การหย่าร้าง อาจทำให้สิ้นสุดสถานะความเป็นครอบครัว แต่สถานะความเป็นพ่อแม่ผู้ปกครองไม่อาจจบลงได้ เมื่อมีเหตุแยกทาง หย่าร้าง การแบ่งสิทธิ์เลี้ยงดูลูกจึงเป็นเรื่องละเอียดอ่อน
เพราะเหตุแห่งการหย่าร้าง ความพร้อม รวมถึงความยินยอมแต่ละครอบครัวแตกต่างกันไป บ้างตกลงได้ บ้างตกลงไม่ได้และจบที่ชั้นศาล เพื่อความเป็นธรรมเรามาดูกันว่า สิทธิ์เลี้ยงดูลูกโดยชอบธรรมตามกฎห ม ายพิจารณาอย่างไรบ้าง
สิทธิ์เลี้ยงดูลูกแบ่งเป็นกี่ประเภท?
ตามประมวลกฎห ม ายแพ่งและพาณิชย์ แบ่งสิทธิ์การเลี้ยงดูบุตรตามสถานะของบิดามารดา ออ กเป็น 3 กรณี คือ
1. บิดามารดาจดทะเบียนสมรสกัน แล้วหย่ากันหลังมีบุตร
เมื่อบิดามารดาหย่ากัน ต้องมีการตกลงกันว่าใครจะเป็นคนเลี้ยงดูบุตรเป็นหลัก หรือจะร่วมกันเลี้ยงดูอย่างไร เช่น การตกลงวันที่จะสลับให้บุตรอยู่กับบิดามารดา
หรือหากมีบุตร 2 คน ก็อาจจะแบ่งเลี้ยงดูคนละคน แต่ถ้าตกลงกันไม่ได้ก็ต้องดำเนินการให้ศาลตัดสิน
ดังนั้น การหย่า คือ การสิ้นสุดการสมรสในทางกฎห ม าย ตามประมวลกฎห ม ายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1520 ในกรณีหย่าโดยความยินยอม ให้สามีภริยาทำความตกลงเป็นหนังสือว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรคนใด ถ้ามิได้ตกลงกันหรือตกลงกันไม่ได้ ให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาด
ในกรณีหย่าโดยคำพิพากษาของศาล ให้ศาลซึ่งพิจารณาคดีฟ้องหย่านั้นชี้ขาดด้วยว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรคนใด
ในการพิจารณาชี้ขาดถ้าศาลเห็นว่ามีเหตุที่จะถอนอำนาจปกครองของคู่สมรสนั้นได้ (ตามมาตรา 1582 อำนาจปกครองเกี่ยวแก่ตัวผู้เยาว์โดยมิชอบก็ดี หรือประพฤติชั่วร้ า ย)
ศาลจะถอนอำนาจปกครองของคู่สมรสและสั่งให้บุคคลภายนอ กเป็นผู้ปกครองก็ได้ ทั้งนี้ ให้ศาลคำนึงถึงความผาสุกและประโยชน์ของบุตรนั้นเป็นสำคัญ
มาตรา 1522 ถ้าสามีภริยาหย่าโดยความยินยอม ให้ทำความตกลงกันไว้ในสัญญาหย่าว่าสามีภริยาทั้งสองฝ่าย หรือสามีหรือภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะออ กเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเป็นจำนวนเงินเท่าใด
ถ้าหย่าโดยคำพิพากษาของศาลหรือในกรณีที่สัญญาหย่ามิได้กำหนดเรื่องค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรไว้ ให้ศาลเป็นผู้กำหนด
อย่างไรก็ตาม การหย่าไม่ว่าจะด้วยความยินยอม หรือจากคำสั่งศาล พ่อหรือแม่ ที่ไม่ได้เป็นฝ่ายที่มีสิทธิ์เลี้ยงดูลูก ก็มีสิทธิ์ตามกฎห ม ายที่จะติดต่อพบปะแล้วแต่ตกลง
ตามมาตรา 1584/1 บิดาหรือมารดาย่อมมีสิทธิที่จะติดต่อ กับบุตรของตนได้ตามควรแก่พฤติการณ์ ไม่ว่าบุคคลใดจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครองก็ตาม เช่น ต้องได้เจอลูกสัปดาห์ละหนึ่งครั้ง
2. บิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันขณะมีบุตร
หากบุตรเกิดจากบิดามารดาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน และบิดาไม่ได้จดทะเบียนรับรองบุตร กฎห ม ายจะให้สิทธิ์ทั้งหมดเป็นของมารดาแต่เพียงผู้เดียว เพราะถือเป็นผู้ตั้งครรภ์และให้กำเนิด
แต่หากบิดาต้องการสิทธิ์เลี้ยงดูบุตร จะต้องจดทะเบียนรับรองบุตร หรือจดทะเบียนสมรสกันภายหลัง หรือหากตกลงไม่ได้ก็ต้องฟ้องศาลเพื่อขอเลี้ยงดูบุตร ตามประมวลกฎห ม ายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1546 เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชาย ให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎห ม ายของหญิงนั้น เว้นแต่จะมีกฎห ม ายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
มาตรา 1547 เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกัน จะเป็นบุตรชอบด้วยกฎห ม ายต่อเมื่อบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลังหรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร
การขอจดทะเบียนรับรองเป็นบุตร เป็นผลดีต่อบุตรทั้งสิ้น ทั้งในสิทธิ์การรับมรดก การใช้นามสกุล ค่าอุปการะเลี้ยงดูร่วม แต่การจดขอรับรองบุตรต้องผ่านการยินยอมจากทั้งตัวเด็กเองและมารดาของเด็กด้วย
ในกรณีที่เด็กหรือมารดาเด็กคัดค้านว่าผู้ขอจดทะเบียนไม่ใช่บิดา หรือไม่ให้ความยินยอม หรือไม่อาจให้ความยินยอมได้ การจดทะเบียนรับรองให้เด็กเป็นบุตรต้องมีคำพิพากษาของศาล
3. หากไม่ปรากฏบิดา
กรณีนี้สิทธิ์เลี้ยงดูลูก จะเป็นของมารดาแต่เพียงผู้เดียว โดยสามารถระบุชื่อมารดาในใบสูจิบัตรได้โดยไม่มีผลต่อ การติดต่อราชการใดๆ แต่หากพบว่ามีการขอ
หรือเป็นฝ่ายร้องขอให้บิดามารับรองบุตร ก็สามารถเพิ่มชื่อบิดาได้ภายหลัง ซึ่งนายทะเบียนจะออ กเป็นใบสูจิบัตรให้ใหม่ แต่ต้องมีหลักฐานการตรวจ DNA ยืนยันความเป็นบิดาที่แท้จริงเท่านั้น
หากมีคำสั่งศาลจากการขอ หรือถูกร้องขอให้ตรวจ DNA สามารถทำได้ตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 160 แต่ต้องได้รับการยินยอมจากทุกฝ่าย
การหย่าร้าง แยกทาง เป็นเรื่องที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น แต่เมื่อทุกอย่างต้องดำเนินต่อไปการตกลงสิทธิ์เลี้ยงดูลูก ต้องคำนึงถึงความผาสุกและประโยชน์ของบุตรด้วย