รายจ่ายในชีวิตประจำวันนั้น มีอยู่มากมาย แล้วจะมีวิธีเก็บเงินอย่างไร? เรามาลองดูกันว่าถ้าอยากมีเงินเก็บมากขึ้นเพื่อสร้างความมั่นคงให้กับชีวิต มีเทคนิคอะไรที่ทำได้ในชีวิตประจำวันกันบ้าง
1. จัดสมการตั้งต้นการออม
เราไม่ควรมองเงินออมเป็นเงินเหลือ แต่ควรมองเป็นเงินที่ถูก “จัดหมวดหมู่” เอาไว้ว่านี่คือเงินออมโดยเฉพาะ เช่น เราจะออมเงิน 1,000 บาท โดยเรามีเงินเดือน 15,000 บาท แปลว่าเราต้องใช้จ่ายให้ไม่เกิน 14,000 บาท เมื่อคิดใน มุมนี้ สมการที่ควรจะเป็น คือ รายได้ – เงินออม = รายจ่าย
2. แบ่งประเภทและลำดับความสำคัญการใช้จ่าย
ทางที่ดีควรวางแผนรายจ่ายให้ละเอียด ตั้งงบประมาณให้กับรายจ่ายประจำที่สำคัญก่อน เช่น ค่าเช่าบ้าน ค่าโทรศัพท์ … แล้วสุดท้ายคือ ค่าใช้จ่ายที่ฟุ่ยเฟือย มิฉะนั้นสิ้นเดือนได้ทาน มาม่า ชัวร์..คอนเฟิร์ม
3. จดบันทึกรายรับรายจ่าย
จากผลสำรวจของบริษัท…(ไม่ขอเปิดเผยชื่อ) ในปี 2560 ผลการสำรวจนี้พบว่าคนไทยมี “ค่าใช้จ่ายปริศนา” สูงถึง 72% ของรายจ่ายทั้งหมด
ซึ่งสรุปได้ว่าคนไทยหนึ่งคน มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อสัปดาห์อยู่ที่ 1,588 บาท นั่นห ม ายความว่าค่าใช้จ่ายปริศนาที่ระบุไม่ได้ว่าจ่ายไปกับอะไรจะอยู่ที่ประมาณ 1,143 บาท (มากกว่าพันบาทต่อสัปดาห์เลยทีเดียว)
ซึ่งผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เชื่อว่าค่าใช้จ่ายดังกล่าวน่าจะมาจากค่าอาหาร สินค้าอุปโภคบริโภค ค่าขน มขบเคี้ยว หรือ การซื้อสินค้าฟุ่มเฟือย
4. รายจ่ายประจำที่ลดได้
ค่าอาหารเป็นหนึ่งในค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่ที่สุดก้อนหนึ่งในชีวิตประจำวัน วิธีหนึ่งที่จะลดรายจ่ายก็คือ การประหยัดค่าใช้จ่ายก้อนนี้ให้มากขึ้น เช่น ลองตั้งเป้าว่าจะนำอาหารมาทานเอง 1-2 วันต่อสัปดาห์ ก็จะช่วยลดรายจ่ายค่าอาหารได้
อีกวิธีหนึ่งก็คือ ทานกับข้าวร่วมกันกับทีม: คนทำงานส่วนใหญ่มักนิยมทานอาหารจานเดียวเพราะความสะดวกคล่องตัว การสั่งกับข้าวทานร่วมกันนั้นเป็นอีกวิธีที่นอ กจากจะได้เปลี่ยนบรรยากาศแล้วยังเพิ่มโอ กาสการประหยัดค่าใช้จ่ายได้อีกด้วย
5. ลดรายจ่ายเรื่องเสื้อผ้า
ลองเรียนรู้วิธี DIY เปลี่ยนชุดเก่าให้เป็นชุดเก๋ รวมถึงหากนำเสื้อผ้าที่มีมาจับคู่ดี ๆ เปลี่ยนไปมาก็ดูเหมือนคุณมีเสื้อผ้าใหม่ ๆ ตลอดเวลาได้เหมือนกัน
อีกจุดสำคัญที่ช่วยอุดรอยรั่วจากรายจ่ายในการซื้อเสื้อผ้าก็คือ การเลือ กเสื้อผ้าที่ใช้วัสดุคุณภาพดี เพราะเมื่อคุณซื้อเสื้อผ้าราคาถูกที่เนื้อผ้าไม่ดี
หรือ การตัดเย็บไม่ดี จะทำให้เสื้อผ้าเหล่านั้นเสื่อมสภาพเร็วหลังจากซักไปเพียงไม่กี่ครั้ง และทำให้คุณก็ต้องเสียเงินเพื่อซื้อเสื้อผ้าใหม่อีกรอบ
6. อย่าบ้าสะสม
ของสะสมเป็นของที่มีคุณค่าทางจิ ตใจ แต่อย่างไรก็ตาม ใครที่เป็นนักสะสมก็มักจะเต็มไปด้วยรายจ่ายที่รั่วไหล ถ้าคุณไม่หยุดตัวเองเลย
เมื่อมองย้อนกลับมาอีกทีอาจพบว่ามีของสะสมอยู่เต็มบ้านไปหมด แต่เงินในบัญชีกลับว่างเปล่า “well-wisher” แนะนำให้สะสมบ้างและปล่อยขายบ้างเมื่อราคาสูงขึ้น เพื่อเป็นการรักษาสมดุลทางการเงิน
7. อย่ามีเฉพาะบัญชีออมทรัพย์
ลองฝากประจำ หรือลงทุนแบบหักอัตโน มัติจากบัญชีเพื่อสร้างวินัยการออม จะได้ไม่ต้องกังวลว่าเดือนนี้ได้ออมเงินหรือฝากเงินเข้าธนาคารแล้วหรือยัง ซึ่งวิธีนี้ง่ายต่อ การไปถึงเป้าห ม ายการออมที่วางไว้ด้วย
8. ซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีคุณภาพและประหยัดไฟ
เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ดีจะมีอายุการใช้งานที่นาน ทำให้ไม่ต้องเสียเงินเพื่อเปลี่ยนอันใหม่บ่อย ๆ เป็นสิ่งของชิ้นใหญ่ที่ควรลงทุนเพื่อความสะดวกสบาย และควรตระหนักถึงการประหยัดพลังงานด้วย เพราะการประหยัดค่าไฟก็ช่วยคืนเงินในกระเป๋าได้
9. หยุดรูดบัตรเครดิต โดยที่ยังไม่มีความจำเป็น
‘หนี้บัตรเครดิต’ เกิดขึ้นเพราะความชะล่าใจในการซื้อของ ซื้อ ก่อนโดยคิดว่า ‘ยังมีเวลา’ จะหาเงิน มาจ่ายทีหลัง หรือมีเงินเพียงพอในธนาคาร แต่เพราะความสะดวกของบัตรเครดิตก็ทำให้ใช้เกินงบประมาณที่ตั้งไว้ จนทำให้เก็บเงินได้ไม่ถึงเป้าห ม าย
เทคนิคง่าย ๆ ในการยับยั้งชั่งใจ เขียนข้อความเตือนตัวเองบนกระดาษเล็ก ๆ แปะบนบัตรเครดิตเอาไว้เลย เป็นข้อความเตือนใจให้คิดก่อนซื้อ
10. สนุกกับความบันเทิงง่าย ๆ
การไปเที่ยวตามห้างสรรพสินค้า หรือเที่ยวข้างนอ กจะทำให้พบกับสิ่งล่อตาล่อใจมากมายจนจ่ายเงินไปในจำนวน มากกว่าที่ตั้งใจเอาไว้ ลองมีสักวันที่คุณสร้างความสุขและความบันเทิงง่าย ๆ ได้ที่บ้าน
อย่างฟังเพลง ดูโทรทัศน์ อ่านหนังสือ (ที่เรามักจะซื้อมาแล้วอ่านไม่จบให้จบเสียก่อน) เป็นอีกเทคนิคเล็ก ๆ น้อย ๆ ในการลดรายจ่ายเรื่องความบันเทิง แต่ทั้งนี้ให้คุณดูความเห ม าะสมและความชอบกับคุณและครอบครัวของคุณเองด้วย
11. เดินทางโดยขนส่งสาธารณะ
การเดินทางด้วยรถสาธารณะช่วยให้คุณประหยัดเงินได้มาก และยังช่วยประหยัดพลังงานแทนการขับรถยนต์ส่วนตัวด้วย หรือลองซื้อบัตรรายเดือนของรถไฟฟ้า รถเมล์ ก็จะพบว่าค่าโดยส า รยิ่งราคาถูกลงไปอีก
12. ตั้งหน้าตั้งตาออมอย่างมีวินัย
การออมเป็นสิ่งทีดี โดยควรตั้งเป้าห ม ายในการออมระยะสั้น เช่น ออมให้ได้ 300 บาทหรือมากกว่านั้นต่อสัปดาห์ จะทำให้ไม่รู้สึกหนักเกินไปและมีกำลังใจในการเก็บเงิน
และควรวางแผนการเกษียณให้เร็วที่สุดอย่าเพียงแค่ทำงานไปทุก ๆ เดือน ทางที่ดีให้ลงทุนในกองทุนเอาไว้บ้างเพื่ออนาคต
13. ให้เวลา 24 ชั่วโมง ในการตัดสินใจใช้เงิน
เวลาที่คุณอยากซื้อของสักชิ้น ให้กลับบ้านไปแล้วไตร่ตรองอีกสัก 24 ชั่วโมง ..เมื่อมีเวลาคิดก็อาจจะไม่อยากได้แล้ว หรือลองคำนวณราคาสิ่งของที่จะซื้อ เปรียบเทียบกับจำนวนค่าตอบแทนรายวันที่จากการทำงานของคุณ
เช่น รองเท้าราคา 5,000 บาท แต่คุณมีเงินเดือน 20,000 บาท ทำงานเดือนละ 22 วัน เท่ากับ 20,000/22 = 909 บาท ดังนั้น การซื้อรองเท้าคู่นี้เทียบได้กับการที่คุณต้องทำงานแลกเป็นเวลา 5.5 วัน ให้ลองเปรียบเทียบกับความคุ้มค่าดู