‘การออมเงิน’ คือ การเก็บสะสมเงินเพื่อเป้าห ม ายอย่างใดอย่างหนึ่ง ส่วนใหญ่แล้วก็หนีไม่พ้นออมเงินเพื่อเก็บไว้วางแผนเกษียณอายุการทำงาน ออมเงินซื้อรถยนต์ ที่ดิน บ้าน คอนโดมิเนียม ออมเงินผ่อนบ้านให้หมดไวๆ ออมเงินเพื่อเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัว
หรือออมเงินเพื่อเก็บไว้เป็นเงินสำรองเวลาเกิดเหตุฉุ п เ ฉิ นกับตัวเองหรือคนในครอบครัว อย่างตกงาน อุบัติเหตุ หรือเจ็บป่วยกะทันหัน
ด้วยเหตุนี้จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะเห็นคนรุ่นใหม่วัยเพิ่งเริ่มต้นทำงานหัน มาให้ความสำคัญกับการออมเงินกัน มากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม
หากอยากประสบความสำเร็จในการออมเงิน แน่นอนว่าต้องมีทั้งวินัยในการเก็บเงิน บวกกับการวางแผนการใช้เงินอย่างรอบคอบ บทความนี้จะพามาดูวิธีออมเงิน มนุษย์เงินเดือนที่นิยมใช้กัน มากที่สุด ดังต่อไปนี้
เก็บก่อนใช้
วิธีออมเงิน มนุษย์เงินเดือนที่คนส่วนใหญ่เลือ กใช้เป็นวิธีแรกๆ คือ เก็บเงินก่อนใช้ เพราะการหักดิบเก็บเงินทันทีที่ได้รับเงินเดือนนอ กจากเป็นการบังคับตัวเองให้ออมเงินและกำหนดกรอบค่าใช้จ่ายต่อเดือนให้อยู่ในจำนวนที่จำกัดแล้ว
ยังทำให้ประเมินระยะเวลาในการเก็บเงินเพื่อให้ถึงเป้าห ม ายที่ตั้งใจได้ง่ายขึ้นด้วย สำหรับสัดส่วนในการเก็บเงินด้วยวิธีเก็บก่อนใช้ ช่วงแรกหากยังมีรายได้น้อยแนะนำว่าให้เริ่มต้นเก็บประมาณ 10% ของเงินเดือน
เช่นถ้าได้เงินเดือน 15,000 บาท ให้หักเก็บทันที 1,500 บาท เพื่อสร้างความคุ้นชินกับการออมเงินก่อนและที่สำคัญไม่สร้างความลำบากในการใช้ชีวิตจนเกินไป
แต่ถ้าเงินเดือนขยับสูงขึ้นอาจเปลี่ยน มาใช้สูตร 50 – 30 – 20 หรือค่าใช้จ่าย 50 ค่าใช้จ่ายส่วนตัว 20 และเงินออม 20 เพื่อช่วยให้เก็บเงินได้มากขึ้น
คิดถึงความจำเป็นก่อนใช้จ่าย
สำหรับมนุษย์เงินเดือนที่คิดว่าตัวเองเป็นคนฟุ่มเฟือยหรือชอบซื้อของประเภทเดียวกัน มาเก็บสะสมไว้เป็นจำนวน มาก อีกวิธีออมเงินแบบมนุษย์เงินเดือนที่แนะนำคือ
ทุกครั้งที่จะหยิบเงินหรือบัตรเครดิตออ กจากกระเป๋าสตางค์ หรือจะกดโอนจ่ายค่าสินค้า ให้นึกถึงความจำเป็นในการใช้งานหรือเป้าห ม ายที่ทำให้ตัวเองตัดสินใจเก็บเงินก่อนทุกครั้ง
เช่น หากตั้งใจเก็บเงินก้อนใหญ่เพื่อดาวน์บ้านให้นึกถึงจำนวนเงินที่ยังขาดอยู่และลองคำนวณว่าถ้าเก็บเงินส่วนนี้ไว้ไม่ซื้อของฟุ่มเฟือยจะทำให้มีเงินเก็บเพิ่มขึ้นเท่าไหร่
แต่ถึงอย่างนั้นก็อย่าตระหนี่มากจนไม่กล้าซื้อของใช้เลย แค่ในระหว่างออมเงินนั้น ให้มองที่ความจำเป็นในการใช้งาน มาก่อนความชอบส่วนตัว เมื่อบรรลุเป้าห ม ายในการเก็บเงินเรียบร้อยแล้ว จะให้รางวัลชีวิตตัวเองด้วยสิ่งของที่อยากได้สักชิ้นก็ยังไม่สาย
กำหนดเงินใช้เป็นรายวัน
การกำหนดเงินรายวันอาจดูเหมือนวิธีการใช้เงินสมัยเด็กๆ ที่ผู้ปกครองมักให้เงินลูกหลานตัวแบบรายวันเพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายมากกว่าวิธีออมเงิน มนุษย์เงินเดือน
แต่เชื่อเถอะว่าวิธีนี้จะช่วยบริหารจัดการค่าใช้จ่ายและช่วยบริหารเงินเก็บในแต่ละเดือนได้ง่าย และเรียกว่าได้ผลดีกว่าการเก็บเงินจำนวน มากไว้ในกระเป๋า ที่ถึงแม้จะสะดวกในการใช้มากกว่า แต่อาจทำให้ใช้เงินเกินความจำเป็นได้
อย่างไรก็ตาม การกำหนดค่าใช้จ่ายรายวัน ไม่ควรกำหนดตัวเลขลอยๆ ขึ้น มาเอง เพราะสุดท้ายเมื่อไม่พอใช้กับค่าใช้จ่ายจริงต่อวันก็ต้องหยิบเงินของวันพรุ่งนี้มาใช้เรื่อยๆ
เพราะฉะนั้นจึงต้องคำนวณค่าใช้จ่ายรวมทั้งหมดในแต่ละวันให้รอบคอบ ทั้งค่าเดินทาง ค่าอาหาร และค่าใช้จ่ายจิปาถะอื่นๆ ที่คาดว่าจะใช้
จากนั้นนำค่าใช้จ่ายต่อวัน มาคูณด้วยจำนวนวันบวกกับค่าใช้จ่ายจำเป็นต่อเดือน เมื่อได้จำนวนที่แน่นอนแล้วให้นำมาลบกับเงินเดือนก็จะได้ยอดเงินเก็บรายเดือนที่สามารถออมได้โดยไม่ทำให้ตัวเองลำบากมากจนเกินไป
ทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย
ไม่ว่าเป้าห ม ายในการออมเงินที่ตั้งไว้จะเล็กหรือใหญ่ สิ่งแรกๆ ที่นับเป็นส่วนสำคัญของวิธีออมเงิน มนุษย์เงินเดือนก็คือ บัญชีรายรับรายจ่าย แม้ว่าหลายคนจะมองว่าเสียเวลา
แต่ข้อดีของการจดบันทึกรายรับรายจ่ายทุกวันจะช่วยให้มองเห็นภาพรวมของค่าใช้จ่ายรายเดือนของตัวเอง และตัดส่วนค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นได้ง่ายขึ้น
สำหรับการทำบัญชีรายรับรายจ่ายปัจจุบัน มีความสะดวกสบายมากขึ้น เพราะใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยได้ เช่น บันทึกใส่โปรแกรม Excel ในคอมพิวเตอร์ที่มาพร้อมเครื่องมือช่วยคำนวณทางคณิตศาสตร์
หรือใช้แอปพลิเคชั่นบันทึกรายรับรายจ่ายที่มีให้เลือ กดาวน์โหลดไว้ใช้งานในโทรศัพท์มากมาย ใช้งานได้ทุกทีไม่ต้องยุ่งยากจดใส่กระดาษเหมือนแต่ก่อน
งดการออ กไปเดินห้างสรรพสินค้า
มนุษย์เงินเดือนคนไหนรู้ตัวว่าหวั่นไหวง่ายเวลาเห็นป้ายลดราคา ของฟุ่มเฟือย หรือร้านอาหารสวยๆ ตามห้างสรรพสินค้า รู้ตัวว่ามักจะอดใจไม่ไหวต้องควักเงินออ กจากกระเป๋าจ่ายไปทั้งๆ
ที่ไม่จำเป็นอยู่บ่อยๆ แนะนำว่าในระหว่างที่ใช้วิธีออมเงิน มนุษย์เงินเดือน ควรหลีกเลี่ยงการไปเดินเล่นที่ห้างสรรพสินค้าโดยไม่มีเป้าห ม ายว่าจะซื้ออะไร
เพราะมีไม่น้อยที่เกิดตบะแตกหน้ามืดซื้อของจนเงินหมดกระเป๋า ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อค่าใช้จ่ายไม่พอ ก็นำเงินเก็บออ กมาใช้จ่าย ดังนั้นให้เลือ กไปเดินห้างสรรพสินค้าเฉพาะเวลาที่จำเป็นเท่านั้น
และก่อนไปควรลิสต์รายละเอียดสิ่งของที่ต้องซื้อไปล่วงหน้า เพื่อ กำหนดค่าใช้จ่ายแต่ละครั้งให้ชัดเจน ป้องกันไม่ให้ตัวเองใช้เงินเกินตัว
ลดการใช้บัตรเครดิต
การพกบัตรเครดิตติดกระเป๋าอย่างน้อย 1 หรือ 2 ใบ มักจะช่วยเพิ่มความสะดวกสบายในการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันได้มากขึ้น เพราะนอ กจากไม่ต้องพกเงินสดจำนวน มากติดตัวให้เสี่ยงสูญหายเสี่ยงอัน ต ร า ยเวลาอยู่นอ กบ้านแล้ว
บัตรเครดิตส่วนใหญ่ยังมาพร้อมโปรโมชั่นผ่อน 0% โปรโมชั่นผ่อนสั้นผ่อนยาว หรือสะสมแต้มแลกส่วนลดแลกของแถมอีก ข้อดีเหล่านี้ทำให้หลายคน มองว่าการใช้บัตรเครดิตคุ้มกว่าการจ่ายด้วยเงินสด
ซึ่งเป็นความจริงในกรณีใช้บัตรเครดิตเพื่อซื้อของที่มีโปรโมชั่นผ่อน 0% เท่านั้น เนื่องจากไม่ต้องเสียดอ กเบี้ย แถมเป็นการกระจายค่าใช้จ่ายต่อเดือน ส่วนการใช้จ่ายแบบอื่นจะต้องจ่ายทั้งดอ กเบี้ยและค่าใช้จ่ายแฝงอื่นด้วย
แต่แน่นอนว่าการจะใช้บัตรเครดิตก็ต้องบริหารให้ดี หากรู้ว่าเป็นคนห้ามใจตัวเองไม่เป็น มักจะใช้เกินตัวแล้วเสี่ยงเป็นหนี้บัตรเครดิตอยู่บ่อยๆ ก็ควรจะลดการใช้บัตรเครดิตลง
อย่าลืมว่าก่อนจ่ายอะไรก็ตามด้วยบัตรเครดิต ควรพิจารณาความคุ้มค่าทุกครั้ง และห้ามติดรูดจ่ายทุกอย่างที่ซื้ออย่างเด็ดขาด ไม่เช่นนั้นอาจนำไปสู่ยอดหนี้มหาศาลในภายหลังได้
เคลียร์หนี้สินให้หมด
หนี้สินถือเป็นอุปสรรคใหญ่ที่ทำให้คนส่วนใหญ่ออมเงินไม่สำเร็จอย่างที่ตั้งใจ เพราะเมื่อถึงเวลาชำระหนี้ต้องแบ่งเงินส่วนหนึ่งออ กไปจ่ายหนี้ก่อนตามกำหนด
เพื่อป้องกันไม่ให้เครดิตทางการเงินเสียหาย ทำให้เก็บเงินได้ไม่เต็มที่และไม่สม่ำเสมอ ซึ่งในที่สุดแล้วก็อาจต้องตัดใจแก้ปัญหาด้วยการนำเงินเก็บที่มีอยู่ไปเคลียร์หนี้สิน
ต้องเสียเวลาเริ่มต้นนับหนึ่งกับวิธีออมเงิน มนุษย์เงินเดือนใหม่ ส่งผลให้เป้าห ม ายทางการเงินยิ่งไกลออ กไปอีก ดังนั้น ก่อนเริ่มต้นควรเคลียร์หนี้สินทั้งหมด
หรืออย่างน้อยก็เคลียร์หนี้สินระยะสั้น อย่างหนี้บัตรเครดิต หนี้สินเชื่อส่วนบุคคล หรือหนี้สินเชื่อรถยนต์ให้หมดก่อน
งดใช้เงินโบนัส
เป็นเรื่องปกติที่มนุษย์เงินเดือนอยากให้ถึงช่วงปีใหม่เร็วๆ เพราะนอ กจากจะได้หยุดพักจากการทำงานหนักตลอดทั้งปีแล้ว ในช่วงปีใหม่หลายคนยังได้รับเงินพิเศษหรือโบนัสจากนายจ้างเป็นรางวัลจากการตั้งใจทำงานอีกด้วย
แต่ไม่ว่าจะได้เงินก้อนเล็กหรือ ก้อนใหญ่หากเริ่มต้นลงมือตามวิธีออมเงิน มนุษย์เงินเดือนแล้ว ควรเก็บเงินส่วนนี้ไว้เป็นเงินออมหรือแบ่งส่วนหนึ่งมากเก็บไว้ ดีกว่านำไปใช้จ่ายเพื่อซื้อของฟุ่มเฟือย
เปิดบัญชีเงินฝากประจำ
การเก็บเงินไว้ในบัญชีเงินฝากประจำถือเป็นอีกวิธีออมเงิน มนุษย์เงินเดือนที่ได้รับความนิยมมากเช่นเดียวกัน เพราะเมื่อนำเงินเข้าเก็บไว้ในบัญชีฝากประจำเรียบร้อยแล้ว
ต่อให้อยากใช้ก็ไม่สามารถถอนออ กมาใช้ได้ ต้องรอจนกว่าครบสัญญา และตามเงื่อนไขของธนาคารแล้ว ยังห้ามขาดฝากเกินจำนวนครั้งที่ธนาคารกำหนดด้วย
ไม่เช่นนั้นจะถือว่าผิดเงื่อนไขต้องเปลี่ยนจากบัญชีฝากประจำเป็นบัญชีเงินฝากทั่วไป ทำให้ไม่ได้รับดอ กเบี้ยเงินฝาก 1-3 เปอร์เซ็นต์ต่อปีและอดสิทธิพิเศษตามที่ธนาคารกำหนด
ดังนั้นการฝากเงินในบัญชีฝากประจำจึงเป็นเหมือนการบังคับเก็บเงินและฝึกวินัยการออมไปพร้อมๆ กัน
สำหรับบัญชีเงินฝากประจำมีระยะเวลาให้เลือ กหลายช่วงเริ่มตั้งแต่ 12 – 48 เดือน
ห้ามใช้แบงก์ 50
ไม่น่าเชื่อว่าวิธีออมเงินแบบมนุษย์เงินเดือนด้วยการห้ามใช้ธนบัตรใบละ 50 บาทจะเป็นวิธีเก็บเงินที่ได้ผลดีมากที่สุดวิธีหนึ่ง แต่ลองคิดดูว่าถ้าใน 1 อาทิตย์
เก็บธนบัตรอย่างน้อยได้ 4 ใบ 1 เดือนก็จะมีเงินเก็บเพิ่มเดือนละ 800 บาท เมื่อคูณด้วย 12 เดือน เท่ากับ 1 ปีจะได้เงินเก็บประมาณ 10,400 บาทเลยทีเดียว
สำหรับเหตุผลที่มนุษย์เงินเดือนส่วนใหญ่นิยมเก็บธนบัตรใบละ 50 บาท มากกว่าธนบัตรชนิดอื่น เนื่องจากเป็นธนบัตรที่เจอไม่บ่อย
การเก็บธนบัตรจำนวนนี้จึงไม่กระทบกับค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน มากเท่ากับการเก็บธนบัตรใบละ 20 บาท หรือ 100 บาท
ดังนั้นถ้าอยากมีเก็บเงินเพิ่มขึ้นอีกหน่อยอาจเริ่มจากการท้าทายตัวเองด้วยการเก็บธนบัตรใบละ 50 ควบคู่ไปกับการออมเงินปกติดู สนุกและได้ผลดีไปอีกแบบ