พ่อแม่หย่าร้างกัน บอ กลูกอย่างไรดี

การแต่งงาน ไม่ใช่บทสรุปของความรัก แต่เป็นจุดเริ่มต้นของการใช้ชีวิตคู่ต่างหาก ดังนั้น เมื่อได้มาใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันเป็นครอบครัวเดียวกัน

อาจจะมาพบปัญหาทีหลังว่าไม่สามารถไปกันต่อได้ มีความขัดแย้งเกิดขึ้น ซึ่งทั้งสองฝ่ายพยายามหาทางแก้ไขร่วมกันแล้ว แต่ก็พบว่าการตัดสินใจแยกทางกันอาจเป็นทางออ กที่ดีที่สุด

เมื่อปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างสามี-ภรรยา มันบานปลายจนถึงขั้นนำไปสู่การหย่าร้าง เป็นวิ ก ฤ ติที่ไม่มีใครอยากเผชิญ แต่ในเมื่อไปกันไม่ได้

จะดันทุรังไปต่อ ก็ไม่ใช่ ซึ่งการแยกทางกันของคู่สามี-ภรรยาจะเป็นเรื่องที่ง่ายกว่ามาก หากไม่มี “ลูก” มาเป็นตัวแปรสำคัญ การจะบอ กลูกว่าพ่อแม่แยกทางกันแล้วนั้น เป็นเรื่องที่สร้างความลำบากใจให้คนเป็นพ่อเป็นแม่ไม่น้อย

เพราะลูกคุ้นเคยกับการมีครอบครัวที่อยู่ด้วยกันพร้อมหน้า เมื่อสิ่งนี้ต้องจบลง มันอาจกระทบต่อสภาพจิ ตใจและส่งผลต่อพฤติกรรมของเด็ก

เด็กจะกังวล และกลัวว่าพ่อแม่จะไม่รักเขาแล้ว จะไม่มีใครดูแลเขา เพราะพ่อแม่เลิกกัน ความรู้สึกแบบนี้อาจสร้างปมในใจเด็ก

หรือความเจ็บปวดจากการที่ขาดพ่อหรือแม่ไป การเลิกรากัน ขนาดผู้ใหญ่ยังตัดสินใจยาก แล้วเด็ก ๆ ล่ะ จะผ่านเรื่องนี้ไปได้อย่างไร จึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะอธิบายให้ลูกเข้าใจ

การหย่าร้าง เป็นเรื่องที่ลูก ๆ ทุกคนไม่อยากให้เกิด แต่เมื่อมันกำลังจะเกิด พ่อแม่จำเป็นต้องให้ลูกรับรู้ด้วย สิ่งสำคัญที่สุดคือ

พ่อแม่ต้องช่วยกันทำให้ลูกผ่านเรื่องนี้ไปได้โดยไม่รู้สึกโดดเดี่ยว ไม่รู้สึกว่าตัวเองเป็นตัวปัญหา หาวิธีและทางออ กที่เห ม าะสมในการบอ กลูก หากพ่อแม่มีวิธีที่ดี เชื่อได้ว่าทุกคนจะผ่านเรื่องราวในครั้งนี้ไปได้

พูดความจริงและอธิบายให้เข้าใจถึงสิ่งที่เกิดขึ้น

ไม่มีใครชอบคนโกหก หรือ การปิดบังความจริง แม้แต่เด็ก ๆ เอง เพราะสุดท้ายเขาก็ต้องรู้เข้าสักวัน ซึ่งเขาจะผิดหวัง และหมดความเชื่อใจพ่อแม่ทันทีที่รู้ว่าพ่อแม่ปิดบังเขามานานขนาดนี้

การพูดคุยเรื่องหย่ากับลูกตรง ๆ จะทำให้เขาปรับตัวและยอมรับความจริงได้ง่ายกว่า ให้เขาได้ถามในสิ่งที่เขาอยากรู้ เขาจะพยายามเข้าใจ

ไม่ตั้งคำถามเองตอบเองว่าทำไมพ่อแม่ต้องแยกทางกัน ที่สำคัญจะลดความกดดันในการพยายามทำให้พ่อแม่กลับมาคืนดีกัน เพียงแต่การพูดคุยก็ต้องเป็นภาษาที่เห ม าะสมกับวัยของเด็ก และไม่จำเป็นต้องพูดรายละเอียดที่อาจกระทบจิ ตใจลูก

พ่อแม่หย่ากัน แต่ยังเป็นพ่อและแม่คนเดิมของลูก

ไม่ว่าในตอนสุดท้ายลูกจะอยู่กับใครก็ตาม ทั้งพ่อและแม่ต้องปฏิบัติต่อลูกแบบเดิมที่เคยทำ แรก ๆ เขาอาจไม่เข้าใจและมีคำถามว่า “ทำไม” บ่อยครั้ง

แต่ถ้าพ่อแม่ยังเอาใจใส่ ยังรัก เขาจะเริ่มเข้าใจและค่อย ๆ ปรับตัวเพราะเขารู้ว่าพ่อแม่คือคนเดิมที่ยังรักเขาเหมือนเดิม และจะไม่เปลี่ยนแปลงแม้ว่าจะแยกทางกันแล้ว

ถึงจะไม่มีสถานภาพ “สามี-ภรรยา” แต่ความเป็น “พ่อ-แม่” ต้องไม่เปลี่ยนแปลง ดังนั้น ควรให้โอ กาสลูกได้ติดต่ออีกฝ่ายที่แยกออ กไปอย่างสม่ำเสมอ

ว่าเขาไม่ได้ขาดใครไป ร่วมมือ กันเพื่อเลี้ยงลูก คงความสัมพันธ์ที่ดีในฐานะพ่อแม่ของลูกตามปกติต่อไป

สร้างความมั่นใจว่าไม่ใช่ความผิดของเขา

ส่วนใหญ่แล้วเด็ก โดยเฉพาะเด็กเล็ก มักจะคิดว่าการที่พ่อหรือแม่คนใดคนหนึ่งไม่อยู่กับเขาแล้ว แปลว่าเ ก ลี ย ดเขา เพราะเขาดื้อ ทำตัวไม่ดี (ที่เคยถูกดุ) เรียนไม่เก่ง

พ่อหรือแม่ก็เลยทนไม่ได้จนออ กจากบ้านไป เพราะฉะนั้น การย้ำด้วยความจริงใจและนุ่มนวลว่าเขาไม่ใช่ต้นเหตุของการหย่าร้างนี้จึงสำคัญมาก

พ่อแม่ต้องสร้างความมั่นใจและความเข้าใจกับลูกให้ดี ทางออ กที่ดีที่สุดคือบอ กเหตุผลเขาไปตรง ๆ ว่าการที่พ่อแม่อยู่ด้วยกันไม่ได้เป็นการตัดสินใจของพ่อแม่เอง (แต่ไม่จำเป็นต้องลงรายละเอียด) ถึงแม้พ่อแม่จะไม่ได้อยู่ด้วยกันแล้ว ก็ยังรักลูกเหมือนเดิม

อย่าบังคับให้ลูกเลือ กเข้าข้างฝ่ายใคร

การให้ลูกมีส่วนร่วมเกี่ยวกับสถานะที่เปลี่ยนไปของพ่อแม่ ต้องไม่ใช่การบังคับให้ลูกเลือ กว่าจะอยู่กับใคร ให้เลือ กว่าเข้าข้างใคร หรือพยายามดึงลูกให้มาสนับสนุนฝ่ายตน (แต่ถ้าเด็กเลือ กเองก็เป็นอีกเรื่อง)

นี่เป็นความผิดพลาดที่เ ล วร้ า ยมากต่อความรู้สึกของลูก เด็กจะลำบากใจที่ต้องเลือ ก รู้สึกผิดหากต้องทิ้งฝ่ายใดไป และกลัวว่าฝ่ายที่เขาไม่เลือ กจะไม่รักเขาอีกต่อไป

เพราะเขารักทั้งพ่อและแม่ เขาไม่สามารถตัดสินใจได้ว่าทางเลือ กที่ดีที่สุดของตัวเองคืออะไร ฉะนั้น พ่อแม่ต้องตกลงกันให้เรียบร้อย ที่สำคัญ อย่ากีดกัน หรือแสดงความไม่พอใจที่ลูกไปยุ่งกับอีกฝ่าย

อย่าทำให้บรรยากาศในบ้านเต็มไปด้วยความขัดแย้ง

ขึ้นชื่อว่าการหย่าร้าง มีหลายครอบครัวมาก ๆ ที่จบไม่สวย จบแบบเ ก ลี ย ดกัน และมักจะลงเอยด้วยการด่ากันด้วยถ้อยคำรุนแรงห ย า บคายต่อหน้าลูก

พูดให้ร้ า ยหรือพูดถึงข้อเสียของอีกฝ่ายให้ลูกฟัง หรือใช้ลูกเป็นตัวกลางในการสื่อส า รในด้านลบ ที่หนักกว่าคือ กรณีการทำร้ า ยร่างกาย ทำให้บรรยากาศในบ้านอึมครึม

เต็มไปด้วยความขัดแย้ง เด็กจะรู้สึกว่าบ้านไม่ใช่ที่ที่ปลอดภัยสำหรับเขาอีกต่อไป การอยู่บ้านเป็นเรื่องที่เขาพยายามหลีกเลี่ยง รวมถึงมองว่านี่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นปกติของคนที่หย่าร้างกัน ซึ่งอาจทำให้เขามีพฤติกรรมในลักษณะเดียวกันเมื่อโตขึ้น

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *