ทำไงดี เงินเดือนเยอะ แต่ไม่มีเงินเก็บ

หลายคนสงสัยว่า เงินเดือนเราก็มากกว่าคนอื่น แต่ทำไมสภาวะ การเงิน ตกต่ำ ไม่มีเงินเก็บสักที? ทำไมบางคนเงินเดือนน้อยกว่าแต่มีเงินเก็บเป็นแสนๆแล้ว?

อยากทำงานที่เงินเดือนเยอะกว่านี้จัง ถ้า เงินเดือนเยอะ กว่านี้คงได้มีเงินเก็บกันบ้าง แต่งานก็หายากซะเหลือเกิน หรือจะต้องทำโอที

หรือจะต้องหาลำไพ่พิเศษ เฮ้อ ทำไงดีอยากมีภาวะการเงินดีๆ มีเงิน มีทองกับเขาสักทีคุณคงเคย หรือ กำลังประสบภาวะปัญหานี้ และเกิดคำถามคล้ายๆกันใช่หรือไม่

รู้หรือไม่คะว่า เมื่อเรามีรายได้เยอะ ธรรมชาติของมนุษย์เงินเดือนทั่วไปจะคิดว่าตัวเองมีกำลังจ่ายมาก คิดง่ายๆอย่างนี้นะคะ สมมุติเงินเดือนคุณ 30,000 บาท

เมื่อคุณจะซื้อรถสักคัน ราคาผ่อนที่ประมาณ 8,000 บาทต่อเดือน คนทั่วไปมักจะคิดว่า เอาน่า เงินเดือนตั้งสามหมื่น มีเหลือใช้อีกตั้งเยอะ

แล้วทีนี้การเงินส่วนตัวคุณก็มีรายจ่ายประจำก้อนหนึ่งโผล่ขึ้น มาแล้ว ไม่กี่วันต่อมาเมื่อคุณไปเดินห้าง คุณเห็นนาฬิกาสักเรือนที่ถูกใจ

แต่ก็แพงแสนแพง เรือนละหลายหมื่น แต่คุณก็มานึกได้ว่า เฮ้ย! เงินเดือนเราตั้งสามหมื่น มีกำลังซื้ออยู่แล้ว รูดบัตรเครดิตเอา แล้วค่อยๆผ่อนไปก็ได้ ยังไงเงินเดือนก็พอ

หลังจากนั้นเมื่อคุณเริ่มทำบ่อยขึ้น มันก็จะวนเวียนจนเป็นนิสัย คุณจะรู้สึกว่ามีกำลังทรัพย์เพียงพอเสมอ เพราะคุณจะนึกถึงแต่ตัวเลขเงินเดือนของคุณ คือ 30,000 แต่มักจะมองข้ามรายจ่ายยิบย่อยไป

ในขณะที่คนเงินเดือนน้อย(แต่มีเงินเก็บ)บางคน สมมุติเงินเดือน 10,000 บาท เมื่อจะซื้ออะไรสักอย่างที่มีราคาแพง พอนึกถึงการเงิน หรือตัวเลขรายได้ของตัวเอง

มักจะชั่งใจก่อน และคิดว่าถึงแม้จะผ่อนเอา ก็ไม่มีกำลังจ่ายในแต่ละเดือนอยู่ดี แล้วก็คิดได้ว่า เฮ้อ ยังไม่ซื้อดีกว่า รอเก็บเงินอีกสักพักแล้ววันนั้นก็เป็นอีกวันที่เขาไม่ได้เกิดการสร้างหนี้หรือรายจ่ายเพิ่ม

นี้เป็นตัวอย่างเล็กๆน้อยๆของ พฤติกรรมทางการเงิน ที่เรามักจะพบทั่วไปในสังคม ดังนั้นเราจึงเห็นคนเงินเดือนเยอะที่มีหนี้ท่วมหัวอยู่มากมาย

แต่คนเงินเดือนน้อยบางส่วน กลับอยู่ได้สบายๆมีเงินเก็บ บางส่วนในที่นี้ต้องขอเน้นจริงๆว่าบางส่วน เพราะคนที่มีเงินเดือนน้อยและใช้จ่ายเกินตัวจนประสบปัญหาก็ยังมีอยู่มาก

รายจ่ายมากขนาดนี้จะรวยได้ยังไง?

ถ้าเงินเดือน มากกว่านี้คงจะมีเงินเก็บ คุณคิดถูกใช่ไหม?

อย่างที่ได้กล่าวข้างต้นนะคะ จำนวนรายรับมันไม่เกี่ยว ไม่เกี่ยวเลยจริงๆ ตอนนี้คุณได้รู้แล้วว่าจิ ตวิทยาการใช้จ่ายเงินของคนส่วนใหญ่เป็นยังไง

หลายคนวางแผนว่าจะเปลี่ยนงานไปทำงานที่เติบโตได้กว่านี้ เงินเดือนเยอะ กว่านี้ การเงินคล่องกว่านี้ หรือพยายามหารายได้เสริมจนอดตาหลับขับตานอน

เหนื่อยสายตัวแทบขาด แต่หากคุณประสบปัญหาทั้งๆที่เงินเดือนก็เยอะ แปลว่าคุณเคยมีพฤติกรรมความมั่นใจในตัวเลขเงินเดือนอย่างนั้น มาก่อน

คิดหรือว่าเมื่อเพดานรายได้ของคุณสูงขึ้น คุณจะไม่ใช้จ่ายฟุ้งเฟ้อ กว่าเดิม ดังนั้น คำถามที่ว่าถ้าเงินเดือน มากกว่านี้คุณจะมีเงินเพิ่มสำหรับเป็นเงินเก็บ

คุณคิดถูกไหม ขอบอ กตรงนี้เลยว่า ผิดค่ะ คุณคิดผิด วิธีคิดที่ถูกต้องไม่ใช่การเปลี่ยนงาน หรือทำโอทีหามรุ่งหามค่ำไม่ได้หลับไม่ได้นอน เพราะเงินเดือนปกติคุณก็มากกว่าคนทั่วไปอยู่แล้ว ที่คุณต้องเปลี่ยนคือวิธีคิด

เปลี่ยนวิธีคิดก็พอแล้ว อย่าถึงกับเปลี่ยนงาน

ใช่ค่ะ เปลี่ยนแค่วิธีคิด ในเมื่อตอนนี้คุณรู้แล้วว่าคนเงินเดือนเยอะๆบางคน หรือแม้กระทั่งคุณ มีรายจ่ายท่วมหัวเพราะอะไร ก็เพียงแต่แก้ตรงนั้น แก้ยังไง? แก้โดยการปรับพฤติกรรมการใช้จ่าย

หยุดคิดวางใจว่าคุณมีกำลังพอจะจ่ายค่านั่น ค่านี่ เสร็จแล้วต้องมาปวดหัวกับ หนี้บัตรเครดิต ตอนสิ้นเดือน ที่เหมือนจะสิ้นใจ

นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมเขาถึงส่งเสริมให้ทำบัญชีรายรับรายจ่ายกันนักลองลิสต์รายการค่าใช้จ่าย มาหักลบกับรายได้ดู คุณอาจพบว่ามันพอดี

หรือเกินรายได้อัน มากมายของคุณไปด้วยซ้ำ พอคุณเห็นดังนั้นแล้ว คุณจะรู้สึกกลัวพฤติกรรมการเงินของคุณขึ้น มาทันทีค่ะ

เอาเงินเดือนที่หักรายจ่ายต า ยตัวทั้งหมด ไม่ว่าจะค่าผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ผ่อนฯลฯ เท่าที่คุณมี มาดูว่าเหลือสุทธิเท่าไหร่ แล้วหักเงินเก็บไว้ค่ะ จะเท่าไหร่ก็แล้วแต่คุณตั้ง

แต่การคิดว่าใช้ๆไปก่อน เหลือเท่าไหร่ค่อยเก็บ จะทำให้คุณจนลงทุกวันๆ ดังนั้นหักออ กก่อนค่ะ หักออ กไปเป็นรายจ่ายต า ยตัวอีกหนึ่งรายการ

แล้วให้ตั้งเงินสุทธิที่จะเข้ามือจริงๆ มาเป็นตัวเลขรายรับแต่ละเดือนค่ะ สมมุติแต่ละเดือนคุณจะเหลือแค่ 10,000 บาท ให้จำไว้ว่าแต่ละเดือนรายรับคุณคือ 10,000 บาทไม่ใช่ 30,000 บาท

เมื่ออยากได้อะไรให้คิดไตร่ตรองดูก่อนว่า เงินเดือน 10,000 บาทของคุณ เห ม าะสมหรือเปล่าที่จะซื้อนาฬิกาเรือนละ 50,000 หรือซื้อเสื้อผ้าตัวละหลายพัน คงไม่ใช่ไหม?

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *