ปัจจัยที่ทำให้ การเงินของคุณย่ำแย่

คุณอาจจะเป็นบุคคลหนึ่งที่ได้ศึกษาเรื่องเกี่ยวกับ การเงิน และการลงทุน มาพอสมควร ได้เรียนรู้วิธีการที่จะนำไปสู่ความร่ำรวย และมีอิสรภาพทาง การเงิน แต่ยังลงมือทำไม่ได้ ยังคงมีพฤติกรรมบางอย่างที่ทำลายความมั่นคงในอนาคตของคุณอยู่

1. ยังใช้ชีวิตติดหรู และชอบการสังสรรค์เป็นชีวิตจิ ตใจ

การใช้ชีวิตแบบ สุ ร านารีไม่เคยขาด นี่คือตัวบ่นทำลายทรัพย์สินจริงๆ ถ้าเอาเงินที่หมดไปกับการเ ส พความสุขแบบไร้ประโยชน์อีกทั้งยังทำลายสุขภาพตัวเองให้ทรุดโทรมในแต่ละเดือน มานั่งนับกันดู

จะพบว่าหมดเงินไปไม่น้อยเลยใช่ไหมล่ะ ฉะนั้นถ้างดได้ จะทำให้คุณมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นแน่นอน

2. ใช้จ่ายเกินฐานะ

เคล็ดลับความร่ำรวยที่ชาวจีน มักจะสอนลูกหลาน และปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอนั่นคือ การกินอยู่ให้ต่ำกว่าฐานะ หรือ การใช้จ่ายให้น้อยกว่ารายได้นั่นเอง

บางคนยังชอบทำอะไรตามใจแบบไทยแท้ อยากกินของดีดี ใช้ของใช้ หรือเสื้อผ้าราคาแพง ติดความหรูหรา ติดแบรนด์ ยอมจ่ายแพงเพื่อสิ่งที่ต้องการ

เพื่อที่จะได้รับการยอมรับจากสังคม ถือคติว่าจ่ายเท่าไหร่ก็ยอม เดี๋ยวค่อยหาใหม่ พฤติกรรมการงานใช้เงินแบบนี้ นำไปสู่การเป็นหนี้ และอนาคตทางการเงินที่ไม่มั่นคง

3. ขาดการวางแผนการเงินที่ดี

ทั้งที่เรารู้ว่า ความมั่นคงทางการเงินนั้นเกิดจากการวางแผนที่ดี คือรู้จักการใช้เงินของตนเองว่ามีรายได้เท่าไหร่ ใช้มากใช้น้อยเท่าไหร่

มีวิธีไหนที่จะเพิ่มรายได้เข้ามาได้บ้าง แล้ววางแผนค่าใช้จ่ายทั้งแบบรายวัน และรายเดือนออ กเป็นส่วนๆ

อย่างเช่น ค่ากิน ค่าเดินทาง ค่าโทรศัพท์ ค่าเช่าบ้าน ค่าใช้จ่ายทั่วไป ค่าน้ำค่าไฟ ค่ารักษาพยาบาล เงินออม เป็นต้น

แต่หลายคนยังขาดการวางแผน ทำให้ไม่รู้ถึงขีดจำกัดของตัวเอง เมื่อใช้จ่ายฟุ่มเฟือยทำให้ไปกระทบกับค่าใช้จ่ายที่จำเป็น

เมื่อไม่พอ ก็ต้องไปหยิบยืมเอาเงินในอนาคตมาใช้ จะสร้างหนี้ และทำให้คุณไม่มีเงินเก็บเพื่อความมั่นคงในอนาคตเลย

4. ใช้จ่ายอย่างอื่นก่อนให้ตนเอง

90 % ของคนทั่วไปมักใช้เงินแบบมีก็ใช้ ไม่มีก็ยืม เพราะขาดการวางแผนในการใช้เงิน ถ้ามีการวางแผนที่ดีแล้วนั้น คุณจะรู้ทันทีว่า เมื่อมีรายได้เข้ามา

ก่อนอื่นควรจ่ายให้กับตัวเอง หรือเก็บออมเสียก่อน เพราะถ้าไม่ออมก่อน คิดเพียงว่าเหลือแล้วค่อยออม อาจไม่เหลือเงินให้ออมได้ แม้คุณจะมีรายได้มาก

คิดว่าใช้จ่ายไม่เท่าไหร่ยังไงก็เหลือ แต่เชื่อเถอะว่าธรรมชาติของมนุษย์ล้วนแล้วมีกิ เลสอยู่รอบตัว การที่เหลือแล้วค่อยเก็บอาจจะเป็นเรื่องยาก

และไม่สามารถประเมินได้เลยว่าเงินที่เก็บมาทั้งชีวิตจะเพียงพอที่จะเป็นหลักประกันความมั่นคงในชีวิตและครอบครัวได้หรือไม่

5. ผัดผ่อนหนี้

หนี้สินเมื่อเกิดขึ้น มาแล้วก็เป็นอีกภาระหนึ่งที่คุณต้องแบกรับ หลายคนผัดผ่อน เมื่อถึงเวลาก็ไม่ยอมชำระ บ้างก็ยอมจ่ายดอ กเบี้ยเพิ่ม เพื่อแลกกับการชำระไม่ตรงเวลา

ด้วยเหตุผลที่ว่าหาเงิน มาใช้ไม่ทันบ้าง หรือต้องการนำเงินไปใช้อย่างอื่นก่อนบ้าง พฤติกรรมเหล่านี้เองที่จะทำลายความมั่นคงทางการเงินแบบที่ไม่รู้ตัว

เพราะการผัดผ่อนไม่ชำระหนี้ เมื่อมีครั้งแรกได้ ก็มีแนวโน้มที่จะมีครั้งต่อๆไปจนกลายเป็นความเคยชินไปโดยปริยาย

6. ขาดการแสวงหาความรู้ในเรื่องของการลงทุน

เมื่อทำงาน มีเงินเก็บได้สักก้อนแล้ว บางคนเริ่มมองหาทางลงทุนทำให้เงินที่มีอยู่ใน มืองอ กเงย นั่นเป็นเรื่องที่ดี แต่ก็เป็นความเสี่ยงอย่างหนึ่งเหมือนกันถ้าไม่มีความรอบคอบ

วิเคราะห์ให้ละเอียดถี่ถ้วนก่อน ที่เห็นกันบ่อยๆก็คือ การลงทุนในหุ้น ที่ซื้อหุ้นตามความนิยมบ้าง หรือซื้อตามที่คนรู้จักบอ กมาบ้าง

ซึ่งการลงทุนแบบนี้ไม่ได้เกิดจากการคิดวิเคราะห์ด้วยตัวเอง ผลการลงทุนจะเป็นอย่างไรก็ไม่มีใครบอ กได้ ได้ก็ดีไป แต่หากการลงทุนผิดพลาด ก็ไม่ต่างอะไรกับการเอาเงินของตัวเองไปฝากไว้กับคนอื่น

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *