การเก็บเงินหรือออมเงินไม่ใช่เรื่องง่ายเลย สำหรับหลายๆคน บางคนที่เก็บเงินไม่อยู่ยิ่งเป็นเรื่องยากมาก ที่จะเริ่มต้นเก็บเงินแบบจริงๆจังๆ ดังนั้นวันนี้เราจึงมีวิธีเก็บเงินแบบง่าย ไม่ยุ่งยาก เป็นวิธีสำหรับเริ่มต้นฝึกนิสัยการออมได้ดีเลยทีเดียว
1. เก็บแบงค์ 50 ทุกวัน
วิธีนี้น่าจะเป็นวิธีที่หลายคนน่าจะรู้จัก เพราะแชร์ต่อๆกัน มานาน มากแล้ว โดยวิธีนี้จะให้เน้นเก็บแต่แบงค์ 50 เพราะเป็นแบงค์ที่เรามักไม่ค่อยจะได้เจอสักเท่าไร
ส่วนใหญ่ก็มักจะเจอแต่แบงค์ 20 หรือ แบงค์100 เลยทีเดียว นานๆทีจะมีได้ทอนกลับมาบ้าง ดังนั้นการเก็บแบงค์ 50 มันทำให้เรารู้สึกว่าการออมมันไม่ได้ลำบากอะไรมากขนาดนั้น
โดยไม่ว่าวันนั้นๆจะได้รับทอนกลับมาเท่าไหร่ก็ขอให้เก็บไว้ทั้งหมด ทำแบบนี้ทุกครั้งที่ได้รับเงินทอน
สมมติถ้าเราซื้อของ จ่ายค่าแท็กซี่หรือค่าใช้จ่ายอะไรก็ตาม ทุกวันแล้วได้แบงค์ 50 มาวันละ 1 ใบ ใน 1 เดือน เราจะได้ 50 x 30 = 1,500 บาท
ถ้า 1 ปี เราจะได้ 50 x 365 = 18,250 บาท อาจจะได้มาก หรือน้อยกว่านั้นก็ได้ เพราะคงไม่มีใครซื้อของทุกวันแล้วได้แบงค์ 50 ตลอด แต่ก็ยังดีที่เราได้มีเป้าห ม ายในการเก็บแบงค์ 50
2. เก็บเงินทุกวัน จำนวนตามตัวเลขของวันที่
วิธีนี้ให้ยึดเอาตัวเลขของวันที่เป็นตัวตั้ง และเก็บจำนวนเงินตามวันนที่ เช่น วันที่ 1 ให้เก็บเงิน 1 บาท วันที่ 2 เก็บ 2 บาท
หยอดกระปุกไปเรื่อย ๆ จนถึงวันที่ 31 เก็บ 31 บาท พอขึ้นเดือนใหม่ ก็เริ่มเก็บ 1 บาทใหม่ตามวันที่นั้น ๆ ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆทุกเดือน ๆ
หากเราเก็บแบบนี้ไปเรื่อย เมื่อครบ 1 ปี เราจะมีเงินเก็บทั้งหมด 5,738 บาท หรือถ้าใครจะเก็บเงินวันที่ 1 เพิ่มเป็น 10 บาท วันที่ 31 เป็น 310 บาท ก็ได้ รวมทั้งปีเราจะมีเงินเก็บถึง 57,380 บาท
3. เก็บเงินทุกวันเงินเดือนออ ก
นอ กเหนือจากจะเป็นวันที่เราต้องจ่ายหนี้สินแล้ว ให้ลองยึดเอาวันเงินเดือนออ ก เป็นวันที่เราเก็บเงินไปด้วยก็คงจะดีไม่น้อย พอถึงวันแรกที่เงินเดือนเข้าบัญชี ให้เก็บไว้เลย 20% ของเงินเดือน ถือเป็นการเก็บเงินก่อนใช้
สมมติได้เงินเดือน 15,000 บาท ก็เก็บ 3,000 บาท ทำแบบนี้ทุกเดือน ๆ ถึงสิ้นปี เราจะมีเงินเก็บ 36,000 บาท โดยวิธีการเก็บนี้หากเป็นคนที่ใจไม่แข็งพอ
แนะนำให้เปิดบัญชีฝากประจำ ที่กำหนดต้องฝากในจำนวนที่เท่าๆกันทุกครั้ง ก็ได้ หรือหากยังจิ ตแข็งพอ ก็ให้นำเงินออ กมาแยกไว้ต่างหาก แต่ต้องสะกดจิ ตตัวเองให้ได้ว่าเงินส่วนนี้คือต้องเก็บเท่านั้น ห้ามนำออ กไปใช้
4. เก็บเศษของเงินเดือนทุกเดือน
วิธีนี้จะคล้ายกับวิธีก่อนหน้านี้ แต่ให้ยึดเอาตัวเลขเศษจากจำนวนเงินเดือนที่เราได้รับในแต่ละเดือน เช่น 25,650 บาท ก็ให้เก็บเศษ 650 บาท
หากใครมีเศษน้อยหน่อย เช่น 31,100 บาท ก็อาจจะเก็บ 1,100 บาทเลยก็ได้ แต่ที่สำคัญคือต้องเก็บแยกออ กมาจากเงินเดือนเลยทันทีที่เงินเดือนเข้า เก็บแบบนี้ไปทุกเดือน ๆ เศษเงินเดือน
สมมติ หากเราเก็บเศษเงินเดือน 650 บาทที่ได้รับประจำ 25,650 บาท x 12 เดือน ก็เท่ากับว่าสิ้นปีเราจะได้เงินเก็บ 7,800 บาทเลยทีเดียว
5. เก็บเศษเงินเหรียญ
วิธีนี้อาจจะไม่เห ม าะ กรณีที่ต้องใช้จ่ายด้วยเงินเหรียญเป็นประจำ เช่นใช้บริการ รถเมล์ เรือโดยส า ร ที่ต้องใช้เหรียญเป็นค่าโดยส า รเป้นหลัก
แต่วิธีนี้จะเห ม าะกับคนที่ไม่ชอบพกเงินเหรียญให้หนักกระเป๋า โดยในแต่ละวันที่รับเงินทอน มาเป็นเงินเหรียญให้แยกเก็บไว้ในกระเป๋าใบเล็กๆอีกกระเป๋าเลยก็ได้
ไม่นำเงินเหรียญออ กมาใช้ เมื่อจบวันกลับบ้านให้นำเงินเหรียญทั้งหมดออ กมาเก็บใส่กระปุกไว้ เมื่อถึงปลายปีให้นำเหรียญออ กมานับ
แล้วค่อยนำไปฝากธนาคารหรือแลกเป็นแบงค์เพื่อนำไปฝากเข้าบัญชีก็ได้ วิธีนี้อย่างน้อยๆก็สามารถเก็บได้ 3,000-5,000 เลยทีเดียว
6. ใช้เท่าไร เก็บเท่านั้น
วิธีนี้อาจจะยากหน่อย เพราะอาจจะยุ่งยากถ้าใครเป็นคนขี้ลืม เทคนิคคือ จด หรือบันทึกไว้ในสมาร์ทโฟนของเรา โดยเอารายจ่ายฟุ่มเฟือยในแต่ละวันเป็นตัวตั้ง
เช่น วันนี้ซื้อเสื้อไป 250 บาท ก็ให้เก็บ 250 บาท เท่ากับจำนวนเงินที่ใช้ไป ยิ่งเราใช้เงินฟุ่มเฟือยมาก ก็ยิ่งต้องเก็บมาก ถือเป็นการเก็บเงินหลังใช้
และเป็นวิธีที่เห ม าะกับคนที่ค่อนข้างใช้เงินเก่ง เพราะยิ่งเราใช้เยอะ เราก็ต้องมีวินัยในการเก็บเงินให้เยอะขึ้นด้วย
7. เก็บแบงค์ 50 รวมกับค่าชา กาแฟ
วิธีนี้เห ม าะสำหรับคนที่ติด ชา กาแฟหรือขี้เกียจจดบัญชีรายรับรายจ่าย โดยให้เก็บเงินเท่ากับจำนวนที่ซื้อ กาแฟทุกๆวัน เมื่อเจอแบงค์ 50 ก็ให้เก็บไว้ อาจจะดูเล็กน้อยสำหรับใครบางคน
แต่เชื่อว่าเป็นวิธีที่ช่วยฝึกนิสัยการออมได้ เช่น วันนี้ได้แบงค์ 50 มา 1 ใบ และวันนี้ซื้อ กาแฟไป 2 แก้ว สมมติแก้วละ 50 บาท รวมเป็น 100 บาท เท่ากับวันนี้
เก็บเงิน 50+100 = 150 บาท หากคำนวณคร่าวๆ เก็บ 1 เดือน จะได้เงินเก็บ 4,500 บาท แต่อาจจะได้มากหรือน้อยกว่านั้นก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเจอแบงค์ 50 มากเท่าไหร่ และกินกาแฟวันนั้นกี่แก้ว