที่ดีควรแบ่งให้ได้อย่างน้อย 3 บัญชี บัญชีแรก ออมเงินเพื่อใช้จ่ายในยามฉุ п เ ฉิ น บัญชีที่สอง เพื่อ การออมเงินจริง ๆ บัญชีสุดท้าย ออมเงินเพื่อ การลงทุนในอนาคต
โดยเงินที่จะนำมาออมก็เก็บมาจากรายได้ทั้งหมดในแต่ละเดือนคิดเป็นเท่าไหร่ให้หัก 10 เปอร์เซ็นต์เพื่อออม หรือ เวลาซื้อของในแต่ละอย่างจะต้องบวกไปอีก 10 เปอร์เซ็นต์แล้วนำ 10เปอร์เซ็นต์นั้น มาออม ซึ่งต้องมีวินัยมาก ๆ แต่ถ้าทำได้จะดีมาก
นำเงิน มาลงทุน
เวลาจะนำเงิน มาลงทุนให้คิดเสมอว่าเงินที่นำมาลงทุนต้องเป็นเงินเย็น เงินเย็นคืออะไร เงินเย็น คือ เงินที่นำมาใช้จ่ายหรือลงทุนอย่างอื่นได้โดยไม่เดือนร้อนต่อ การดำเนินชีวิต หรือ ต้องไม่กู้หนี้ยืมสิน มาลงทุน
เพราะทุก ๆ การลงทุนย่อมมีความเสี่ยง เราก็ไม่รู้ว่าการลงทุนไปแล้วจะได้กำไรหรือขาดทุน เพราะฉะนั้น การไม่เป็นหนี้เป็นลาภอันประเสริฐนะคะ และการลงทุนก็มีอยู่หลายประเภทด้วยกัน เช่น ตราส า รหนี้ หุ้น กองทุนรวม เงินฝาก เป็นต้น
ประหยัดค่าภาษี
วางแผนการลดหย่อนภาษีให้ดีว่าวิธีการใดบ้างที่ช่วยในการลดหย่อนภาษีได้ เช่น วิธีง่าย ๆ ก็ ได้แก่ การสรรหาการลดหย่อนภาษี เช่น ดอ กเบี้ยเงินกู้ซื้อบ้าน ดอ กเบี้ยเงินกู้ซื้อรถยนต์
เงินบริจาคการกุศล ค่าเลี้ยงดูบิดา-มารดา ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ค่าเลี้ยงดูบุตร ค่าประกันชีวิต เงินลงทุนเพื่อสนับสนุนการออมและเงินลงทุนในกองทุนเพื่อ การเลี้ยงชีพเป็นต้น แต่ไม่ใช่การเลี่ยงไม่จ่ายภาษีนะคะ อันนี้ไม่ดีนะ
เงินใช้ในวัยเกษียณ
ให้คำนวณดูว่าอยากจะเกษียณอายุตอนอายุเท่าไหร่ อยากมีเงินไว้ใช้เดือนละเท่าไหร่ ให้ลองเอาเงินเดือน ๆ สุดท้ายมา หาร 2 นั่นคือตัวเลขค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนหลังเกษียณอายุ
และถ้าอยากจะรู้ว่าเงินออมที่มีพอที่จะใช้ในอนาคตหรือไม่ให้เอา 1 หาร 10 คูณด้วยอายุปัจจุบันและคูณรายได้ตลอดทั้งปี หากมีเงินออมน้อยกว่าจำนวนที่คำนวณได้ ก็จะต้องเก็บออมมากขึ้นจนกว่าที่คาดว่าจะพอใช้
ในเมื่อเงินที่มีอยู่มีอยู่อย่างจำกัด แต่ทว่าความต้องการของคนเรานั้น มักจะมีอยู่อย่างไม่จำกัดเสมอ การบริหารการเงินให้มีสภาพคล่องในแต่ละเดือนไม่ให้ฝืดเคืองก่อนถึงสิ้นเดือนเป็นสิ่งจำเป็น
และถ้าหากเราบริหารการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้วก็จะสามารถทำให้เรามีเงินเหลือเก็บออมไว้เผื่อใช้ในอนาคตได้ เพราะอะไร ๆ ในชีวิตย่อมไม่แน่นอนเสมอไป
และการลงทุนทำเงินให้งอ กเงยเป็นเงินก็จะทำให้เราเหนื่อยน้อยลงด้วย แต่ก็จะไม่ลืมว่าทุกการลงทุน มีความเสี่ยงเสมอ ต้องศึกษาข้อมูลและแนวโน้มการได้กำไรหรือขาดทุนให้ละเอียดรอบคอบก่อนการตัดสินใจลงทุน