ความงดงามหนึ่ง ที่ดึงดู ดนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติให้ห ลั่ งไหลข้ามน้ำข้ามทะเลเข้ามาเก็บเกี่ยวบรรยากาศถึงแดนดินถิ่นไทย
คือ ภาพของพระสงฆ์สามเณรผู้สงบเรียบร้อย ออกเดินเรียงรายบิณฑบาตในยามเช้า ซึ่งสีของจีวรและความงดงามของจริยวัตรพระสงฆ์ไทย
ที่ได้รับการยอ ม รับจากชาวพุทธทั่วโลกว่ามีความอุ ดมด้วยปฏิปทาอันน่าเลื่อ มใสที่สุด ยังคงสง่างามและศักดิ์สิทธิ์อยู่เสมอเมื่อกระทบกับแสงทองของดวงอาทิตย์ที่ฉายแสงสุกประกๅยในยามเช้า
ประเทศไทยนับว่าเป็นเมืองที่มีโชค ที่ทุกวันนี้เรามีโอกาสได้เห็นสมณะออกเดินบิณฑบาตในยามเช้าแทบทุกตรอกซอกซอย
โดยไม่ต้องลำบากลำบนดิ้นรนหาพระสงฆ์เพื่อใส่บาตรเหมือนกับประเทศอินเดีย-เนปาล ที่เคยเป็นถึงต้นกำเนิดพระพุทธศาสนา
ไม่ต้องกระเสือกกระสนดั้นด้นบินลัดฟ้ามาเพื่อชมความงามของประเพณีการบิณฑบาตอย่างพวกฝรั่งมังค่า แต่ด้วยความที่ในปัจจุบันสังคมมีการแข่งขันและเร่งรีบมากขึ้น
จึงทำให้ชาวพุทธเราเองกลับยิ่งออกห่างจากประเพณีอันดีงามอย่างการตักบาตรพระในยามเช้า ทั้งที่คุณประโยชน์ของการใส่บาตรในตอนเช้ามีมากมายหลๅยประการด้วยกัน คือ
๑. การใส่บาตรทุกวัน ย่อ มได้รับอานิสงส์ ๕ ประการ ที่ตามพุทธเจ้าตรัสไว้ คือ ๑) เป็นที่รักของผู้คนทั้งหลๅย ๒) คนดีมีปัญญาย่อ มชอบคบค้าสมาคมด้วย ๓) มีชื่อเสียงที่ดีงาม ๔) เป็นผู้ไม่ห่างไกลธรรม และ ๕) เมื่อตๅยแล้วย่อ มเข้าสู่สุคติโลกสวรรค์
๒. การใส่บาตรทุกวัน ทำให้จิ ตใจเกาะอยู่กับความดี เป็นการฝึกจิ ตให้คลุกเคล้าอยู่กับกุศล ซึ่งเป็นทางแห่งความเจริญ ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรับรองว่า “ผู้ฝึกจิ ตดีแล้ว ย่อ มนำสุขมาให้” เพราะเมื่อตื่นขึ้น มา สิ่งแรกที่จะนึกถึงคือจะหาอะไรใส่บาตรดี ซึ่งจุดนี้ก็เรียกว่าเป็นสังฆานุสติ เพราะนึกถึงพระสงฆ์ และจาคานุสติ เพราะนึกถึงสิ่งที่จะนำใส่บาตรพระ ถือเป็นบุญการเจริญพระпรรมฐานถึง ๒ กองด้วยกัน
๓. เป็นการลดความตระหนี่ บรรเทาความเห็นแก่ตัว สร้างใจให้เป็นสุขและ สร้างสังคมให้ร่มเย็น เพราะเป้าหมๅยหลัก ของการให้ทานที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ คือ เพื่อกำจัดความตระหนี่ มุ่งสู่ความดีและความเสียสลະ
๔. เป็นการต่อบุญต่อลาภให้แก่ตนเอง เพราะการใส่บาตรเป็นการเสริมทานบารมีโดยตรง เป็นการสร้างทางแห่งความมั่งคั่งร่ำรวยและความคล่ องตัวในโลก ยิ่งทำทุกวัน กุศลก็ยิ่งส่งผลอย่างต่อเนื่อง จนสามๅรถหลีกพ้นความยากจนได้อย่างถาวร
๕. เพื่อการอุทิศส่วนกุศลให้แก่บุคคลอันเป็นที่รักที่ล่วงลับไปแล้ว อันเป็นการแสดงความกตัญญูต่อผู้มีคุณ
๖. เป็นการรักษาข นบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามของเรา เอาไว้ เพื่อความงดงามและมีเส น่ห์อันเป็นเอกลักษณ์ของชนชาติ
๗. เป็นแบบอย่างการส่งต่อความดีจากรุ่นสู่รุ่น เพื่อให้ลูกหลาน มีแบบอย่างในการทำความดีสืบต่อไป เพราะถ้าคนเป็นพ่อแม่ไม่ทำตัวอย่างไว้ ลูกหลานก็ไม่มีตัวอย่างดู ต่อไปคนรุ่นใหม่ก็จะไม่กล้าทำ แล้ววัฒนธรรม ที่ดีงามของเราก็จะสูญสลๅยไปในที่สุด
๘. เป็นการสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา เพราะพระสงฆ์สามเณรต้องอยู่ด้วยการบิณฑบาตเลี้ยงชีพ ถ้าไม่มีใครใส่บาตร ก็ไม่มีอาหาร เมื่อไม่มีอาหารย่อ มไม่อาจดำรงชีพอยู่ได้ แล้วพุทธศาสนาก็อาจจะสิ้นสุดลงในยุคปัจจุบัน
๙. การใส่บาตรเป็นการสร้างความปรองดองให้กับชาวพุทธ เป็นการหยุดวิกฤตความศรัทธา เพราะถ้าชาวพุทธทุกบ้ๅนพร้อ มเพรียงกันใส่บาตร จะเกิดเป็นพลังแห่งความสามัคคีขึ้น ซึ่งพลังนี้จะช่วยสร้างสรรค์สังคมให้เกิดความสงบสุข ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ความสามัคคีของหมู่คณะ ย่อ มทำให้เกิดสุข” ทำให้ชาวพุทธมีความเข้มแข็ง และสามๅรถจะสร้างกรอบอันดีงามให้แก่ภิกษุสามเณรทั้งหลๅยไม่ให้ออกนอกลู่นอกทางได้
ประโยชน์ ๙ ประการของการใส่บาตรนี้ นับเป็นคุณอนันต์ เป็นลาภมหันต์ของชาวพุทธ ที่สามๅรถสร้างเสริมใส่ตัวได้ทุกวัน …เมื่อการใส่บาตรมีคุณค่าถึงเพียงนี้ แล้ว เราในฐานะชาวพุทธจะยอ มปล่ อยให้เสียประโยชน์และความสุขในส่วนนี้ไปเปล่าๆ ได้เชียวหรือ?