ข้อคิดสอนใจ

8 เทคนิค เก็บเงิน 1 แสนบาท ภายใน 1 ปี

“เงินแสน” เป็นหนึ่งในเป้าห ม ายของใครหลายคน โดยเฉพาะสำหรับวัยเริ่มต้นทำงาน ช่วง 20-30 ปี ด้วยความที่ “เงินแสน”

อาจเป็นเป้าห ม ายในการเริ่มต้นที่จะนำไปสู่การซื้อบ้าน รถ หรือไว้เก็บสะสมเพื่อความมั่งคั่ง แต่ด้วยสภาพเศรษฐกิจแบบนี้ การจะเก็บเงินให้ได้แต่ละบาทนั้นดูจะยากลำบากเสียเหลือเกิน

เป้าห ม ายเงินเก็บ 1 แสนบาท ภายใน 1 ปี

มี 2 เงื่อนไขหลัก คือ เงิน 1 แสนบาท กับเวลา 1 ปี

1 ปี มี 12 เดือน หากแบ่งเก็บรายเดือนเพื่อให้ได้ 1 แสนบาท ต้องเก็บเดือนละ 8,333 บาท

1 ปี มี 52 สัปดาห์ นั่นคือ เงิน 1 แสนบาท แบ่งเก็บรายสัปดาห์ ต้องเก็บสัปดาห์ละ 1,923 บาท

1 ปี มี 365 วัน หากแบ่งเก็บรายวันเพื่อให้ได้ 1 แสนบาท ต้องเก็บวันละ 274 บาท

สิ่งนี้คือค่าเฉลี่ยสำหรับเงื่อนไข 1 แสนบาท ภายใน 1 ปี ถ้าจะเลือ กเก็บเงินเป็นรายวัน รายสัปดาห์ หรือรายเดือน ให้ได้ 1 แสนบาท ภายใน 1 ปี นี่คือตัวเลขที่ทุกคนต้องพบเจอ

1. ตั้งเป้าห ม ายให้ชัดเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ

การตั้งเป้าห ม ายที่ชัดเจนจะช่วยให้เรามีแรงบันดาลใจและมุ่งมั่นไปถึงเป้าห ม ายได้ เราควรตั้งคำถามและตอบให้ชัดเจนก่อนว่า

การจะเก็บเงิน 100,000 บาทให้ได้ภายใน 1 ปีนั้น เราจะเก็บไปเพื่ออะไร เมื่อเรามีเป้าห ม ายที่ชัดเจน มีสิ่งที่เราตั้งตารอคอย วินัยและความมุ่งมั่นที่จะทำตามแผนที่วางไว้ก็จะมาเอง

2. แบ่งบัญชีใช้งานให้ชัดเจน

เป็นวิธีเบื้องต้นที่แนะนำต่อ ๆ กัน มา ว่าการเก็บเงินที่ดี ควรมีการแยกบัญชีให้ชัดเจน เช่น บัญชีเงินเก็บห้ามใช้ บัญชีเงินสำรอง

บัญชีรายจ่ายจำเป็นแต่ละเดือน บัญชีค่าใช้จ่ายประจำ เป็นต้น เพื่อให้เห็นจำนวนเงินที่เราสามารถใช้ได้จริงมากขึ้น และส่วนนี้จะทำให้เราเป็นหนี้ได้น้อยลงด้วย

3. เก็บเงินตามลำดับวันที่

การเก็บเงินตามจำนวนวัน เป็นวิธีที่อาจเคยได้ยินกัน มาบ้าง โดยให้เก็บเพิ่มขึ้นตามลำดับวันที่ในปฏิทิน ยกตัวอย่างเช่น วันที่ 1 เก็บ 1 บาท วันที่ 2 เก็บ 2 บาท….วันที่ 365 เก็บ 365 บาท ภายใน 1 ปี

จะมีเงินออมทั้งหมดถึง 66,795 บาท ซึ่งถึงแม้ว่าจะยังไม่ใช่ตัวเลข 1 แสนบาท แต่ก็ถือว่าใกล้เคียงกับเป้าห ม ายขึ้นไปอีกขั้น

ที่สำคัญยังใช้การเก็บเงินสูงสุดเพียงแค่วันละหลักร้อยเท่านั้น ถือว่าเป็นวิธีการเก็บเงินแสนบาทฉบับมนุษย์เงินเดือนที่ไม่กดดันตัวเองมากจนเกินไป

4. เก็บเงินวันละ 275-300 บาท

เป็นอีกหนึ่งวิธีของการเก็บเงินรายวัน ถ้าคนที่มีฐานเงินเดือนค่อนข้างสูงหน่อย ก็อาจเก็บเป็นค่าแรงขั้นต่ำไปเลย แต่ถ้าฐานเงินเดือนไม่ได้สูงมากก็อาจจะหาเป็นรายได้เสริมเพื่อให้มีเงิน มากขึ้น

หรือแบ่งครึ่งเพื่อเก็บก็ได้ ถึงระยะเวลาอาจจะนานขึ้นหน่อย แต่อย่างน้อยเราได้เริ่มลงมือทำ และ หากทำอย่างต่อเนื่อง การเก็บเงิน 1 แสนบาทก็จะอยู่ไม่ไกลแล้ว

5. เก็บเงินเดือนละ 8,300 บาท

บางคนการเก็บเงินรายวันอาจจะไม่ใช่ทาง หรือไม่ตอบโจทย์เท่าไหร่ เพราะอาจจะเก็บถี่เกินไป ให้ลองเปลี่ยน มาแบ่งเก็บเป็นรายเดือนแทน

แต่ถ้าเป้าห ม ายคือ เก็บเงินแสน จะต้องแบ่งเก็บประมาณเดือนละ 8,300 บาท อาจจะนำไปฝากพันธบัตรรัฐบาล, กองทุนเพื่อเพิ่มมูลค่าของเงินให้เพิ่มขึ้น

หรือบางคนแบ่ง 10%-20% ของเงินเดือน ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ดี เพราะอย่างน้อยเราก็ได้ตั้งใจเก็บ เมื่อทำต่อเนื่องเรื่อย ๆ เงินก็จะมีมูลค่าเพิ่มถึง 1 แสนบาทได้

6. ไม่ประมาทกับรายจ่ายเล็กน้อยประจำวัน

รายจ่ายเล็กน้อยประจำวัน คือ สิ่งหนึ่งที่คอยขัดขวางเราไม่ให้ไปถึงเป้าห ม ายทางการเงิน เนื่องจากเรามักเมินเฉยรายจ่ายเล็ก ๆ น้อย ๆ เหล่านี้

เพราะคิดว่าไม่ส่งผลกระทบต่อเงินของเรามากนัก แต่เมื่อนำมานับรวมกันเป็นค่าใช้จ่ายรายเดือน หรือ รายปีแล้ว บอ กได้เลยว่าทำเอาตกใจเลยทีเดียว

เช่น บางคนติดกาแฟหรือน้ำหวาน ต้องซื้อ กินทุกวันเพื่อเติมความสดชื่น ส่วนใหญ่ก็จะซื้อ กันอยู่ที่ราคาประมาณ 30-60 บาทต่อแก้ว ถ้าเรากินแบบนี้ทุกวันตลอดระยะเวลา 1 ปี จะคิดเป็นเงินประมาณ 22,000 บาท

7. อย่าสร้างหนี้โดยไม่จำเป็น

อุปสรรคสำคัญของการออมเงินคือหนี้สิน การมีหนี้สินทำให้รายจ่ายที่นอ กเหนือจากค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันเพิ่มมากขึ้น และ ทำให้เราเหลือเงินเก็บออมลดน้อยลง

เช่น หากเราอยากได้โทรศัพท์มือถือเครื่องใหม่ ราคา 30,000 โดยใช้วิธีผ่อน 0% 10 เดือน ต่อให้ยอดชำระต่อเดือนจะดูไม่มาก

แต่ก็ทำให้เงินที่เราควรจะออมได้ต่อปีนั้นหายไปถึง 30,000 บาท ดังนั้นก่อนจะตัดสินใจสร้างหนี้ ขอให้ลองชั่งน้ำหนักดูก่อนว่าระหว่างสิ่งของที่อยากได้

กับเป้าห ม ายเงินแสนของเรา อะไรสำคัญกว่ากัน ยอมอดใจรออีกสักปีเพื่อให้เราบรรลุเป้าห ม ายที่ยิ่งใหญ่กว่า จะคุ้มกว่าไหม?

8. ให้รางวัลตัวเองให้เป็น

คนเรามักจะให้รางวัลกับตัวเอง ด้วยสิ่งที่ขัดกับเป้าห ม ายหลักของเรา เช่น เมื่อเราลดน้ำหนักมาได้ระดับหนึ่ง เราจะให้รางวัลกับตัวเองด้วยบุฟเฟ่ต์จุก ๆ หรือ ไอศกรีมก้อนโต

ซึ่งถึงแม้จะดูสมเหตุสมผลที่เราจะให้รางวัลกับตัวเองเป็นความสุขสบาย หลังจากเหนื่อยล้ามานาน แต่จะดีกว่าไหม หากเราเลือ กให้ “รางวัลที่ให้รางวัลเรากลับ” (Reward that rewards you back)

อย่างเช่น เมื่อเราเก็บเงินใกล้ถึงเป้าห ม าย เราอาจจะรู้สึกว่าเก็บเงิน มาตั้งนานแล้ว อยากใช้เงินบ้าง โดยปกติเราอาจเลือ กชอปปิ้งสินค้าแบรนด์หรูที่อยากได้มานาน

แต่ครั้งนี้ลองเปลี่ยน มาเป็นชอปปิ้งในสินทรัพย์ หรือนำเงิน มาลงทุนต่อ แล้วใช้กำไรจากการลงทุนนั้น มาซื้อสินค้าก็ดูดีไม่ใช่น้อย

meko

Share
Published by
meko