การทະ เลาະกันเรื่องเงินๆ ทองๆ เป็นปัญหาอันดับต้นๆ ของคู่สามีภรรยา และทำให้หลายคู่ต้องลงเอยด้วยการหย่าร้างมาแล้ว และเราควรทำอย่างไรเพื่อป้องกันไม่ให้เรื่องการเงิน มาทำลายความสัมพันธ์ของเรา
เงินฉัน เงินเขา เงินเรา
ในบางคู่ ทั้งสองคนต่างก็ทำงาน และไม่มีเวลามาตกลงกันเรื่องการเงิน จึงลงเอยด้วยการหารกัน หรือแบ่งกันออ กเงินอย่างยุติธรรม ส่วนเงินที่เหลือ ก็สามารถใช้ตามใจแต่ละคนได้
ฟังดูแล้วเหมือนจะเป็นแผนที่ดี แต่กระบวนการนี้มักจะทำให้เกิดความไม่พอใจเกี่ยวกับการซื้อของของอีกฝ่าย และยังเป็นการแบ่งอำนาจการใช้จ่าย
ทำให้คุณค่าทางการเงินที่ควรมากับการแต่งงานหายไปอย่างมาก รวมถึงความสามารถในการวางแผนอนาคตระยะยาว เช่น ซื้อบ้าน หรือเป็นกองทุนไว้ใช้ตอนเกษียณ
นอ กจากนี้ อาจเกิดเหตุการณ์ที่ฝ่ายหนึ่งซ่อนเงินไว้ไม่ให้อีกฝ่ายรู้ และยังเป็นภาระเมื่อมีใครตกงาน ออ กมาเลี้ยงลูก หรือมีเหตุให้ไม่มีรายได้เหมือนเคย คู่รักต้องคุยกันในเรื่องเหล่านี้ก่อนที่เหตุการณ์จะเกิดขึ้น
หนี้สิน
หากฝ่ายหนึ่งมีหนี้สินติดตัวมามากกว่าอีกฝ่าย อาจเป็นเหตุให้ทະ เลาະกันเมื่อคุยเรื่องรายได้ ค่าใช้จ่าย และการจ่ายหนี้ คนที่อยู่ในสถานการณ์นี้อาจรู้สึกดีขึ้นเมื่อรู้ว่าหนี้ที่มีมาก่อนการสมรส
ถือเป็นหนี้ของคนนั้นคนเดียว ส่วนหนี้ที่เกิดหลังสมรส อาจเป็นหนี้ส่วนตัวของฝ่ายหนึ่ง เช่น หนี้ที่เกิดจากสัญญาค้ำประกัน หนี้เพื่อเลี้ยงดูภรรยาน้อย
และสินเชื่อเพื่อประโยชน์ของฝ่ายเดียว หรือเป็นหนี้ร่วมของทั้งสองฝ่ายก็ได้ (ข้อมูลเกี่ยวกับกฎห ม ายหนี้ในประเทศไทยจากบทความเรื่อง เคล็ดลับ “แต่งงาน ไร้หนี้” ของคุณจิดาภา สีม่วง)
ลักษณะนิสัย
หากทั้งสองคน มีนิสัยต่างกัน มาก เช่น คนหนึ่งเป็นนักออม ส่วนอีกคนเป็นนักช้อป ก็อาจทະ เลาະกันได้
เพราะฉะนั้นจึงจำเป็นที่ต้องรู้นิสัยการใช้เงินของตัวเราเองและคู่ของเรา และคุยเรื่องความต่างนี้ ดูว่าอะไรเป็นนิสัยที่ไม่ดี และหาทางคุมไม่ให้เกินเลย
อำนาจนิยม
ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจมีอำนาจเหนือ กว่าอีกฝ่ายเมื่ออีกฝ่ายไม่ได้ทำงาน มีรายได้น้อยกว่ามาก หรือมีต้นทุนทางการเงินที่ต่ำกว่า เช่น ที่บ้านอาจไม่รวยเท่า ในสถานการณ์เหล่านี้ ฝ่ายที่มีรายได้สูงหรือมีเงิน มากกว่า
อาจต้องการเป็นคนตัดสินใจว่าจะใช้เงินไปกับอะไรเป็นอันดับต้นๆ ถึงแม้ว่าจะดูมีเหตุมีผล การที่ทั้งคู่ร่วมมือเป็นทีมเดียวกันนั้นยังคงเป็นสิ่งสำคัญ และต้องทราบว่าถึงแม้จะเปิดบัญชีร่วม ก็ใช่ว่าจะแก้ปัญหาอำนาจที่ไม่เท่าเทียมนี้ได้
บุตร
จะมีลูกหรือไม่มีดี คำถามนี้น่าจะเป็นคำถามแรกๆ ที่คุยกัน ปัจจุบันค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงลูก 1 คน (อายุ 0-14 ปี) ในประเทศไทยอยู่ที่ประมาณ 1.57 ล้านบาท
และนี่คือแค่ 14 ปีแรกเท่านั้น (ข้อมูลการประเมินต้นทุนการเลี้ยงลูกจากบทความเรื่อง ต้นทุนการเลี้ยงดูบุตร (อายุ 0-14 ปี) ในประเทศไทย ของคุณเฉลิมพล แจ่มจันทร์ คุณสุภรต์ จรัสสิทธิ์ และคุณณัฐณิชา ลอยฟ้า มหาวิทยาลัยมหิดล)
การมีลูกนอ กจากจะห ม ายถึงค่าใช้จ่ายที่ตามมาแล้ว เรายังต้องคิดถึงสถานการณ์ที่หากใครคนใดคนหนึ่งไม่มีรายได้เท่าเดิม จะทำให้แผนการเกษียณ ไลฟสไตล์ รวมทั้งเรื่องอื่นๆ เปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง
ครอบครัวขยาย
การจัดการเรื่องการเงินในขณะที่ยังเคารพเป้าห ม าย ความต้องการ และความคาดหวังของคู่สมรสเกี่ยวกับครอบครัวขยายไม่ง่ายสักทีเดียว
หากคนหนึ่งนำเงินไปให้คุณพ่อคุณแม่เที่ยว อีกคนหนึ่งอาจคิดว่าทำไมไม่ใช้เงินนี้เที่ยวกันเอง ในทางกลับกัน หากพ่อแม่คนหนึ่งซื้อของขวัญราคาแพงให้หลาน แต่พ่อแม่อีกคนทำไม่ได้ ก็อาจทำให้ขุ่นเคืองได้เหมือนกัน
วิธีป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาเหล่านี้วิธีที่ดีที่สุดคือ การคุยกันอย่างจริงใจ บอ กความคาดหวัง เป้าห ม าย และความกังวลให้อีกฝ่ายได้รู้ รวมทั้งเห็นอ กเห็นใจและเข้าใจอีกฝ่าย
การแต่งงานกัน มีข้อดีคือเหมือนเรามีรายได้เพิ่มขึ้นเท่าตัวในขณะที่รายจ่ายไม่ได้เพิ่มเท่าตัวตาม หากทั้งสองคน มีเป้าห ม ายที่สอดคล้องกันแล้ว จะสามารถไปถึงเป้าห ม ายนั้นได้เร็วกว่าไปคนเดียวมาก
อย่างไรก็ดี ถึงแม้จะตกลงกันได้เรียบร้อย 99% แล้ว ไม่แปลกเลยถ้าจะยังคงทະ เลาະกันเรื่องเงินในบางคราว ทางที่ดีควรคุยเรื่องนี้อย่างสม่ำเสมอ จริงใจ และไม่ตัดสินอีกฝ่ายล่วงหน้า เพื่อเช็คว่าเรากำลังเดินทางไปสู่เป้าห ม ายระยะสั้นและระยะยาวอยู่หรือไม่