เมื่อพูดถึงการเก็บเงิน หลายคนอาจมองว่าเป็นเรื่องยาก โดยเฉพาะมนุษย์เงินเดือนหรือแม้แต่ฟรีแลนซ์หาเช้ากินค่ำ ไหนจะต้องจ่ายค่าเดินทาง ค่าอาหาร ผ่อนบ้าน สังสรรค์ และอีกส า รพัด บางคนก็ต้องส่งเงินให้คนทางบ้าน รู้ตัวอีกทีเงินเดือนก็ใกล้หมดทุกที เรียกได้ว่าใช้เดือนชนเดือนเลยทีเดียว
ซึ่งจริงๆ แล้วการเก็บเงินก็ไม่ได้เป็นเรื่องยากนัก เพียงแต่ต้องมีวินัยและเลือ ก วิธีเก็บเงิน ที่เห ม าะสมกับตัวเองเพื่อให้สามารถเก็บเงินได้ในระยะยาวและสม่ำเสมอ
1. เก็บก่อนใช้ หัก 10% เข้าบัญชีส่วนตัว
หลายคนตกม้าต า ยในวันเงินเดือนออ ก ด้วยความเหน็ดเหนื่อยที่ต้องเจอตลอดเดือนเลยทุ่มเงินตอบสนองความต้องการแบบไม่ยั้งคิด โดยอ้างว่าให้ ‘รางวัล’ ตัวเอง ก่อนอื่นอยากให้ตั้งสติ นับจำนวนวันว่าหลังจากวันที่เงินออ ก เหลืออีกกี่วันกว่าจะได้เงินอีกรอบ
อ่าน มาถึงตรงนี้ถ้ายังรู้สึกอยากใช้เงินอยู่ ก็แนะนำว่าควรใช้หลังจากที่ นำเงินเข้าบัญชีเงินฝากส่วนตัวเสียก่อน โดยเริ่มต้นจากกำหนดสัดส่วนเงินที่ตั้งใจจะออม เช่น 10% ของเงินเดือน หรือจะ 50% เลยก็ได้ถ้าไม่ได้มีภาระใช้จ่ายอื่น
จะเลือ กหักเงินออ กจากบัญชีเงินเดือนอัตโน มัติในวันเงินเดือนออ ก ถอนเอง โอนเองก็ย่อมได้ ซึ่งบัญชีที่จะใช้เก็บเงินนั้นไม่ว่าจะเลือ กบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์หรือฝากประจำ
ก็อย่าลืมเปรียบเทียบอัตราดอ กเบี้ยรวมถึงเงื่อนไขต่างๆ ให้ดีก่อนตัดสินใจ และจำไว้ว่าบัญชีนี้ห้ามถอน มาใช้เด็ดขาด! รวมถึงไม่ควรทำบัตร ATM ควบ เพราะจะทำให้ใช้ง่ายจ่ายคล่องแน่นอน
ตัวอย่าง: A มีรายได้ต่อเดือน 20,000 บาท ตั้งใจจะเก็บเงิน 10% จากเงินเดือน เท่ากับว่า A ต้องเก็บเงินฝากทุกเดือนๆ ละ 2,000 บาท เก็บชิลๆ ทั้งปีได้ 24,000 บาท
2. เก็บเงินทอน-เก็บเลขท้าย-เก็บส่วนลด
เก็บเงินทอน
ทุกครั้งที่ใช้จ่ายพอได้เงินทอน มาก็เก็บแบงค์ย่อย เหรียญ นำมาหยอดกระปุก ซึ่งหากจะให้เสนอ คุณไม่จำเป็นต้องเก็บเศษย่อยทั้งหมด
เพราะอาจสร้างความลำบากจนเกินไป ลองกำหนดแบงค์ที่จะเก็บทุกครั้งที่ได้เงินทอน เช่น แบงค์ 50, เหรียญ 10, เหรียญบาท หรือแม้กระทั่ง เก็บเฉพาะแบงค์เลขสวย และแบงค์เลขตอง ก็ได้
เก็บเลขท้าย
ทุกครั้งที่ซื้อของให้ดูเลขท้ายสองตัวของยอดรวมในบิล เลือ กเก็บตามนั้น เช่น บิลออ กมา 615 บาท ก็เก็บ 15 บาท
เก็บส่วนลด
ซื้อของเซลล์เมื่อไหร่นำส่วนต่างที่ได้ลดมาหยอดกระปุกดีกว่า ได้ของ ได้เก็บเงิน คุ้ม! สมมุติ ของ 1,000 บาท ลด 50% เหลือจ่าย 500 บาท ก็เอาส่วนต่างอีก 500 มาเก็บ
3. ลุ้นล้านกับสลากออมสิน
สลากออมสินถือเป็นรูปแบบหนึ่งของการออมเงิน โดยเราจะได้รับดอ กเบี้ยตามอัตราที่กำหนด พร้อมมีสิทธิ์ลุ้นรางวัลทุกเดือน
เมื่อครบกำหนดก็ได้เงินต้นคืนพร้อมดอ กเบี้ยที่ถือว่าคุ้มมาก ซึ่งจริงๆ แล้วสลากออมสินนั้น มีหลายรูปแบบ แต่ที่นิยมกันก็คือ สลากออมสินพิเศษอายุ 3 ปี
โดยสลากออมสินพิเศษอายุ 3 ปี จะจำหน่ายหน่วยละ 50 บาท ซึ่งคุณสามารถซื้อ กี่หน่วยก็ได้ สิ่งที่จะได้รับ คือ สลากออมสิน 1 ใบ ที่มีตัวเลข 3 ชุด คือ งวดสลาก หมวดสลากและห ม ายเลขสลาก
ถ้าต้องการถูกรางวัลที่ 1 ของสลากออมสิน (สิบล้าน) ก็จะต้องให้ตัวเลขตรงกันทั้งหมด 3 ชุด แต่ถ้าไม่ได้เป็นคนดวงดีขนาดนั้นก็รอลุ้นรางวัลปลอบใจเล็กๆ น้อยๆ แทน
หรือจะทิ้งไว้เล่นๆ เป็นที่เก็บเงินเพิ่มดอ กเบี้ยอีกแห่งก็ไม่เสียหาย โดยที่ดอ กเบี้ยนั้นก็จะขึ้นอยู่กับแต่ละงวดที่ธนาคารออมสินกำหนดซี่งต้องคอยเช็ค อย่างงวดล่าสุด งวดที่ 97 ฝากครบ 3 ปี ก็รับเงินต้นคืนพร้อมดอ กเบี้ยหน่วยละ 50.60 บาท
แล้วสลากออมสินเห ม าะกับใคร? คนที่อยากเก็บเงินแบบ Play Safe เพราะรับประกันว่าเงินต้นไม่สูญแถมยังได้อัตราดอ กเบี้ยสูงกว่าออมทรัพย์, คนที่ชอบลุ้นรางวัลให้พอ กระชุ่มกระชวยจิ ตใจ
เพราะถึงงวดนี้ไม่ถูก งวดหน้าก็เล่นใหม่ได้ เงินต้นอยู่ที่เดิม และคนที่อยากเก็บเงินแบบปลอดภาษี
4. ใช้เงินสด งดบัตรเครดิต
ถ้าไม่มีวินัยในการใช้เงิน ควบคุมและบริหารการเงินไม่ค่อยได้เป็นทุนเดิม การมีบัตรเครดิตก็สามารถสร้างหายนะให้คุณได้ อย่างแรกเลย รูดง่ายจ่ายคล่องทำให้เผลอใช้เงิน มากเกินความจำเป็นหรือเจอดอ กเบี้ยมหาโหดถ้าชำระยอดหนี้แต่ละเดือนไม่ครบ
ชำระไม่ตรงก็โดนปรับอีก ดังนั้นเลยแนะนำสำหรับคนที่ไม่ค่อยมีวินัย ให้ใช้เงินสดมากกว่า ถึงแม้ว่าจะต้องลำบากในการพกพาแต่ก็ทำให้เราได้เห็นตัวเงินของจริง และรู้จำนวนเงินที่เรามี
หรืออีกทางหนึ่งก็คือ การใช้บัตร ATM อันนี้ก็ไม่ค่อยน่าเป็นห่วงเท่าไหร่ เพราะอย่างไรก็ตามเงินที่อยู่ในบัญชีนั้นก็คือ เงินที่เรามีอยู่แล้ว ไม่ใช่เงินในอนาคตหรือเงินหยิบยืม
5. แบ่งเงินใส่ถุง คุมเงินรายวัน
หลังจากที่แยกเงินเก็บ แยกเงินสำหรับค่าใช้จ่ายจำเป็น เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเดินทาง และอื่นๆ นำเงินส่วนที่เหลือมาหารจำนวนวันในแต่ละเดือน
แบ่งใส่ถุงหรือซองจดห ม ายเป็นวันๆ ไป วิธีนี้จะช่วยให้รู้ลิมิตการใช้เงินในแต่ละวันและยังเป็นการวางแผนล่วงหน้าเพื่อไม่ให้กระทบกับปลายเดือนด้วย
ยกตัวอย่าง : B เงินเดือน 15,000 บาท หักเข้าบัญชีเงินเก็บ 10% (1,500 บาท) หักค่าเดินทาง 800 บาท หักค่าน้ำค่าไฟ 1,200 บาท
ค่าเช่าที่พัก 3,000 บาท เหลือ 8,500 บาท ก็นำมาแบ่งใส่ถุง 30 ใบ เท่ากับว่า จะใช้ได้ประมาณ 280 บาทต่อวัน
6. หารายได้เสริม
นอ กจากงานประจำ คุณสามารถหาวิธีเก็บเงินอย่างอื่นได้โดยดึงจุดขายที่ตัวเองมีอยู่ เช่น
– งานอดิเรกชอบทำขน มหรืออาหาร อย่าทำกินเองคนเดียว ทำออ กมาขายดูสิ อาจทำข้าวกล่องขายให้เพื่อนร่วมงาน (ถ้าที่ทำงานไม่มีกฏห้าม) หรือรับทำตามงานบุญ งานบวช อะไรก็ว่าไป
– เก่งงานเขียน รับจ๊อบเขียนงานเป็นฟรีแลนซ์หรือขายในรูปแบบ E-Book
ทั้งนี้ทั้งนั้นถ้าไม่ได้มีเวลาว่างมากนักหรือไม่ได้มีจุดเด่นเรื่องใด ลองขุดของเก่า ของที่ไม่ใช้แล้วในบ้าน มาขายดูก็ได้ เช่น เสื้อผ้า รองเท้า ขายผ่านออนไลน์หรือ เช่าที่ตามตลาดนัดต่างๆ เป็นต้น
7. ลดค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือย
เคยนับไหมว่าเดือนหนึ่งเราเสียเงินไปกับสิ่งไม่จำเป็นเท่าไหร่ เช่น บางคนชอบดื่มน้ำหวาน ชา กาแฟ สมัยนี้อย่างต่ำก็แก้วละ 20 บาทขึ้นไปแล้ว
หรือบางคนก็เสียตังค์ให้ของขบเคี้ยวเยอะมาก หนึ่งเดือนก็หลายร้อยเลยล่ะ แม้กระทั่งชอบช้อปปิ้งเสื้อซื้อผ้าก็รวมอยู่ในนี้ด้วย
ทีนี้ถ้าลดละเลิกไม่ได้ วิธีแก้ อย่างพวกชากาแฟ ลองเปลี่ยน มาซื้อเป็นกล่องแล้วชงกินเองดูท่าจะคุ้มกว่า ขน มก็ลดปริมาณบ้างเพื่อสุขภาพ หรือลองกินผลไม้แทนดู
ปกติต้องซื้อมื้อ กลางวันก็ลองทำเองจากบ้าน นอ กจากจะลดค่าใช้จ่ายแล้วยังได้กินอาหารที่สะอาดและปลอดภัยเพราะปรุงเองอีกด้วย หรือคนที่ชอบช้อปปิ้งก็ลองหันไปดูว่ามีเยอะเท่าไหร่แล้ว ถ้าอยากได้จริงๆ แนะนำให้ขายของเก่าก่อนแล้วค่อยซื้อใหม่