ข้อคิดสอนใจ

4 ความรู้ สู่ความมั่งคั่งที่ยั่งยืน

ในช่วงวัยทำงานที่การหารายได้ยังไม่ใช่เรื่องยาก ทำให้บางคนอาจยึดติดกับการใช้เงินอย่างสบายใจ ซื้อความสุขอย่างเต็มที่จนลืมหรือละเลยที่จะนึกถึงชีวิตในวันข้างหน้า

จนเกิดเป็นปัญหาเมื่อถีงวัยเกษียณ ดังนั้นเราจึงต้องรู้หลักการบริหารจัดการรายได้และทรัพย์สินให้มีชีวิตอยู่อย่างราบรื่นผาสุกยาวนานและมั่นคง

รู้หา หาเงินเสริมเพิ่มรายได้

การหารายได้ คือ การทำงานโดยใช้ความสามารถเพื่อให้ได้มาซึ่งผลตอบแทนหรือรายได้ อาจจะเป็นเงินเดือน หรือทรัพย์สินอื่น ๆ ส่วนใหญ่ก็จะเข้าใจกันว่าการทำงานแล้วเงินเดือนนั่นคือรายได้

แต่การหารายได้ในที่นี้ห ม ายถึงการหารายได้มากกว่า 1 ช่องทาง เช่น ทำงานรับเงินเดือนไปด้วย ขายของออนไลน์ในเวลาว่างด้วย หรือ การรับงานในวันหยุด การเป็นครูสอนพิเศษ เป็นต้น

ส่วนการจะหารายได้เพิ่มได้อย่างไรนั้น ก็ต้องเริ่มจากตัวเองก่อน สำรวจว่าตัวเองชอบทำอะไร งานอดิเรกคืออะไร และเริ่มหารายได้จากงานอดิเรกนั้น

เพราะเมื่อทำสิ่งที่เราชอบ มันก็จะเป็นแรงใจในการทำงานให้ไม่เหนื่อยนั่นเอง เช่น บางคนชอบงานแฮนด์เมด ก็ทำงานแฮนด์เมดขาย บางคนชอบถ่ายรูป ก็ถ่ายรูปแล้วขายตามช่องทางต่าง ๆ เป็นต้น

ต่อมาเมื่อเรามีไอเดียในการหาอาชีพเสริมแล้ว สิ่งที่ต้องคำนึงซึ่งสำคัญมากนั่นคือ การทำงานโดยไม่รบกวนกับงานประจำ อย่าลืมว่าเรายังเป็นพนักงานอยู่ งานในหน้าที่ก็ต้องเต็มที่ ส่วนงานเสริมก็ต้องทำเมื่อมีเวลา

เพราะฉะนั้นต้องจัดสรรเวลาให้ดื จากนั้นก็ต้องวางแผนว่าจะทำอย่างไรให้มีรายได้ต่อเนื่อง อาจจะเริ่มจากการรับงาน มากขึ้น หาทีมงานเล็ก ๆ มาช่วย

เพื่อที่จะได้มั่นใจว่าเราจะมีรายได้เสริมตลอด และสุดท้ายที่ควรทำแต่ต้องศึกษารายละเอียดให้ดีก็คือนำรายได้ที่ได้ (จากงานเสริม) ไปต่อยอดลงทุน ควรเริ่มจากการซื้อทองคำ ธนบัตร หรือ กองทุนต่าง ๆ ที่ไม่ได้มีความเสี่ยงสูงมากนัก

รู้เก็บ รู้ออม ก่อนจ่ายเงิน

​​​การออม ​มีความสำคัญต่อ การดำรงชีวิตในอนาคต แต่คนส่วนใหญ่มักจะใช้จ่ายจนพอใจแล้ว จึงนำเงินส่วนที่เหลือไปออม ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การฝากออมทรัพย์ การฝากประจำ การซื้อสลากออมทรัพย์ ​ทำให้หลายคน มีเงินออมไม่มากพอ

วิธีแก้ก็ง่าย ๆ เพียงแค่ปรับพฤติกรรมของตัวเองด้วยการออมเงินเก็บเงินก่อนที่จะใช้เงิน วัตถุประสงค์ที่ต้องออมเงิน

เช่น เพื่อไว้ใช้ในอนาคตหรือออมเพื่อชีวิตหลังเกษียณ การออมเงินเผื่อเวลาฉุ п เ ฉิ น เพื่อใช้ในสิ่งที่อยากได้หรืออยากทำ เช่น ซื้อของที่อยากได้หรือท่องเที่ยว

สำหรับสัดส่วนที่เห ม าะสมในการออม​โดยทั่วไปควรออมเงินประมาณ 1 ใน 4 ของรายไ​ด้แต่ละเดือน หรืออย่างน้อย 10% ของเงินเดือน (ถ้ามากกว่านี้จะดีมาก) อย่างไรก็ตามอัตราส่วนนี้สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเห ม าะสม

ขึ้นอยู่กับรายได้ปัจจุบันและแผนทางการเงินที่วางไว้ เช่น หากเรามีแผนที่จะใช้เงินก้อนใหญ่ในระยะเวลาอันใกล้ อาจจำเป็นต้องออมเงิน มากกว่า 1 ใน 4 เพื่อให้เราถึงเป้าห ม ายทางการเงินเร็วขึ้น

รู้จักใช้เงินอย่างฉลาด สร้างโอ กาสให้มั่งคั่ง

เมื่อเรามีเงินเราก็อยากจะใช้มันแลกเปลี่ยนให้ได้มาซึ่งสิ่งที่เราปรารถนา แต่ใช้ไปใช้มามันก็ร่อยหรอลงได้ ดังนั้นก่อนที่เงินจะหมดไป เราต้องมีวิธีการบริหารเงินกันหน่อย

นั่นก็คือ การวางแผนการใช้เงินนั่นเอง เราต้องเตือนตัวเองอยู่เสมอว่าเงิน มีวันหมด ฉะนั้นจะใช้เงินตามใจตัวเองตลอดไม่ได้ เราจึงต้องมีการวางแผน และตั้งกติกาการใช้จ่ายเงิน

เริ่มตั้งแต่ต้องตั้งงบประมาณก่อนใช้เพื่อบังคับตัวเองให้ “คิดก่อนซื้อ” และวางแผนการใช้จ่ายได้ อะไรที่เกินงบและเกินจำเป็นก็จะได้ไม่ต้องเสียเงินซื้อ

ต่อมาก็ต้องเปรียบเทียบสินค้าและบริการก่อนตัดสินใจซื้อ อย่าเพิ่งใจร้อน เพราะเราอาจจะมาเจ็บใจทีหลังว่าได้สินค้าราคาแพงกว่าที่ควรเป็น

เมื่อใช้เงินแล้วต้องมาสรุปและบันทึกการใช้จ่ายของตัวเองทุกครั้ง อีกสิ่งที่สำคัญมาก ๆ คือต้องใช้น้อยกว่าหาได้ อย่าใช้จ่ายเกินตัว

เพราะมิเช่นนั้นเงินจะติดลบ จนเข้าสู่ภาวะขัดสนโดยไม่รู้ตัว และสุดท้ายต้องย้ำตัวเองตลอดว่าไม่จำเป็นอย่าซื้อ ถึงจะมีของโปรโมชัน ลด แลก แจก แถม ต่าง ๆ นานา

แต่ที่จ่ายไปก็คือเงินนั่นเอง เมื่อรวมกัน มากเข้าก็จะกลายเป็นเงินก้อนใหญ่น่าเสียดายมาก ๆ เลย เพราะฉะนั้นแล้วถ้าไม่อยากลำบากก็ต้องรู้จักใช้เงินอย่างฉลาดไม่สุรุ่ยสุร่าย

รู้ขยายดอ กผล ลงทุนให้ถูกจังหวะ ได้ผลดีแน่นอน

การลงทุนเปรียบเสมือนการเดินทางสู่ความมั่งคั่งเพราะเป็นการนำเงินออมไปลงทุนในทางเลือ กต่าง ๆ เพื่อสร้างผลตอบแทนที่สูงขึ้น เช่น หุ้น หุ้นกู้ ทองคำ พันธบัตร กองทุนรวม หรืออสังหาริมทรัพย์

โดยเลือ กที่เห ม าะกับความเสี่ยงที่คุณยอมรับได้ ถ้าต้องการลงทุน ขอแนะนำให้เริ่มต้นที่ การออมก่อน

ซึ่งเป็นการสร้างวินัยทางการเงินให้แก่ตนเองในการทยอยเก็บเงินทีละเล็กละน้อยให้มีจำนวนพอ กพูนขึ้นเมื่อเวลาผ่านไปในรูปแบบที่มีความปลอดภัย มีความเสี่ยงต่ำ เพื่อรักษาเงินต้นไว้

เนื่องจากการลงทุน มีความเสี่ยงที่จะสูญเสียเงินต้น และมีระยะเวลาช่วงหนึ่ง ที่คุณยังไม่สามารถนำเงินนั้นออ กมาใช้ได้ ดังนั้น จำนวนเงินที่สามารถนำไปลงทุนได้

คือ เงินก้อนที่มีอยู่ หักด้วยค่าใช้จ่ายจำเป็น ภาระผูกพัน และเงินสำรองเผื่อไว้ใช้ในยามฉุ п เ ฉิ น หรืออีกทางเลือ กหนึ่ง

คือ ทุกครั้งที่มีรายได้เข้ามา ให้แบ่งเงินนั้นออ กเป็นส่วน ๆ ตามวัตถุประสงค์ต่าง ๆ โดยแบ่งส่วนหนึ่งมาเลือ กออมหรือลงทุนอย่างสม่ำเสมอตามความเห ม าะสม​

meko

Share
Published by
meko